เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 1 :     15 พฤศจิกายน 2561 - 31 มกราคม 2562

รหัสหลักสูตร 2510MS00

MASTER OF ARTS PROGRAM IN MEDICAL AND PUBLIC HEALTH SOCIAL SCIENCES

หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข(ภาคพิเศษ)

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 10 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

แผน ก แบบ ก ๒ และแผน ข
(๑)  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการ
ศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ในกรณีที่คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรต่ำกว่า ๒.๕๐
ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
(๓) มีคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำในการรับเข้าศึกษาตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
 

2. เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตร

เกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 32 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 400 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 36  

เกณฑ์เพื่อสำเร็จการศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 54 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 480 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 60  
บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดรับผลคะแนนการทดสอบ TOEFL-iBT หรือ IELTS ที่มาจากศูนย์สอบโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นหากผู้สมัครมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าว ขอให้ติดต่อศูนย์สอบเพื่อส่งผลคะแนนมายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรง ลงทะเบียนได้ที่ http://www.grad.mahidol.ac.th/form01/

3. วิธีการคัดเลือก

- พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
- สอบข้อเขียนวิชาเฉพาะของหลักสูตร
- สอบสัมภาษณ์

4. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบข้อเขียน
วันเสาร์ 16 กุมภาพันธ์ 2562
เวลา: 9.00 - 12.00 น.
สถานที่: ประกาศสถานที่สอบข้อเขียน วันอังคาร 12 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th
 
 มี  การสอบข้อเขียน โดยมีรายละเอียดดังนี้

- วิชาสังคมศาสตร์ประยุกต์

กำหนดการสอบสัมภาษณ์
วันจันทร์ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562
สถานที่ (ห้อง /ชั้น /อาคาร/ คณะ/ วิทยาเขต) หลักสูตรภาคพิเศษ กำหนดสอบสัมภาษณ์ วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม 2562 เวลา 10.00 น. ห้องกระดังงา อาคาร 2 ชั้น 2 ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล ศาลายา
หมายเหตุ กำหนดการสอบสัมภาษณ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบกำหนดการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ วันพุธ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th

5. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)

เงื่อนไขสำหรับผู้สมัครหลักสูตรนี้ :
ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา - สามารถสมัครได้


2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้าย หรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษาภายในปีการศึกษา 2561)
3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript / Grade Report)
4. รูปถ่ายหน้าตรง ชุดสุภาพ ไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก และ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
5. สำเนาบัตรประชาชน
6. หลักฐานประกอบการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)

ให้ผู้สมัคร Upload ไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุข้างต้น ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถสมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

6. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

7. โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สมพส๕๒๓ : พื้นฐานเบื้องต้นทางสังคมศาสตร์ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สมพส๕๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๗ : แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๘ : สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขประยุกต์ 3
สมพส๕๐๙ : สัมมนาทฤษฎีและวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๑๔ : ปฏิบัติการการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมพส๕๐๑ : สังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๕๐๒ : มานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมพส๕๐๓ : จิตวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๕๐๔ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพ 3
สมพส๕๐๕ : สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๑๑ : ความไม่เป็นธรรมทางสังคมกับสุขภาพของผู้หญิง 3
สมพส๕๑๒ : สังคมวิทยาสิทธิการเจริญพันธุ์และเพศสัมพันธ์ 3
สมพส๕๑๓ : ความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพและตัวกำหนดสุขภาพทางสังคม 3
สมพส๕๑๕ : ระบบสุขภาพและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมพส๕๑๖ : การศึกษาอิสระทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๑๗ : ตัวตน อัตลักษณ์ อนัตตาและสุขภาพ 3
สมพส๕๒๐ : มานุษยวิทยาการแพทย์และระบบสุขภาพ 3
สมพส๕๒๑ : อาหาร วัฒนธรรม และสุขภาพ 3
สมพส๕๒๒ : สังคมศาสตร์ ความพิการ และสูงวัย 3
สมพส๕๓๐ : จิตวิทยาชุมชน 3
สมพส๕๓๑ : จิตวิทยาการสื่อสาร 3
สมพส๕๓๒ : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับรู้ทางบริบทการส่งเสริมสุขภาพ 3
สมพส๕๕๐ : กฎหมายการแพทย์และจริยศาสตร์ 3
สมพส๕๕๑ : กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและสุขภาพ 3
สมพส๕๕๒ : กฎหมายการสาธารณสุข 3
สมพส๕๕๓ : การเขียนผลงานทางวิชาการ 3
สมพส๖๐๗ : การศึกษาดูงานในอาเซียนด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมสภ๕๔๐ : พลวัตรประชากรกับการสาธารณสุข 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
: 0

แผน ข

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สมพส๕๒๓ : พื้นฐานเบื้องต้นทางสังคมศาสตร์ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สมพส๕๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๗ : แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๘ : สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขประยุกต์ 3
สมพส๕๐๙ : สัมมนาทฤษฎีและวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๑๔ : ปฏิบัติการการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมพส๕๐๑ : สังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๕๐๒ : มานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมพส๕๐๓ : จิตวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๕๐๔ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพ 3
สมพส๕๐๕ : สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๑๑ : ความไม่เป็นธรรมทางสังคมกับสุขภาพของผู้หญิง 3
สมพส๕๑๒ : สังคมวิทยาสิทธิการเจริญพันธุ์และเพศสัมพันธ์ 3
สมพส๕๑๓ : ความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพและตัวกำหนดสุขภาพทางสังคม 3
สมพส๕๑๕ : ระบบสุขภาพและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมพส๕๑๖ : การศึกษาอิสระทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๑๗ : ตัวตน อัตลักษณ์ อนัตตาและสุขภาพ 3
สมพส๕๒๐ : มานุษยวิทยาการแพทย์และระบบสุขภาพ 3
สมพส๕๒๑ : อาหาร วัฒนธรรม และสุขภาพ 3
สมพส๕๒๒ : สังคมศาสตร์ ความพิการ และสูงวัย 3
สมพส๕๓๐ : จิตวิทยาชุมชน 3
สมพส๕๓๑ : จิตวิทยาการสื่อสาร 3
สมพส๕๓๒ : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับรู้ทางบริบทการส่งเสริมสุขภาพ 3
สมพส๕๕๐ : กฎหมายการแพทย์และจริยศาสตร์ 3
สมพส๕๕๑ : กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและสุขภาพ 3
สมพส๕๕๒ : กฎหมายการสาธารณสุข 3
สมพส๕๕๓ : การเขียนผลงานทางวิชาการ 3
สมพส๖๐๗ : การศึกษาดูงานในอาเซียนด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมสภ๕๔๐ : พลวัตรประชากรกับการสาธารณสุข 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สมพส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
สมสภ๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรของรัฐและเอกชนด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  นักประเมินผลด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

9. รายละเอียดอื่นๆ

หลักสูตรนี้เป็นแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary)  ชุดโครงการวิจัย ได้แก่ ความเป็นธรรมทางสุขภาพ โลกาภิวัตน์กับการแพทย์และสาธารณสุข ความรุนแรงในเยาวชน เพศภาวะเพศวิถีและสุขภาพ สุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ และเอชไอวี โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ สุขภาวะผู้พิการ ผู้สูงอายุ แรงงานข้ามชาติ โรคเรื้อรังและระบบสุขภาพ  สารเสพติดและสุขภาพจิต การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุข  การเข้าถึงบริการสุขภาพที่ไม่เป็นธรรม  การดูแลและบริการสุขภาพของกลุ่มด้อยโอกาส  การอภิบาลระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุข นโยบายสุขภาพ

10. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

ทุนอุดหนุนการศึกษา: เช่น

sทุนเฉลิมพระเกียรติ 60 ปีฯ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (ยกเว้นค่าหน่วยกิต)

sทุนอุดหนุนผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant), ทุนผู้ช่วยวิจัย (Research Assistant)

sทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาไปต่างประเทศ

sทุนนำเสนอผลงานวิจัยในและต่างประเทศ

sทุนอุดหนุนการทำวิทยานิพนธ์            

11. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

12. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

อ.ดร.ธรรมรัตน์ มะโรหบุตร

Email: tmrmr7@yahoo.com

ห้องพักอาจารย์ ตึก 2 ชั้น 2 

ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล ศาลายา

โทร. 0-2800-2841 ต่อ 1236, 1266

เลขานุการหลักสูตร

ผศ.ดร.เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์

Email: penchant.she@mahidol.ac.th

ห้องพักอาจารย์ ตึก 2 ชั้น 2 

ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล ศาลายา

โทร. 0-2800-2841 ต่อ 1233, 1266

ผู้ประสานงานหลักสูตร

นางรุ่งอรุณ สิงคลีประภา

Email: rungarun.sin@mahidol.ac.th

ห้องพักอาจารย์ ตึก 2 ชั้น 2 

ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล ศาลายา

โทร. 0-2800-2841 ต่อ 1266


หมายเหตุ* การดำเนินการในการส่งเอกสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สมัครเข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้มีสิทธิ์เข้าศึกษา จะต้องดำเนินการให้สถานศึกษาส่งบันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับจริง ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา มายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรงภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 หากไม่ดำเนินการตามวันที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าศึกษา ทั้งนี้บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่รับเอกสารที่ไม่ได้ใส่ซองปิดผนึกประทับตรามหาวิทยาลัย

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คลิกที่นี่


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th