เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 1 :     15 พฤศจิกายน 2561 - 31 มกราคม 2562

รหัสหลักสูตร 2317MG00

MASTER OF SCIENCE PROGRAM IN ENVIRONMENTAL HEALTH

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 15 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

แผน ก แบบ ก๒
(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์  วิทยาศาสตร์สุขาภิบาล  อนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์
อนามัยสิ่งแวดล้อม  วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย  วิทยาศาสตร์สุขภาพ 
วิทยาศาสตร์การอาหารเทคโนโลยีชีวภาพ  เทคโนโลยีการอาหาร  เคมี  และชีววิทยา ปริญญา
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง  

(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ ข้อ (๑) (๒) และ (๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ
คัดเลือกเข้าศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย  

แผน ข
(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์  วิทยาศาสตร์สุขาภิบาล  อนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์
อนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย  วิทยาศาสตร์สุขภาพ 
วิทยาศาสตร์การอาหารเทคโนโลยีชีวภาพ  เทคโนโลยีการอาหาร  เคมี  และชีววิทยา ปริญญา
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง  
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
(๔) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม อนามัยสิ่งแวดล้อม สาธารณสุขศาสตร์ หรือด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า ๑ ปี
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ ข้อ (๑) (๒) (๓) และ (๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย  
 

2. เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตร

เกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 32 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 400 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 36  

เกณฑ์เพื่อสำเร็จการศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 54 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 480 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 60  
บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดรับผลคะแนนการทดสอบ TOEFL-iBT หรือ IELTS ที่มาจากศูนย์สอบโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นหากผู้สมัครมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าว ขอให้ติดต่อศูนย์สอบเพื่อส่งผลคะแนนมายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรง ลงทะเบียนได้ที่ http://www.grad.mahidol.ac.th/form01/

3. วิธีการคัดเลือก

- พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
- สอบสัมภาษณ์

4. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบสัมภาษณ์
วันจันทร์ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562
สถานที่ (ห้อง /ชั้น /อาคาร/ คณะ/ วิทยาเขต) เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม ชั้น 4 อาคาร 2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท
หมายเหตุ กำหนดการสอบสัมภาษณ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบกำหนดการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ วันพุธ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th

5. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)

เงื่อนไขสำหรับผู้สมัครหลักสูตรนี้ :
ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา - สามารถสมัครได้


2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้าย หรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษาภายในปีการศึกษา 2561)
3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript / Grade Report)
4. รูปถ่ายหน้าตรง ชุดสุภาพ ไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก และ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
5. สำเนาบัตรประชาชน
6. หลักฐานประกอบการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)


ให้ผู้สมัคร Upload ไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุข้างต้น ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถสมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

6. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

7. โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
สศอส๖๗๑ : หลักอนามัยสิ่งแวดล้อม 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศอส๖๐๔ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยประยุกต์ทางอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๒๔ : พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๕๕ : ชีวสถิติและระบาดวิทยาสำหรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 3
สศอส๖๕๙ : เทคโนโลยีอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ 3
สศอส๖๗๒ : การบริหารงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๗๓ : การติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๗๔ : การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 3
สศอส๖๙๕ : สัมมนาอนามัยสิ่งแวดล้อม 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สศคร๖๐๔ : อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 3
สศคร๖๖๓ : พื้นฐานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 2
สศชส๖๓๘ : ชีวสถิติพื้นฐาน 3
สศอส๕๐๓ : การบำบัดทางชีวภาพ 2
สศอส๖๐๒ : ชีววิทยาอนามัยสิ่งแวดล้อม 3
สศอส๖๑๐ : การสุขาภิบาลและการจัดการน้ำสะอาดและน้ำเสีย 2
สศอส๖๑๖ : เทคโนโลยีการกำจัดขยะ 2
สศอส๖๑๘ : การจัดการและการควบคุมพาหะนำโรค 2
สศอส๖๒๖ : การควบคุมมลพิษทางอากาศในชุมชน 2
สศอส๖๓๐ : การควบคุมมลพิษทางอากาศจากการอุตสาหกรรม 3
สศอส๖๓๒ : การสุขาภิบาลลำนํ้าและการควบคุมมลพิษชายฝั่งทะเล 2
สศอส๖๔๐ : เทคโนโลยีการผลิตอาหารและการควบคุมทางด้านสุขาภิบาล 3
สศอส๖๔๖ : การจัดการน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม 3
สศอส๖๕๕ : ชีวสถิติและระบาดวิทยาสำหรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 3
สศอส๖๕๖ : กฎหมายสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข 2
สศอส๖๕๗ : เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข 2
สศอส๖๕๘ : หัวข้อพิเศษทางอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๖๐ : การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ 3
สศอส๖๖๑ : ข้อกำหนดอาหารและการเฝ้าระวัง 3
สศอส๖๖๒ : ความปลอดภัยด้านอาหารและการประกันคุณภาพ 3
สศอส๖๖๓ : การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและการจัดการ 3
สศอส๖๖๔ : การมีส่วนร่วมสาธารณะและการจัดการความขัดแย้ง 3
สศอส๖๖๕ : การประเมินการรับสัมผัสสำหรับงานสาธารณสุข 3
สศอส๖๖๖ : ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๖๘ : ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม 2
สศอส๖๖๙ : การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ 2
สศอส๖๗๐ : เคมีสำหรับอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๗๕ : เทคโนโลยีและการจัดการของเสียอันตราย 3
สศอส๖๗๖ : การจัดการเหตุรำคาญ 3
สศอส๖๗๙ : การดูงานนอกสถานที่ทางงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สศอส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
สศอส๖๗๑ : หลักอนามัยสิ่งแวดล้อม 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศอส๖๐๔ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยประยุกต์ทางอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๒๔ : พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๕๕ : ชีวสถิติและระบาดวิทยาสำหรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 3
สศอส๖๕๙ : เทคโนโลยีอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ 3
สศอส๖๗๒ : การบริหารงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๗๓ : การติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๗๔ : การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 3
สศอส๖๙๕ : สัมมนาอนามัยสิ่งแวดล้อม 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สศคร๖๐๔ : อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 3
สศคร๖๖๓ : พื้นฐานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 2
สศชส๖๓๘ : ชีวสถิติพื้นฐาน 3
สศอส๕๐๓ : การบำบัดทางชีวภาพ 2
สศอส๖๐๒ : ชีววิทยาอนามัยสิ่งแวดล้อม 3
สศอส๖๑๐ : การสุขาภิบาลและการจัดการน้ำสะอาดและน้ำเสีย 2
สศอส๖๑๖ : เทคโนโลยีการกำจัดขยะ 2
สศอส๖๑๘ : การจัดการและการควบคุมพาหะนำโรค 2
สศอส๖๒๖ : การควบคุมมลพิษทางอากาศในชุมชน 2
สศอส๖๓๐ : การควบคุมมลพิษทางอากาศจากการอุตสาหกรรม 3
สศอส๖๓๒ : การสุขาภิบาลลำนํ้าและการควบคุมมลพิษชายฝั่งทะเล 2
สศอส๖๔๐ : เทคโนโลยีการผลิตอาหารและการควบคุมทางด้านสุขาภิบาล 3
สศอส๖๔๖ : การจัดการน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม 3
สศอส๖๕๕ : ชีวสถิติและระบาดวิทยาสำหรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 3
สศอส๖๕๖ : กฎหมายสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข 2
สศอส๖๕๗ : เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข 2
สศอส๖๕๘ : หัวข้อพิเศษทางอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๖๐ : การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ 3
สศอส๖๖๑ : ข้อกำหนดอาหารและการเฝ้าระวัง 3
สศอส๖๖๒ : ความปลอดภัยด้านอาหารและการประกันคุณภาพ 3
สศอส๖๖๓ : การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและการจัดการ 3
สศอส๖๖๔ : การมีส่วนร่วมสาธารณะและการจัดการความขัดแย้ง 3
สศอส๖๖๕ : การประเมินการรับสัมผัสสำหรับงานสาธารณสุข 3
สศอส๖๖๖ : ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๖๘ : ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม 2
สศอส๖๖๙ : การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ 2
สศอส๖๗๐ : เคมีสำหรับอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สศอส๖๗๕ : เทคโนโลยีและการจัดการของเสียอันตราย 3
สศอส๖๗๖ : การจัดการเหตุรำคาญ 3
สศอส๖๗๙ : การดูงานนอกสถานที่ทางงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 2
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
สศอส๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  ทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งรัฐบาล เอกชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ และองค์กรระหว่างประเทศ ใน
ขอบข่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข การอนามัยสิ่งแวดล้อม การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานส่งเสริม
สุขภาพ ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การควบคุมบำบัดและ
ป้องกันมลพิษต่าง ๆ ในชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม มาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และลักษณะ
งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนามัยสิ่งแวดล้อม
-  ทำงานอิสระในรูปแบบของดำเนินการธุรกิจส่วนตัวของงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

9. รายละเอียดอื่นๆ

เอกสารเพิ่มเติมในวันสอบสัมภาษณ์ เตรียมแนวคิด (Concept paper) เกี่ยวกับงานวิจัยที่สนใจทำวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 1 หน้ากระดาษ A4

10. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

-

11. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

12. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

อ.ดร.ชัชวาล สิงหกันต์

อีเมล: chatchawal.sin@mahidol.ac.th

ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทรศัพท์: 0-2354-8525

เลขานุการหลักสูตร

อ.ดร.วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล

อีเมล: withida.pat@mahidol.ac.th

ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทรศัพท์: 0-2354-8525

ผู้ประสานงานหลักสูตร

นางสาวปรียาภัทร บุญมา

อีเมล: chomphu2222@hotmail.com

โทรศัพท์: 0-2354-8525


หมายเหตุ* การดำเนินการในการส่งเอกสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สมัครเข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้มีสิทธิ์เข้าศึกษา จะต้องดำเนินการให้สถานศึกษาส่งบันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับจริง ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา มายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรงภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 หากไม่ดำเนินการตามวันที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าศึกษา ทั้งนี้บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่รับเอกสารที่ไม่ได้ใส่ซองปิดผนึกประทับตรามหาวิทยาลัย

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คลิกที่นี่


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th