เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน โครงการร่วมคณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
เว็บไซต์

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๑.๑
(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทในประเทศหรือต่างประเทศในสาขาที่เกี่ยวกับการแพทย์และ
สาธารณสุขหรือ เศรษฐศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ และมีประสบการณ์ในด้านการเรียนการสอน
หรือการปฏิบัติงานด้านวิชาการ หรือการปฏิบัติงานในระบบประกันสุขภาพ หรือทำการวิจัย
เกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ อย่างน้อย ๒ ปี และมีผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่
เป็นภาษาอังกฤษในวารสารวิชาการระดับนานาชาติได้อย่างน้อย ๑ เรื่อง โดยเป็นผู้วิจัยหลัก 
(First or corresponding author)
(๓) มีผลสอบคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
(๔) ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๒.๑
(๑) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาโทในประเทศหรือต่างประเทศในสาขาที่เกี่ยวกับการแพทย์และ
สาธารณสุข หรือเศรษฐศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
และมีประสบการณ์ในด้านการเรียนการสอน หรือการปฏิบัติงานด้านวิชาการ หรือการปฏิบัติงานใน
ระบบประกันสุขภาพ หรือทำการวิจัยเกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ อย่างน้อย ๒ ปี
(๒) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) มีผลสอบคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
(๔) ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๒.๒
(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในประเทศหรือต่างประเทศในสาขาที่เกี่ยวกับการแพทย์
และสาธารณสุขหรือเศรษฐศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รับรอง โดยได้เกียรตินิยมอันดับ ๑ 
(๒) มีผลสอบคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
(๓) ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้า
รับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
แบบ ๒
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 7            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิจัยที่มีสมรรถนะสูงด้านการประเมินนโยบายและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
- ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการด้านการประเมินนโยบายและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
บฑปส๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
บฑปส๖๒๐ : การประเมินทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 3
บฑปส๖๒๑ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 2
บฑปส๖๒๒ : วิธีการทางสถิติและเวชศาสตร์บนพื้นฐานของหลักฐานสำหรับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 2
บฑปส๖๒๓ : หลักการและแนวคิดของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 2
บฑปส๖๒๔ : หลักการและแนวคิดของนโยบายสุขภาพและระบบสุขภาพ 2
บฑปส๖๗๕ : เทคโนโลยีด้านสุขภาพและผลกระทบต่อสังคม 3
บฑปส๖๗๖ : ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 3
บฑปส๖๗๗ : สัมมนาทางการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ๒ 1
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
บฑปส๖๗๕ : เทคโนโลยีด้านสุขภาพและผลกระทบต่อสังคม 3
บฑปส๖๗๖ : ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 3
บฑปส๖๗๗ : สัมมนาทางการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ๒ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สศบส๖๐๕ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพประยุกต์ 3
   รายวิชาที่แนะนำในการประเมินเทคโนโลยีลีด้านสุขภาพทางด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย
ภกภก๖๗๗ : การประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพ 3
รมรค๖๑๔ : สารสนเทศทางการแพทย์และการจัดการข้อมูล 2
รมรค๖๑๖ : การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงทางการแพทย์ 3
รมรค๖๑๘ : การทบทวนอย่างเป็นระบบและอภิวิเคราะห์ 2
สศชส๖๒๙ : ชีวสถิติขั้นสูงทางสาธารณสุข 3
   รายวิชาที่แนะนำในการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพทางด้านเศรษฐศาสตร์
บฑปส๖๒๘ : หลักการทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 2
ภกภก๖๗๙ : การวิเคราะห์ต้นทุนในการดูแลสุขภาพ 3
ภกภก๖๘๓ : การสร้างแบบจำลองต้นทุนประสิทธิผลด้านสุขภาพ 3
ภกภก๖๙๔ : การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลร่วมกับการทดลองทางคลินิกและการศึกษาแบบสังเกต 3
สศบส๖๐๕ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพประยุกต์ 3
สศรบ๖๐๑ : แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการเกิดโรคในชุมชนเบื้องต้น 2
   รายวิชาที่แนะนำในการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพทางด้านสังคม จริยธรรม ความเสมอภาค กฎหมาย และนโยบายด้านสุขภาพ
บฑปส๖๒๖ : การจัดลำดับความสำคัญในการประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2
บฑปส๖๒๗ : ระบบการดูแลสุขภาพและการเงินการคลังนานาชาติ 2
บฑปส๖๒๙ : จริยธรรมและความเสมอภาคในการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 2
บฑปส๖๓๐ : กฎหมายและการค้าระหว่างประเทศสำหรับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 2
บฑปส๖๓๑ : การประเมินผลกระทบทางสังคมของเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 2
วจปช๖๘๐ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ 3
วจอจ๖๓๙ : นโยบายสุขภาพโลก 3
สมสภ๖๐๔ : การวิจัยประเมินผลทางสุขภาพ 3
สมสภ๖๐๖ : จากการวิจัยสู่การปฏิบัติทางการพัฒนาสุขภาพ 3
สมสภ๖๐๘ : การวิจัยนโยบายสุขภาพและการวิจัยระบบสุขภาพ 3
สศบส๖๗๘ : การจัดทำนโยบายสาธารณสุข ดำเนินการ และการประเมินผล 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
บฑปส๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
บฑปส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร