เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะวิทยาศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(พยาธิชีววิทยา)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตทุกสาขาวิชา หรือวิทยาศาสตรบัณฑิตทาง
ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือ แพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัช
ศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และเทคนิคการแพทย์ จากสถาบันอุดมศึกษา ที่สำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก ๒
(๑) หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
(๒) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
(๓) วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาธิชีววิทยา สามารถเลือกประกอบอาชีพได้
หลากหลายทั้งกับภาครัฐบาลหรือเอกชน เช่น เป็นนักวิชาการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์
การแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เป็นต้น

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วทคร๕๐๓ : วิทยาศาสตร์ชีวภาพเชิงระบบ 3
วทคร๕๑๘ : ทักษะทั่วไปในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 1
วทพย๕๐๑ : พยาธิวิทยาทั่วไป 2
วทพย๖๐๑ : พยาธิวิทยาระดับเซลล์ ๑ 2
วทพย๖๐๕ : พยาธิชีววิทยาที่จำเป็น 2
วทพย๖๐๖ : หัวข้อเรื่องที่เลือกสรรทางพยาธิชีววิทยา 2
วทพย๖๑๑ : สัมมนาทางพยาธิชีววิทยา ๑ 1
วทพย๖๑๒ : สัมมนาทางพยาธิชีววิทยา ๒ 1
วทพย๖๑๓ : การเวียนศึกษางานวิจัยทางพยาธิชีววิทยา 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ 3
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
วทคร๕๐๒ : วิทยาศาสตร์เรื่องเซลล์ 2
วทพย๖๐๘ : พยาธิวิทยาโภชนาการ 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วทพย๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร