ผู้สนใจเข้าศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ระดับ | ปริญญาเอก |
คณะ/สถาบัน | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล |
เว็บไซต์ |
http:www.si.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ชีวเวชศาสตร์)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
แบบ ๑ ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว และต้องเข้าร่วมโครงการ Joint Degree Programร่วมกับมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษา ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จาก ๔.๐๐ หรือเทียบเท่า (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และคะแนน IELTS ที่ระดับ ๕ คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL iBT ที่ระดับคะแนน ๖๑ ขึ้นไป หรือ TOEFL-ITP ที่ระดับคะแนน ๕๐๐ ขึ้นไป (๔) มีแผนการวิจัย (Research plan) ที่จะดำเนินการเพื่อศึกษาปริญญาเอก โดยเสนอแผนการวิจัยที่สัมพันธ์กับหลักสูตร สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องมีประสบการณ์การทำวิจัยโดยมีผลงานวิจัยระดับนานาชาติเป็นชื่อแรก ๑ เรื่อง ทั้งนี้ต้องเสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักที่ประสงค์จะทำวิจัยด้วย พร้อมแผนการวิจัย โดยแผนการวิจัยที่เสนอ เป็นงานวิจัยที่จะเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของ ประธานและกรรมการประจำหลักสูตร สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย แบบ ๒ ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (๑) สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จาก ๔.๐๐ หรือเทียบเท่า (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของ ประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (๑) สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จาก ๔.๐๐ หรือในระดับเกียรตินิยม (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจ ของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท* | |||
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
*แบบ ๑.๑ นักศึกษาต้องเข้าร่วมโครงการ Joint Degree Program ร่วมกับมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ | |||
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
หมวดวิชาบังคับ | 9 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี | |||
หมวดวิชาบังคับ | 18 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 72 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้เชี่ยวชาญทางด้านชีวเวชศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา
- นักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ ในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย ภาครัฐและเอกชน
- นักวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
- ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 1
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ศรชว๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 48 |
แบบ 2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
ศรชว๕๐๓ : ระเบียบวิธีวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ | 3 | ||
ศรชว๕๐๔ : สัมมนาทางชีวเวชศาสตร์ | 1 | ||
ศรชว๕๑๑ : เทคนิคชีววิทยาระดับโมเลกุลทางชีวเวชศาสตร์ | 3 | ||
ศรชว๕๑๒ : การแพทย์แม่นยำ | 2 | ||
ศรชว๕๑๓ : ปริวรรตเวชศาสตร์ | 2 | ||
ศรชว๕๑๔ : เวชศาสตร์การเจริญทดแทน | 2 | ||
ศรชว๕๑๕ : ชีวเวชศาสตร์ | 2 | ||
ศรสว๕๐๓ : ชีวสารสนเทศทางการแพทย์ | 3 | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ศรชว๕๐๔ : สัมมนาทางชีวเวชศาสตร์ | 1 | ||
ศรชว๕๑๒ : การแพทย์แม่นยำ | 2 | ||
ศรชว๕๑๓ : ปริวรรตเวชศาสตร์ | 2 | ||
ศรชว๕๑๔ : เวชศาสตร์การเจริญทดแทน | 2 | ||
ศรชว๕๑๕ : ชีวเวชศาสตร์ | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล | 3 | ||
ศรกว๖๑๑ : พันธุศาสตร์มนุษย์ขั้นสูง | 2 | ||
ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ | 3 | ||
ศรภส๕๐๖ : เภสัชวิทยาการแพทย์ ๑ | 3 | ||
ศรภส๕๐๗ : เภสัชวิทยาการแพทย์ ๒ | 3 | ||
ศรภส๕๐๘ : หลักการทางเภสัชวิทยาเชิงระบบ | 3 | ||
ศรภส๕๐๙ : เทคนิคการคำนวณทางเภสัชวิทยาเชิงระบบ | 3 | ||
ศรภส๖๐๓ : การพัฒนายาใหม่ ๑ | 3 | ||
ศรวภ๕๐๑ : วิทยาภูมิคุ้มกัน | 2 | ||
ศรวภ๖๑๖ : วิทยาศาสตร์เซลล์ต้นกำเนิด | 3 | ||
ศรวภ๖๑๗ : โฟลไซโตเมทรีขั้นสูง | 2 | ||
ศรสว๕๐๖ : การออกแบบและวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาพันธุศาสตร์ของโรคมนุษย์ | 3 | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ศรภส๕๐๖ : เภสัชวิทยาการแพทย์ ๑ | 3 | ||
ศรภส๕๐๗ : เภสัชวิทยาการแพทย์ ๒ | 3 | ||
ศรภส๕๐๘ : หลักการทางเภสัชวิทยาเชิงระบบ | 3 | ||
ศรภส๕๐๙ : เทคนิคการคำนวณทางเภสัชวิทยาเชิงระบบ | 3 | ||
ศรภส๖๐๓ : การพัฒนายาใหม่ ๑ | 3 | ||
ศรวภ๖๑๖ : วิทยาศาสตร์เซลล์ต้นกำเนิด | 3 | ||
ศรสว๕๐๖ : การออกแบบและวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาพันธุศาสตร์ของโรคมนุษย์ | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
ศรชว๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 48 | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ศรชว๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 36 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ศาสตราจารย์ ถาวรชัย ลิ้มจินดาพร (ประธานหลักสูตร)
- รองศาสตราจารย์ สุวัฒณี คุปติวุฒิ
- รองศาสตราจารย์ ปณภัฏ เอื้อวิทยา
- รองศาสตราจารย์ นิทัศน์ สุขรุ่ง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนาภรณ์ รุ่งเรือง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประพัฒน์ สุริยผล
- ศาสตราจารย์ ชนิตรา ธุวจิตต์
- รองศาสตราจารย์ ศิวนนท์ จิรวัฒโนทัย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นัญวรรณ รุ่งโรจน์
- รองศาสตราจารย์ นราวุฒิ ภาคาพรต
- ศาสตราจารย์ ณัฐเชษฐ์ เปล่งวิทยา
- รองศาสตราจารย์ บุญรัตน์ ทัศนีย์ไตรเทพ
- อาจารย์ Helen Wheadon
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฉลิมชัย มิตรพันธ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชิต สุธรรมารักษ์
- อาจารย์ วรรณา ทองนพคุณ
- รองศาสตราจารย์ ปีติ ธุวจิตต์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภาพร ธรรมธาราณา
- ศาสตราจารย์ George S.Baillie
- ศาสตราจารย์ James Brewer
- รองศาสตราจารย์ นรวรรธน์ พวงวรินทร์
- รองศาสตราจารย์ เมธิจิต วัฒนพานิช
- รองศาสตราจารย์ วทิพย์ ตั้งจิตติโภคิน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภูมิ สุขธิติพัฒน์
- ศาสตราจารย์ อุไรวรรณ พานิช
- รองศาสตราจารย์ ปนิษฎี อวิรุทธ์นันท์
- ศาสตราจารย์ เพทาย เย็นจิตโสมนัส
- รองศาสตราจารย์ มุทิตา จุลกิ่ง
- ศาสตราจารย์ Neil J.Bulleid
- รองศาสตราจารย์ เกษม กุลแก้ว
- รองศาสตราจารย์ วรพรรณ เสนาณรงค์
- อาจารย์ อาจรบ คูหาภินันทน์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรพจน์ เปรมโยธิน
- ศาสตราจารย์ Paul Garside
- ศาสตราจารย์ Joanne Edwards
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพลนาท สัมปัตตะวนิช
- รองศาสตราจารย์ ชัยรัตน์ เติบไพบูลย์