ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว |
เว็บไซต์ |
http://www.cf.mahidol.ac.th/ |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อปัญหาสำคัญของประเทศ และตอบสนองต่อวิสัยทัศน์และเป้าหมายของ
มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตรที่เกิดจากความร่วมมือของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และสถาบันแห่งชาติ
เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ทำให้มีอาจารย์ผู้สอนและบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์หลากหลาย สถาบันที่รีวมกันเปิดสอนหลักสูตรนี้มีคลินิกตรวจรักษาเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่มีคุณภาพ
มีการดำเนินกิจกรรมทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น
ที่เข้มแข็งโดยเฉพาะงานสุขภาพจิตโรงเรียนและการร่วมมือกับชุมชน ทำให้นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและการฝึกปฎิบัติ จนมีความรู้ความสามารถและทักษะทางจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และ
ครอบครัวทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาจิตวิทยา พยาบาลศาสตร์ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จากสถาบันที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ ๓. มีประสบการณ์ทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก วัยรุ่นและครอบครัว อย่างน้อย ๑ ปี ๔. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๕. ผู้สมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 18 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
- นักจิตวิทยาโรงเรียน
- นักวิชาการด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
- นักวิจัยด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
- ที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
ดคจด๕๑๐ : พัฒนาการเด็กและวัยรุ่น | 2 | ||
ดคจด๕๑๑ : ระเบียบวิธีวิจัยทางจิตวิทยา | 2 | ||
รมจด๕๕๒ : การให้คำปรึกษาสำหรับเด็กและวัยรุ่น | 3 | ||
รมจด๕๕๓ : จิตวิทยาการดูแลเด็กและวัยรุ่น | 2 | ||
รมจด๕๕๗ : ปัญหาสุขภาพจิตทางเด็ก วัยรุ่นและครอบครัว | 2 | ||
ศรจด๕๐๑ : จิตวิทยาครอบครัว | 2 | ||
ศรจด๕๐๕ : การฝึกอบรมผู้ปกครองเพื่อปรับพฤติกรรมเด็ก | 2 | ||
ศรจด๕๐๖ : สัมมนาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว | 1 | ||
ศรจด๖๑๑ : ปฏิบัติการด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
ดคจด๕๑๒ : สถิติเพื่อการวิจัยทางจิตวิทยา | 2 | ||
ดคจด๕๒๐ : จิตวิทยาการเรียนรู้ | 2 | ||
ดคพม๕๒๑ : สื่อเพื่อการพัฒนาเด็ก | 2 | ||
ดคพม๕๓๗ : แนวทางแบบองค์รวมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ | 2 | ||
ดคพม๕๓๙ : เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก | 2 | ||
รมจด๕๕๕ : สุขภาพจิตวัยรุ่น | 3 | ||
รมจด๕๕๖ : กลุ่มบำบัดสำหรับเด็กและวัยรุ่น | 3 | ||
ศรจด๕๐๒ : การประเมินทางจิตวิทยาสำหรับเด็กและวัยรุ่น | 2 | ||
ศรจด๕๐๔ : การช่วยเหลือเด็กและวัยรุ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน | 2 | ||
ศรจด๕๐๗ : สุขภาพจิตในโรงเรียน | 2 | ||
ศรจด๖๐๑ : การให้คำปรึกษาคู่สมรสและครอบครัว | 3 | ||
ศรจด๖๐๓ : กลุ่มฝึกอบรมทักษะชีวิตสำหรับเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาพฤติกรรม | 2 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
บฑจด๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ศาสตราจารย์ ชาญวิทย์ พรนภดล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธิดารัตน์ ปุรณะชัยคีรี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปนัดดา ธนเศรษฐกร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข
- รองศาสตราจารย์ สุวรรณี พุทธิศรี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พัชรินทร์ เสรี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พลิศรา ธรรมโชติ
- รองศาสตราจารย์ ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัลลภ อัจสริยะสิงห์
- รองศาสตราจารย์ ฑิฆัมพร หอสิริ