ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ (ภาคพิเศษ)
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | วิทยาเขตกาญจนบุรี |
เว็บไซต์ |
http://www.ka.mahidol.ac.th/th/ |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(ความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ)
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรความมั่นคงทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ เป็นหลักสูตรสหวิทยาการในด้านนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีอาหาร การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และนโยบายสาธารณะ มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ลึกในด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวกับความเชี่ยวชาญทั้งนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีอาหาร การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และด้านอุตสาหกรรมที่จำเพาะ และมีความรู้กว้างในด้านที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะบูรณาการความคิด ความรู้และศาสตร์ที่หลากหลาย เพื่อค้นหาทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก๒ (๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษา ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ทางด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ ชีววิทยาและสิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข (๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษา ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ทางด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ ชีววิทยาและสิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ ชีววิทยาและสิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 15 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 9 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต | |
แผน ข | |||
หมวดวิชาบังคับ | 15 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 15 | หน่วยกิต | |
สารนิพนธ์ | 6 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
๑) นักวิจัยทางด้านนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีอาหาร และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ๒) ผู้เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เน้นความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ และนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีอาหาร และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
กญยท๕๐๑ : หลักการความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ | 2 | ||
กญยท๕๐๒ : นโยบายสาธารณะและเศรษฐกิจแบบยั่งยืน | 2 | ||
กญยท๕๐๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย | 3 | ||
กญยท๕๐๔ : สัมมนาความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ | 2 | ||
กญยท๕๐๕ : การจัดการทรัพยากรอาหารแบบยั่งยืน | 3 | ||
กญยท๕๐๖ : ความยั่งยืนทางระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
กญยท๕๑๐ : นวัตกรรมการเกษตร | 3 | ||
กญยท๕๑๑ : แบบจำลองและสถานการณ์จำลอง | 3 | ||
กญยท๕๑๒ : เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรขั้นสูง | 3 | ||
กญยท๕๑๓ : เทคโนโลยีสำหรับความปลอดภัยอาหาร | 3 | ||
กญยท๕๑๔ : การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | 3 | ||
กญยท๕๑๕ : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและประมาณการอายุการเก็บรักษา | 3 | ||
กญยท๕๑๖ : การจัดการโรงงานและลอจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร | 3 | ||
กญยท๕๑๗ : พันธุศาสตร์การอนุรักษ์ | 3 | ||
กญยท๕๑๘ : นิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรมและแนวทางเพื่อการอนุรักษ์ | 3 | ||
กญยท๕๑๙ : หัวข้อคัดสรรทางความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
กญยท๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
กญยท๕๐๑ : หลักการความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ | 2 | ||
กญยท๕๐๒ : นโยบายสาธารณะและเศรษฐกิจแบบยั่งยืน | 2 | ||
กญยท๕๐๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย | 3 | ||
กญยท๕๐๔ : สัมมนาความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ | 2 | ||
กญยท๕๐๕ : การจัดการทรัพยากรอาหารแบบยั่งยืน | 3 | ||
กญยท๕๐๖ : ความยั่งยืนทางระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
กญยท๕๑๐ : นวัตกรรมการเกษตร | 3 | ||
กญยท๕๑๑ : แบบจำลองและสถานการณ์จำลอง | 3 | ||
กญยท๕๑๒ : เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรขั้นสูง | 3 | ||
กญยท๕๑๓ : เทคโนโลยีสำหรับความปลอดภัยอาหาร | 3 | ||
กญยท๕๑๔ : การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | 3 | ||
กญยท๕๑๕ : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและประมาณการอายุการเก็บรักษา | 3 | ||
กญยท๕๑๖ : การจัดการโรงงานและลอจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร | 3 | ||
กญยท๕๑๗ : พันธุศาสตร์การอนุรักษ์ | 3 | ||
กญยท๕๑๘ : นิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรมและแนวทางเพื่อการอนุรักษ์ | 3 | ||
กญยท๕๑๙ : หัวข้อคัดสรรทางความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ | 3 | ||
สารนิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
กญยท๖๙๗ : สารนิพนธ์ | 6 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัชระ จินตโกวิท (ประธานหลักสูตร)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิริยุภา เนตรมัย
- อาจารย์ ฐิติศิลป์ กิจเชวงกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นงนุช สังข์อยุทธ์
- อาจารย์ ประภาพรรณ ซอหะซัน
- รองศาสตราจารย์ รุ่งทิวา วงศกรทรัพย์
- อาจารย์ นัทธีวรรณ อุดมศิลป์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัมพันธ์ ทองหนูนุ้ย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จตุรงค์ จันทร์สี่ทิศ
- อาจารย์ ชลธิรา แสงศิริ
- อาจารย์ เนติยา การะเกตุ