เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   20   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 1 :     15 พฤศจิกายน 2561 - 31 มกราคม 2562

รหัสหลักสูตร 2510DG00

DOCTOR OF PHILOSOPHY PROGRAM IN MEDICAL AND PUBLIC HEALTH SOCIAL SCIENCES

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 5 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือทันตแพทยศาสตรบัณฑิต หรือเภสัชศาสตรบัณฑิต โดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ย
สะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
๒. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๓. นักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท ภาควิชาสังคมและสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ศึกษารายวิชาของหลักสูตรปริญญาโทครบตามหลักสูตร 
ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ ได้สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติการเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก 
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโทที่กำลังศึกษา จากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกที่ประสงค์เข้าศึกษา  
และจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล 
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร
และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

2. เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตร

เกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 32 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 400  

เกณฑ์เพื่อสำเร็จการศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 61 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 500  
บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดรับผลคะแนนการทดสอบ TOEFL-iBT หรือ IELTS ที่มาจากศูนย์สอบโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นหากผู้สมัครมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าว ขอให้ติดต่อศูนย์สอบเพื่อส่งผลคะแนนมายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรง ลงทะเบียนได้ที่ http://www.grad.mahidol.ac.th/form01/

3. วิธีการคัดเลือก

- พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
- สอบสัมภาษณ์

4. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบสัมภาษณ์
วันจันทร์ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562
สถานที่ (ห้อง /ชั้น /อาคาร/ คณะ/ วิทยาเขต) 1pm Sritrang Room Building 2, Floor 2, Department of Society and Health Faculty of Social Sciences and Humanities Mahidol University Salaya
หมายเหตุ กำหนดการสอบสัมภาษณ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบกำหนดการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ วันพุธ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th

5. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)

เงื่อนไขสำหรับผู้สมัครหลักสูตรนี้ :
ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา - สามารถสมัครได้


2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้าย หรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษาภายในปีการศึกษา 2561)
3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript / Grade Report)
4. รูปถ่ายหน้าตรง ชุดสุภาพ ไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก และ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
5. สำเนาบัตรประชาชน
6. หลักฐานประกอบการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
หลักฐานเพิ่มเติมอื่นๆ
- ใบประกอบวิชาชีพ
- Statement of Purpose
- Concept paper on the proposed research project

ให้ผู้สมัคร Upload ไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุข้างต้น ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถสมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

6. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

7. โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข หรือสังคมศาสตร์สุขภาพ
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอื่น ๆ
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 54            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี และสำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ
สมพส๕๒๓ : พื้นฐานเบื้องต้นทางสังคมศาสตร์ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี
สมพส๕๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๗ : แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๘ : สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขประยุกต์ 3
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ
สมพส๕๐๗ : แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๘ : สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขประยุกต์ 3
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมพส๕๐๑ : สังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๕๐๒ : มานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมพส๕๐๓ : จิตวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๕๐๔ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพ 3
สมพส๕๐๕ : สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๐๓ : ทฤษฎีและประเด็นเชิงประจักษ์ในการวิจัยและบริหารการบริการสุขภาพ 3
สมพส๖๐๔ : มานุษยวิทยาเควียร์ทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 3
สมพส๖๐๕ : ระบาดวิทยาสังคม : ทฤษฎีและวิธีการ 3
สมพส๖๐๗ : การศึกษาดูงานในอาเซียนด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๐๘ : โลกาภิวัตน์และสุขภาพ 3
สมพส๖๐๙ : เพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ 3
สมพส๖๑๐ : ทฤษฎีสังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๖๑๑ : ทฤษฎีสังคมวิทยาสุขภาพร่วมสมัย 3
สมพส๖๑๒ : ทฤษฎีองค์การ 3
สมพส๖๑๓ : การวิเคราะห์และการพัฒนาระบบสุขภาพ 3
สมพส๖๑๔ : สถาบันการศึกษาและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมพส๖๑๕ : งานและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมพส๖๑๖ : ทฤษฎีสตรีนิยม 3
สมพส๖๑๗ : การวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพ 3
สมพส๖๑๘ : การเคลื่อนย้ายของประชากรและสุขภาพระหว่างประเทศ 3
สมพส๖๑๙ : วิธีการวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูง 3
สมพส๖๒๐ : แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาและมานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมพส๖๒๒ : วัฒนธรรม ความทุกข์ทางสังคมและสุขภาพ 3
สมพส๖๒๓ : การวิเคราะห์การตัดสินใจในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๒๔ : การวิจัยประเมินผลประเด็นทางการแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๒๕ : มานุษยวิทยาดิจิตอลและสุขภาพ 3
สมพส๖๒๖ : หลักการของตัวกำหนดสุขภาพเชิงสังคม 3
สมพส๖๒๗ : สังคมศาสตร์อนามัยการเจริญพันธุ์ 3
สมพส๖๒๘ : การวิจัยและการปฏิบัติด้านการพัฒนาสุขภาพ 3
สมพส๖๒๙ : สังคมในฐานะตัวกำหนดสุขภาพ 3
สมพส๖๓๑ : บุคลิกภาพ สุขภาพ และความเจ็บป่วย 3
สมพส๖๓๒ : จิตวิทยาสังคมและจิตวิทยาเชิงบวกทางสุขภาพ 3
สมพส๖๓๓ : จิตวิทยาอปกติ 3
สมพส๖๔๑ : การวางแผนและนโยบายสาธารณสุข 3
สมพส๖๔๒ : นโยบายสาธารณะและสุขภาพ 3
สมพส๖๔๓ : ระบบประกันสุขภาพ 3
สมพส๖๕๐ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ 3
สมพส๖๖๐ : การอ่านตามกำหนดทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สมพส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
สมพส๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  นักวิเคราะห์นโยบายด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  ผู้นำองค์กรด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขในระดับอุดมศึกษา

9. รายละเอียดอื่นๆ

-

10. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

-

11. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

12. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

Assoc. Prof. Thomas E. Guadamuz, PhD
    Email : tguadamu@hotmail.com

    Building 2, Floor 2, Department of Society and Health 
    Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Salaya
   Tel: 02 800 2841 ext. 1266 

เลขานุการหลักสูตร

Lecturer Jompon Pitaksantayothin, PhD
    Email : tikpik@hotmail.com

    Building 2, Floor 2, Department of Society and Health 
    Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Salaya
    Tel: 02 800 2841-69 ext. 1274, 1202

ผู้ประสานงานหลักสูตร

 Ms. Rungarun Singkleeprapa
    Email : rungarun.sin@mahidol.ac.th
    Building 2, Floor 2, Department of Society and Health 
    Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Salaya
    Tel: 02 800 2841 ext. 1266 


หมายเหตุ* การดำเนินการในการส่งเอกสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สมัครเข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้มีสิทธิ์เข้าศึกษา จะต้องดำเนินการให้สถานศึกษาส่งบันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับจริง ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา มายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรงภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 หากไม่ดำเนินการตามวันที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าศึกษา ทั้งนี้บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่รับเอกสารที่ไม่ได้ใส่ซองปิดผนึกประทับตรามหาวิทยาลัย

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คลิกที่นี่


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th