เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   28   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 1 :     15 พฤศจิกายน 2561 - 31 มกราคม 2562

รหัสหลักสูตร 2313MG00

MASTER OF SCIENCE PROGRAM IN PUBLIC HEALTH INFECTIOUS DISEASES AND EPIDEMIOLOGY

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาดทางการสาธารณสุข

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 30 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

๑. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชีววิทยา  เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการสัตวแพทย์ 
จุลชีววิทยา เกษตรศาสตร์ หรือสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต 
ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิตหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ จากสถาบันอุดมศึกษา
ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
๓. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ตามดุลยพินิจ
ของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

2. เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตร

เกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 32 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 400 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 36  

เกณฑ์เพื่อสำเร็จการศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 54 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 480 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 60  
บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดรับผลคะแนนการทดสอบ TOEFL-iBT หรือ IELTS ที่มาจากศูนย์สอบโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นหากผู้สมัครมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าว ขอให้ติดต่อศูนย์สอบเพื่อส่งผลคะแนนมายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรง ลงทะเบียนได้ที่ http://www.grad.mahidol.ac.th/form01/

3. วิธีการคัดเลือก

- พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
- สอบสัมภาษณ์

4. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบสัมภาษณ์
วันจันทร์ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562
สถานที่ (ห้อง /ชั้น /อาคาร/ คณะ/ วิทยาเขต) เวลา 9.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. ห้อง 6511 อาคาร 6 ชั้น 5 ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หมายเหตุ กำหนดการสอบสัมภาษณ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบกำหนดการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ วันพุธ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th

5. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)

เงื่อนไขสำหรับผู้สมัครหลักสูตรนี้ :
ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา - สามารถสมัครได้


2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้าย หรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษาภายในปีการศึกษา 2561)
3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript / Grade Report)
4. รูปถ่ายหน้าตรง ชุดสุภาพ ไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก และ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
5. สำเนาบัตรประชาชน
6. หลักฐานประกอบการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
หลักฐานเพิ่มเติมอื่นๆ
- ประเด็นงานวิจัยที่ผู้สมัครสนใจ (โดยย่อ)

ให้ผู้สมัคร Upload ไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุข้างต้น ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถสมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

6. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

7. โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศรว๕๐๐ : โรคติดเชื้อและปัจจัยกำหนดทางการสาธารณสุข 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศชส๖๓๘ : ชีวสถิติพื้นฐาน 3
สศรบ๖๐๒ : หลักวิทยาการระบาด 3
สศรว๖๐๑ : นิเวศวิทยาและวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อทางการสาธารณสุข 2
สศรว๖๐๒ : การจัดการควบคุมโรคติดเชื้อทางการสาธารณสุข 2
สศรว๖๐๓ : สัมมนาทางโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด 2
สศรว๖๐๔ : เทคนิคทางห้องปฏิบัติการในการสอบสวนทางวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 2
สศรว๖๐๕ : การวิเคราะห์เชิงสถิติทางโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด 2
สศรว๖๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   รายวิชาเลือกภาควิชาจุลชีววิทยา
สศจว๖๑๒ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาสาธารณสุขและวิทยาภูมิคุ้มกัน 3
สศจว๖๑๔ : การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ 2
สศจว๖๑๗ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการวิทยาภูมิคุ้มกันทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๑๘ : สุขภาพและการเดินทาง 2
สศจว๖๒๐ : การตรวจวินิจฉัยทางจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
สศจว๖๒๓ : การประยุกต์เทคโนโลยีวัคซีนทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๒๕ : วิธีการระดับโมเลกุลด้านโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๒๗ : วิทยาภูมิคุ้มกันของโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๓๒ : การประเมินความเสี่ยงทางจุลชีววิทยา 2
สศจว๖๙๖ : หัวข้อพิเศษทางโรคติดเชื้อจุลชีพ 2
   รายวิชาเลือกภาควิชาปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา
สศปว๖๐๐ : ชีววิทยาระดับโมเลกุลของโรคปรสิต 2
สศปว๖๐๓ : ปรสิตวิทยาสิ่งแวดล้อม 2
สศปว๖๐๙ : กีฎวิทยาทางการแพทย์ 2
สศปว๖๑๒ : โรคปรสิตทางด้านสาธารณสุข 3
สศปว๖๑๓ : การวินิจฉัยทางปรสิตวิทยา 2
สศปว๖๑๘ : ชีวสารสนเทศศาสตร์ทางโรคติดเชื้อ 3
สศปว๖๒๗ : ปรสิตวิทยาสาธารณสุขขั้นสูง 3
สศปว๖๘๔ : โครงการพิเศษทางปรสิตวิทยา 2
สศปว๖๘๘ : สัมมนาทางปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา 2
สศปว๖๙๒ : วัคซีนวิทยาสาธารณสุข 2
   รายวิชาเลือกภาควิชาระบาดวิทยา
สศรบ๖๐๓ : การศึกษาทางวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 3
สศรบ๖๐๔ : วิธีการทางสถิติในงานวิทยาการระบาด ๑ 3
สศรบ๖๑๖ : วิทยาการระบาดของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการบาดเจ็บ 3
สศรบ๖๒๑ : สัมมนาทางวิทยาการระบาด ๑ 2
สศรบ๖๖๖ : การฝึกปฏิบัติภาคสนามทางการควบคุมโรคประจำถิ่น 2
สศรบ๖๖๘ : คอมพิวเตอร์และการจัดการระบบสารสนเทศทางการศึกษาวิทยาการระบาด 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สศรว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  นักวิชาการสาธารณสุขด้านโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยา ปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา และระบาดวิทยา
-  นักวิจัยด้านโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยา ปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา และระบาดวิทยา
-  นักวิชาการ และนักวิจัยในสถาบันวิชาการภาครัฐและเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรอิสระ  
-  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด
-  งานอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านการแพทย์และสาธารณสุข

9. รายละเอียดอื่นๆ

รายละเอียดการเขียนประเด็นงานวิจัยที่ผู้สมัครสนใจ

ให้ผู้สมัครเขียนเนื้อหางานวิจัยที่สนใจ โดยย่อ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ใช้อักษร Angsana New ขนาด 16

เนื้อหาประกอบด้วย ชื่อเรื่อง   ที่มาและความสำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย

10. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

ทุนเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี ครองราชสมบัติ ประเภทที่ 4 (นักศึกษาชำระค่าหน่วยกิต 50%)

11. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

12. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เฟื่องฟ้า  อุตรารัชต์กิจ

    Email : fuangfa.utr@mahidol.ac.th

ห้อง 6507 อาคาร 6 ชั้น 5  ภาควิชาจุลชีววิทยา

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทร 0 2354 8543 ต่อ 6512 หรือ  0 2354 8528    แฟกซ์  0 2354 8538

 

เลขานุการหลักสูตร

อาจารย์ ดร. ชนม์ชนก เมืองนาโพธิ์

    Email : chonchanok.the@mahidol.ac.th

ห้อง 6609 อาคาร 6 ชั้น 6  ภาควิชาจุลชีววิทยา

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทร 0 2354 8543 ต่อ 6609 หรือ 0 2354 8528     แฟกซ์  0 2354 8538

ผู้ประสานงานหลักสูตร

นางสาว ณัฐภัสสร  ศรีคง

    Email : Natphatsorn.sri@mahidol.ac.th

ห้อง 6509 อาคาร 6 ชั้น 5  ภาควิชาจุลชีววิทยา

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทร 0 2354 8543 ต่อ 6504,  0 2354 8528 ต่อ 101   แฟกซ์  0 2354 8538


หมายเหตุ* การดำเนินการในการส่งเอกสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สมัครเข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้มีสิทธิ์เข้าศึกษา จะต้องดำเนินการให้สถานศึกษาส่งบันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับจริง ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา มายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรงภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 หากไม่ดำเนินการตามวันที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าศึกษา ทั้งนี้บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่รับเอกสารที่ไม่ได้ใส่ซองปิดผนึกประทับตรามหาวิทยาลัย

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คลิกที่นี่


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th