ผู้สนใจเข้าศึกษา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติและวัฒนธรรม (ภาคพิเศษ)
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะศิลปศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
https://la.mahidol.ac.th/th/ |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติและวัฒนธรรม )
จุดเด่นของหลักสูตร
สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐบาลและเอกชนหลายแห่งเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยว แต่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการจัดการท่องเที่ยว โรงแรม ธุรกิจ และงานบริการทั่วไป โดยไม่ได้เฉพาะเจาะจงการท่องเที่ยวในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างชัดเจน ดังนั้น หลักสูตรการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงถือเป็นหลักสูตรด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลักสูตรแรกของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการสุขภาพและสาธารณสุขของประเทศไทย จึงเป็นการบูรณาการกันระหว่างองค์ความรู้ด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบกับกระแสความนิยมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ทั้งของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรดังกล่าวจึงพัฒนาขึ้นมารองรับการผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสม
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ๑.๒ แบบวิชาการ ๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการจัดการการท่องเที่ยวและปริญญาตรีสาขาอื่น ๆ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับรอง ๒) คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ๓) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ (๒) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ๒ แบบวิชาชีพ ๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการจัดการการท่องเที่ยวและปริญญาตรีสาขาอื่นๆ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับรอง ๒) คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ๓) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ (๒) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน 1.2 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) | |||
หมวดวิชาบังคับ | 15 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 9 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต | |
แผน 2 แบบวิชาชีพ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 15 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 15 | หน่วยกิต | |
การค้นคว้าอิสระ | 6 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้บริหารและผู้จัดการธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจบริการด้านสุขภาพ
- ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
- นักการตลาดด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม
- นักวิจัยด้านการท่องเที่ยว
- นักวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวระดับเชี่ยวชาญ
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
ศศทท๕๐๐ : หลักการและการจัดการท่องเที่ยว | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
ศศทท๕๐๑ : พฤติกรรมนักท่องเที่ยว | 3 | ||
ศศทท๕๐๒ : การจัดการการท่องเที่ยวเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ | 3 | ||
ศศทท๕๐๔ : การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม | 3 | ||
ศศทท๕๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางการท่องเที่ยว | 3 | ||
ศศทท๕๐๗ : สัมมนาทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
กกลุ่มสุขภาพ | |||
ศศทท๕๐๕ : การจัดการการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ | 3 | ||
ศศทท๕๑๕ : ระบบสุขภาพของไทย | 3 | ||
ศศทท๕๑๖ : สุขภาพกับการเดินทาง | 3 | ||
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรม | |||
ศศทท๕๑๐ : วัฒนธรรมอาหารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ | 3 | ||
ศศทท๕๑๒ : พิพิธภัณฑ์เชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว | 3 | ||
ศศทท๕๑๗ : การท่องเที่ยวแบบเนิบช้า | 3 | ||
ศศทท๕๑๘ : ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว | 3 | ||
กลุ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว | |||
ศศทท๕๐๘ : การเป็นผู้ประกอบการกับนวัตกรรมในธุรกิจท่องเที่ยว | 3 | ||
ศศทท๕๐๙ : การตลาดจุดหมายปลายทาง | 3 | ||
ศศทท๕๑๙ : การจัดการเชิงกลยุทธ์สําหรับธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ | 3 | ||
ศศทท๕๒๐ : การจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
ศศทท๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
ศศทท๕๐๐ : หลักการและการจัดการท่องเที่ยว | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
ศศทท๕๐๑ : พฤติกรรมนักท่องเที่ยว | 3 | ||
ศศทท๕๐๒ : การจัดการการท่องเที่ยวเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ | 3 | ||
ศศทท๕๐๔ : การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม | 3 | ||
ศศทท๕๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางการท่องเที่ยว | 3 | ||
ศศทท๕๐๗ : สัมมนาทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
กกลุ่มสุขภาพ | |||
ศศทท๕๐๕ : การจัดการการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ | 3 | ||
ศศทท๕๑๕ : ระบบสุขภาพของไทย | 3 | ||
ศศทท๕๑๖ : สุขภาพกับการเดินทาง | 3 | ||
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรม | |||
ศศทท๕๑๐ : วัฒนธรรมอาหารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ | 3 | ||
ศศทท๕๑๒ : พิพิธภัณฑ์เชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว | 3 | ||
ศศทท๕๑๗ : การท่องเที่ยวแบบเนิบช้า | 3 | ||
ศศทท๕๑๘ : ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว | 3 | ||
กลุ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว | |||
ศศทท๕๐๘ : การเป็นผู้ประกอบการกับนวัตกรรมในธุรกิจท่องเที่ยว | 3 | ||
ศศทท๕๐๙ : การตลาดจุดหมายปลายทาง | 3 | ||
ศศทท๕๑๙ : การจัดการเชิงกลยุทธ์สําหรับธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ | 3 | ||
ศศทท๕๒๐ : การจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม | 3 | ||
การค้นคว้าอิสระ | หน่วยกิต | ||
ศศทท๖๙๖ : การค้นคว้าอิสระ | 6 |