เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิทธิมนุษยชน (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
เว็บไซต์ http://www.ihrp.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(สิทธิมนุษยชน)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรสิทธิมนุษยชนให้การศึกษาด้านทฤษฎี ระเบียบวิธีวิจัย และการศึกษาปัจจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ของประเทศไทย รวมทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน อย่างเชื่อมโยง มีพลวัต และเป็นสหวิทยาการ เพื่อเสริมองค์ความรู้ด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างเป็นระบบแก่ผู้เรียน ทั้งนี้หลักสูตรฯ เน้นการเสริมสร้างความเข้าใจและการวิเคราะห์ โครงสร้างบริบทสังคมไดทย และการนำมาตรฐานและกลไกสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับสากลและระดับชาติ มาใช้ในบริบทท้องถิ่น เพื่อเสริมการทำงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมี ความรู้ด้านศีลธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนในมิติและบริบทต่างๆ ของสังคม นอกจากนี้หลักสูตรฯยังมุ่งเสริมทักษะปฎิบัติการและการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้เชิงวิชาการ ไปประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงานสาขาต่างๆ เพื่อเสริมสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้น และตั้งมั่น เข็มแข็งใน สังคม

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 
ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ หรือเทียบเท่า
๒. มีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล 
๓. ผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านสิทธิมนุษยชน หรืองานด้านการพัฒนาสังคม การพัฒนาชุมชน และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา 
ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัย หรือพนักงาน ผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนอาชีพอื่นๆ 
เช่น ข้าราชการภาครัฐและพนักงานภาคเอกชน ที่มีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ความรู้ในสาขาวิชา
ดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและในการประกอบอาชีพทุกสาขาอาชีพอยู่แล้ว

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
มสสม๕๐๔ : สิทธิมนุษยชนในเอเชีย 3
มสสม๕๐๕ : วิธีวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน 3
มสสม๕๐๖ : ทฤษฎีสิทธิมนุษยชน 3
มสสม๕๑๙ : บรรทัดฐานและกลไกทางสิทธิมนุษยชน 3
มสสม๕๒๐ : สัมมนาด้านสิทธิมนุษยชน 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
มสสม๕๑๐ : ทักษะเชิงปฏิบัติเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 3
มสสม๕๑๒ : สิทธิมนุษยชนทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3
มสสม๕๑๘ : การวิจัยเชิงประยุกต์ทางด้านสิทธิมนุษยชน 3
มสสม๕๒๑ : สันติภาพ การจัดการความขัดแย้ง และสิทธิมนุษยชน 3
มสสม๕๒๒ : การค้นคว้าอิสระ 3
มสสม๕๒๓ : การฝึกงาน 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
มสสม๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร