ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว |
เว็บไซต์ |
http://www.ra.mahidol.ac.th/ |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อปัญหาสำคัญของประเทศ และตอบสนองต่อวิสัยทัศน์และเป้าหมายของ
มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตรที่เกิดจากความร่วมมือของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และสถาบันแห่งชาติ
เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ทำให้มีอาจารย์ผู้สอนและบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์หลากหลาย สถาบันที่รีวมกันเปิดสอนหลักสูตรนี้มีคลินิกตรวจรักษาเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่มีคุณภาพ
มีการดำเนินกิจกรรมทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น
ที่เข้มแข็งโดยเฉพาะงานสุขภาพจิตโรงเรียนและการร่วมมือกับชุมชน ทำให้นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและการฝึกปฎิบัติ จนมีความรู้ความสามารถและทักษะทางจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และ
ครอบครัวทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก ๒ ๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาจิตวิทยา พยาบาลศาสตร์ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จากสถาบันที่สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓) ผู้สมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข ๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาจิตวิทยา พยาบาลศาสตร์ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จากสถาบันที่สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓). มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่นและครอบครัวไม่น้อยกว่า ๒ ปี ๔) ผู้สมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้าง อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ||
หมวดวิชาบังคับ | 23 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 4 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 39 | หน่วยกิต | |
แผน ข | |||
หมวดวิชาเสิรมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ||
หมวดวิชาบังคับ | 23 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 10 | หน่วยกิต | |
สารนิพนธ์ | 6 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 39 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
- นักวิชาการด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
- นักวิจัยด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
- ที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
ดคพม๕๑๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางพัฒนาการมนุษย์ | 2 | ||
ดคพม๕๑๘ : พัฒนาการเด็กและวัยรุ่น | 3 | ||
ดคพม๕๓๕ : การประยุกต์คอมพิวเตอร์ในทางสถิติ | 2 | ||
รมจด๕๕๑ : ปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น | 3 | ||
รมจด๕๕๒ : การให้คำปรึกษาสำหรับเด็กและวัยรุ่น | 3 | ||
รมจด๕๕๓ : จิตวิทยาการดูแลเด็กและวัยรุ่น | 2 | ||
รมจด๕๕๔ : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว | 1 | ||
ศรจด๕๐๑ : จิตวิทยาครอบครัว | 2 | ||
ศรจด๕๐๓ : สุขภาพจิตโรงเรียน | 3 | ||
ศรจด๖๑๑ : ปฏิบัติการด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
ดคพม๕๑๕ : พัฒนาการของสมองและพฤติกรรมของมนุษย์ | 3 | ||
รมจด๕๕๕ : สุขภาพจิตวัยรุ่น | 3 | ||
รมจด๕๕๖ : กลุ่มบำบัดสำหรับเด็กและวัยรุ่น | 3 | ||
ศรจด๕๐๒ : การประเมินทางจิตวิทยาสำหรับเด็กและวัยรุ่น | 2 | ||
ศรจด๕๐๔ : การช่วยเหลือเด็กและวัยรุ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน | 2 | ||
ศรจด๖๐๑ : การให้คำปรึกษาคู่สมรสและครอบครัว | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
บฑจด๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 | ||
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
ดคพม๕๐๒ : แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้านพัฒนาการมนุษย์ | 2 | ||
สารนิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
บฑจด๖๙๗ : สารนิพนธ์ | 6 |
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
ดคพม๕๑๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางพัฒนาการมนุษย์ | 2 | ||
ดคพม๕๑๘ : พัฒนาการเด็กและวัยรุ่น | 3 | ||
ดคพม๕๓๕ : การประยุกต์คอมพิวเตอร์ในทางสถิติ | 2 | ||
รมจด๕๕๑ : ปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น | 3 | ||
รมจด๕๕๒ : การให้คำปรึกษาสำหรับเด็กและวัยรุ่น | 3 | ||
รมจด๕๕๓ : จิตวิทยาการดูแลเด็กและวัยรุ่น | 2 | ||
รมจด๕๕๔ : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว | 1 | ||
ศรจด๕๐๑ : จิตวิทยาครอบครัว | 2 | ||
ศรจด๕๐๓ : สุขภาพจิตโรงเรียน | 3 | ||
ศรจด๖๑๑ : ปฏิบัติการด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
ดคพม๕๑๕ : พัฒนาการของสมองและพฤติกรรมของมนุษย์ | 3 | ||
รมจด๕๕๕ : สุขภาพจิตวัยรุ่น | 3 | ||
รมจด๕๕๖ : กลุ่มบำบัดสำหรับเด็กและวัยรุ่น | 3 | ||
ศรจด๕๐๒ : การประเมินทางจิตวิทยาสำหรับเด็กและวัยรุ่น | 2 | ||
ศรจด๕๐๔ : การช่วยเหลือเด็กและวัยรุ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน | 2 | ||
ศรจด๖๐๑ : การให้คำปรึกษาคู่สมรสและครอบครัว | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
บฑจด๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 | ||
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
ดคพม๕๐๒ : แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้านพัฒนาการมนุษย์ | 2 | ||
สารนิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
บฑจด๖๙๗ : สารนิพนธ์ | 6 |