เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน สถาบันโภชนาการ
เว็บไซต์ http://www.inmu2.mahidol.ac.th/foodsafety/?p=138374

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(พิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษามีการพัฒนาศักยภาพในการค้นคว้าหาความรู้ที่ทันสมัยในด้าน พิษวิทยาที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ โดยอาศัยพื้นฐานเดิมของแต่ละบุคคล

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก๒
๑. ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิตหรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ศึกษาต่อเนื่องอย่างน้อย ๔ ปี ในสาขาที่มีการศึกษา
วิชาอินทรีย์เคมี หรือชีวเคมีหรือสรีรวิทยาอย่างน้อย ๒ หน่วยกิต จากสถาบันที่สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษาให้การรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๒. ต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔. ผู้สมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ ๒.๒.๑ และข้อ ๒.๒.๒ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะราย ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 21            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 38            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการด้านพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย ในหน่วยงานภาครัฐและอุตสาหกรรม อาหาร
- นักวิจัยด้านพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย ในสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สภพป๕๐๒ : หลักการทางชีวเคมีและสรีรวิทยา 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สภพป๖๐๒ : สัมมนาพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ ๑ 1
สภพป๖๐๓ : สัมมนาพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ ๒ 1
สภพป๖๐๔ : โภชนาการกับพิษวิทยา 3
สภพป๖๒๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ 2
สภพป๖๒๖ : หลักการทางพิษวิทยาและอาหารปลอดภัย 3
สภพป๖๒๗ : การทดสอบด้านพิษวิทยาตามมาตรฐานควบคุมเพื่ออาหารปลอดภัย 3
สภพป๖๒๘ : อันตรายในอาหารและผลกระทบต่อสุขภาพ 3
สภพป๖๒๙ : ความเสี่ยงต่อสุขภาพของการได้รับสารอาหารเกิน และการควบคุมทางกฎหมาย 2
สภพป๖๓๐ : การวิเคราะห์ความเสี่ยงความปลอดภัยทางอาหาร 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สปภป๖๔๐ : เทคนิคทางห้องปฏิบัติการทางพิษวิทยาระดับโมเลกุล 3
สภพป๖๑๑ : การคุ้มครองผู้บริโภคทางอาหารและโภชนาการ 2
สภพป๖๑๔ : ความเป็นพิษของอาหาร พืชและเนื้อสัตว์ 2
สภพป๖๒๒ : พิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการขั้นสูง : สารเคมีในการเกษตรและโลหะหนัก 3
สภพป๖๓๑ : สารอาหารรองและอาหารสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2
สภพป๖๓๒ : เทคนิคการวิเคราะห์ทางพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ 3
สภพป๖๓๓ : ความปลอดภัยทางจุลชีววิทยาอาหาร 2
สภพป๖๓๔ : การตรวจหาจุลินทรีย์ในอาหาร และการควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาอาหาร 3
สภพป๖๓๕ : เทคนิคทางพิษวิทยาเชิงพันธุศาสตร์โดยใช้การทดสอบระยะสั้น 2
สภพป๖๓๖ : การประเมินความเสี่ยงของอันตรายทางเคมีในอาหาร 2
สภพป๖๓๗ : ความปลอดภัยทางอาหารที่เกี่ยวกับสารก่อกลายพันธุ์ สารก่อมะเร็ง และสารก่อภูมิแพ้ 3
สภพป๖๓๘ : กระบวนการแปรรูปที่เหนี่ยวนำให้เกิดสารพิษในอาหาร 2
สภพป๖๓๙ : ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการระดับสากลตามมาตรฐานไอเอสโอ/ไออีซี ๑๗๐๒๕ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สภพป๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. อาจารย์ เพ็ญภพ พันธุ์เสือ