เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   28   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 2 :     01 มีนาคม 2562 - 17 พฤษภาคม 2562

รหัสหลักสูตร 3816MS00

MASTER OF ENGINEERING PROGRAM IN LOGISTICS AND SUPPLY CHAIN

หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน(ภาคพิเศษ)

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 40 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก๒
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษา
ในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต  หลักสูตรในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 
บริหารธุรกิจบัณฑิต หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษารับรอง  
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓)  มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๔)  ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข
๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตร
ในสาขาวิชาวิทยาศาสร์สุขภาพ บริหารธุรกิจบัณฑิต หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง  จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน บริการสุขภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
ไม่น้อยกว่า ๓  ปี
(๔)  มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

2. เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตร

เกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 32 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 400 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 36  

เกณฑ์เพื่อสำเร็จการศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 54 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 480 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 60  
บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดรับผลคะแนนการทดสอบ TOEFL-iBT หรือ IELTS ที่มาจากศูนย์สอบโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นหากผู้สมัครมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าว ขอให้ติดต่อศูนย์สอบเพื่อส่งผลคะแนนมายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรง ลงทะเบียนได้ที่ http://www.grad.mahidol.ac.th/form01/

3. วิธีการคัดเลือก

- พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
- สอบสัมภาษณ์

4. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบสัมภาษณ์
วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562
สถานที่ (ห้อง /ชั้น /อาคาร/ คณะ/ วิทยาเขต) เวลา 9:00 - 12:00 น. ห้อง 231 ชั้น 2 อาคาร 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
หมายเหตุ กำหนดการสอบสัมภาษณ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบกำหนดการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ วันพุธ 12 มิถุนายน 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th

5. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)

เงื่อนไขสำหรับผู้สมัครหลักสูตรนี้ :
ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา - สามารถสมัครได้


2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้าย หรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษาภายในปีการศึกษา 2561)
3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript / Grade Report)
4. รูปถ่ายหน้าตรง ชุดสุภาพ ไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก และ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
5. สำเนาบัตรประชาชน
6. หลักฐานประกอบการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)


ให้ผู้สมัคร Upload ไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุข้างต้น ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถสมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

6. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

7. โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวม ไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วศอก๕๗๐ : ความน่าจะเป็นและสถิติ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วศลซ๕๐๐ : หลักการจัดการวิศวกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3
วศลซ๕๐๑ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและการประยุกต์ 3
วศลซ๕๐๒ : โครงข่ายการขนส่งและการกระจายสินค้า 3
วศลซ๕๐๓ : การจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้า 3
วศลซ๕๐๔ : สัมมนาประเด็นโลจิสติกส์สมัยใหม่และโซ่อุปทาน 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   นักศึกษาสามารถเลือกวิชาเลือกจากกลุ่มเดียวกันหรือข้ามกลุ่มได้
   กลุ่มวิชาโลจิสติกส์การดูแลสุขภาพ
วศชพ๕๖๐ : หุ่นยนต์ทางการแพทย์ 3
วศลซ๕๐๕ : การจัดการเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจสุขภาพ 3
วศลซ๕๐๖ : การจัดการสารสนเทศทางโซ่อุปทานการดูแลสุขภาพ 3
วศลซ๕๐๗ : การวิจัยปฏิบัติการทางโซ่อุปทานการดูแลสุขภาพ 3
วศลซ๕๐๘ : การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ในโรงพยาบาล 3
วศลซ๕๐๙ : โลจิสติกส์การดูแลสุขภาพแบบลีนและการปรับปรุงผลิตภาพ 3
วศลซ๕๑๐ : การจัดการคุณภาพโดยรวมทางโซ่อุปทานการดูแลสุขภาพ 3
วศลซ๕๑๑ : หัวข้อพิเศษทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทานการดูแลสุขภาพ 3
วศลซ๕๑๒ : สัมมนาทางโซ่อุปทานการดูสุขภาพระดับโลก 3
   กลุ่มวิชาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ
วศลซ๕๑๓ : นวัตกรรมและโซ่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3
วศลซ๕๑๔ : การจัดหาและการจัดการสัมพันธภาพด้านซัพพลายเออร์ 3
วศลซ๕๑๕ : โลจิสติกส์และโซ่อุปทานบริการ 3
วศลซ๕๑๖ : โลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้านมนุษยธรรม 3
วศลซ๕๑๗ : การเงินและการบัญชีเชิงจัดการ 3
วศลซ๕๑๘ : การจำลองสถานการณ์ 3
วศลซ๕๑๙ : หัวข้อพิเศษทางโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ 3
วศลซ๕๒๐ : สัมมนาทางโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ 3
วศสอ๖๒๗ : การฝึกหัดทางสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วศลซ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วศอก๕๗๐ : ความน่าจะเป็นและสถิติ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วศลซ๕๐๐ : หลักการจัดการวิศวกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3
วศลซ๕๐๑ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและการประยุกต์ 3
วศลซ๕๐๒ : โครงข่ายการขนส่งและการกระจายสินค้า 3
วศลซ๕๐๓ : การจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้า 3
วศลซ๕๐๔ : สัมมนาประเด็นโลจิสติกส์สมัยใหม่และโซ่อุปทาน 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   นักศึกษาสามารถเลือกวิชาเลือกจากกลุ่มเดียวกันหรือข้ามกลุ่มได้
   กลุ่มวิชาโลจิสติกส์การดูแลสุขภาพ
วศชพ๕๖๐ : หุ่นยนต์ทางการแพทย์ 3
วศลซ๕๐๕ : การจัดการเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจสุขภาพ 3
วศลซ๕๐๖ : การจัดการสารสนเทศทางโซ่อุปทานการดูแลสุขภาพ 3
วศลซ๕๐๗ : การวิจัยปฏิบัติการทางโซ่อุปทานการดูแลสุขภาพ 3
วศลซ๕๐๘ : การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ในโรงพยาบาล 3
วศลซ๕๐๙ : โลจิสติกส์การดูแลสุขภาพแบบลีนและการปรับปรุงผลิตภาพ 3
วศลซ๕๑๐ : การจัดการคุณภาพโดยรวมทางโซ่อุปทานการดูแลสุขภาพ 3
วศลซ๕๑๑ : หัวข้อพิเศษทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทานการดูแลสุขภาพ 3
วศลซ๕๑๒ : สัมมนาทางโซ่อุปทานการดูสุขภาพระดับโลก 3
   กลุ่มวิชาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ
วศลซ๕๑๓ : นวัตกรรมและโซ่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3
วศลซ๕๑๔ : การจัดหาและการจัดการสัมพันธภาพด้านซัพพลายเออร์ 3
วศลซ๕๑๕ : โลจิสติกส์และโซ่อุปทานบริการ 3
วศลซ๕๑๖ : โลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้านมนุษยธรรม 3
วศลซ๕๑๗ : การเงินและการบัญชีเชิงจัดการ 3
วศลซ๕๑๘ : การจำลองสถานการณ์ 3
วศลซ๕๑๙ : หัวข้อพิเศษทางโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ 3
วศลซ๕๒๐ : สัมมนาทางโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ 3
วศสอ๖๒๗ : การฝึกหัดทางสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
วศลซ๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  บุคลากรระดับปฏิบัติการถึงผู้บริหารในองค์กรทั้งภาคเอกชน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ทั้งในกิจการ
บริการสุขภาพ การผลิตสินค้าและบริการในแผนกที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เช่น ขนส่ง 
คลังสินค้า จัดซื้อ วางแผนและควบคุมการผลิต การผลิต การบริการ  
-  ที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
-  วิทยากรหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
-  นักวิจัยในสาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

9. รายละเอียดอื่นๆ

  • เป็นหลักสูตรสหวิทยาการที่ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากทุกสาขาวิชาสามารถเข้าศึกษาได้
  • เน้นการประยุกต์ศาสตร์ด้านการบริหารจัดการธุรกิจเข้ากับศาสตร์ด้านวิศวกรรม
  • ได้รับวุฒิวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน / Master of Engineering (M.Eng) in Logistics and Supply Chain
  • เรียนจบ Course Work ภายใน 1 ปี
  • มี 2 กลุ่มวิชาเลือก ได้แก่ 1) Industrial and Service Logistics และ 2) Healthcare Logistics
  • มีศึกษาดูงานนอกสถานที่ทั้งในและต่างประเทศ
  • มีทุนสนับสนุนการวิจัยให้บางส่วน
  • มีกิจกรรมเสริมพัฒนาทักษะ Soft Skills ให้นักศึกษา4 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร 2) ทักษะด้านการเป็นผู้นำ 3) ทักษะการทำงานด้านวิจัย และ 4) ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติไม่ตรงกับข้างต้น อาทิ ไม่มีผลทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ยไม่ถึง 2.5 จบการศึกษาสาขาสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ ฯลฯ สามารถสมัครเข้าศึกษาได้ตามดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (โปรดติดต่อ อาจารย์ ดร.เดชรัตน์ สัมฤทธิ์ มือถือ 083-5549695 E-mail: dettoy999@gmail.com)

10. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

-

11. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

12. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัศม์เดช  วานิชชินชัย

E-mail: assadej_v@yahoo.com

ห้อง 234 อาคาร 1 ชั้น 2 กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ศาลายา)

โทร. 02-8892138 ต่อ 6619

เลขานุการหลักสูตร

ผู้ประสานงานหลักสูตร

อาจารย์ ดร. เดชรัตน์ สัมฤทธิ์

E-mail: dettoy999@gmail.com

มือถือ 083-5549695

ห้อง 234 อาคาร 1 ชั้น 2 กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ศาลายา)

โทร. 02-8892138 ต่อ 6619


หมายเหตุ* การดำเนินการในการส่งเอกสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สมัครเข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้มีสิทธิ์เข้าศึกษา จะต้องดำเนินการให้สถานศึกษาส่งบันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับจริง ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา มายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรงภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 หากไม่ดำเนินการตามวันที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าศึกษา ทั้งนี้บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่รับเอกสารที่ไม่ได้ใส่ซองปิดผนึกประทับตรามหาวิทยาลัย

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คลิกที่นี่


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th