เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน โครงการร่วมสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย
เว็บไซต์ http://www.aihd.mahidol.ac.th/new/en/

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรนี้บูรณาการร่วมกันการจัดการเรียนการสอนภายใต้ ๗ ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสร้างองค์ความรู้แบบพหุสาขาวิชาในการเรียนการสอน และบรรจุรายวิชาการฝึกปฏิบัติทางการวิจัยสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนลงในรายวิชาหมวดวิชาบังคับเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้นักศึกษาสามารถร่วมฝึกปฏิบัติงานจริงร่วมกับองค์กรด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เป็นเวลา ๑ ภาคการศึกษา อีกด้วย

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๑.๑ 
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันในประเทศหรือต่างประเทศ
ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
(๓) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า ๓ ปี 
(๔) มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย ๑ เรื่อง ในฐานะผู้แต่งชื่อแรกหรือ 
corresponding author
(๕) มีคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำในการรับเข้าศึกษาตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย
(๖) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของ
ประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๒.๑
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันในประเทศหรือต่างประเทศ
ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง	
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
(๓) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า ๑ ปี 
(๔) มีคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำในการรับเข้าศึกษาตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจ
ของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการและนักวิจัยด้านสุขภาพและความยั่งยืนในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
- ที่ปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนาการจัดการสุขภาพที่ยั่งยืน และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารด้านการจัดการสุขภาพที่ยั่งยืนและสาขาที่เกี่ยวข้อง
- นักวิเคราะห์และผู้ประสานงานนโยบายและแผน ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ ทั้งระดับชาติและนานาชาติ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สอสย๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สอสย๗๐๑ : หลักการสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
สอสย๗๐๒ : ระบบสุขภาพและนโยบายสาธารณะที่ยั่งยืน 2
สอสย๗๐๓ : การฝึกปฏิบัติทางการวิจัยสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
สอสย๗๐๔ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสุขภาพและความยั่งยืน 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วจสย๗๑๘ : นโยบายสุขภาพโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
วจสย๗๑๙ : ประชากร สิ่งแวดล้อม และสุขภาวะที่ยั่งยืน 3
สพสย๗๑๔ : แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน 2
สพสย๗๑๕ : วิทยาการระบาดสำหรับนโยบายสาธารณะที่ยั่งยืน 2
สวสย๗๑๖ : นิเวศวิทยาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน 3
สวสย๗๑๗ : การศึกษาสิ่งแวดล้อมและการศึกษาเพื่อการพัฒนาสุขภาวะที่ยั่งยืน 3
สศสย๗๑๒ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพประยุกต์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
สศสย๗๑๓ : การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์และการประเมินเทคโนโลยีสุขภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
สอสย๗๐๕ : ระบาดวิทยาเพื่อการพัฒนาสุขภาวะที่ยั่งยืนขั้นสูง 3
สอสย๗๐๖ : วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
สอสย๗๐๗ : การพัฒนาตัวชี้วัดทางสุขภาพและความยั่งยืน 3
สอสย๗๐๘ : การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบสุขภาพเพื่อความยั่งยืน 3
สอสย๗๐๙ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเพื่อสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนขั้นสูง 3
สอสย๗๑๐ : แนวคิดหลักการและการปฏิบัติด้านสุขภาพหนึ่งเดียว 3
สอสย๗๑๑ : ปัญหาพิเศษทางด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สอสย๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36