เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   27   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
เว็บไซต์ http://www.lc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(วัฒนธรรมศึกษา)

จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนสามารถออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Taiormaou) นักศึกษาได้เรียนรู้ด้าน วัฒนธรรมศึกษาอย่างเป็นองค์รวม เป็นผู้รู้รอบอย่างลึกซึ้งในเชิงทฤษฎี ลัทธิวิทยา หรือเนื้อหาเฉพาะด้าน ของกลุ่มวิชาต่างๆ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก ๒
๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔)ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร
และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย	 

แผน ข
๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔) มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานที่ดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรม หรือปฏิบัติการในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอย่างน้อย ๑ ปี 
โดยนับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา
๕)ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร
และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิจัย นักวิชาการทางด้านวัฒนธรรม
- นักพัฒนาสังคม นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาในองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรของรัฐ
- อาชีพที่ต้องอาศัยความเข้าใจกลุ่มคนในสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา
- ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรม เช่น เป็นผู้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม จัดอบรมทางวัฒนธรรม ประกอบธุรกิจกับประเทศอาเซียน บวก ๓ หรือบวก ๖ โดยใช้ความรู้ทางวัฒนธรรมศึกษา

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วภวธ๕๑๐ : แนวคิดหลักทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวธ๕๑๓ : สัมมนาประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย 3
วภวธ๕๑๔ : ฝึกปฏิบัติ 3
วภวธ๕๑๕ : การออกแบบการวิจัยทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวธ๕๑๖ : ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางวัฒนธรรมศึกษา 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วภวธ๕๒๖ : สุขภาพในยุคดิจิทัล 3
วภวธ๕๒๗ : ธุรกิจสุขภาพภายใต้เสรีนิยมใหม่ 3
วภวธ๕๓๘ : วัฒนธรรมศึกษาของดนตรี 3
วภวธ๕๓๙ : พหุวัฒนธรรมทางดนตรีและการแสดง 3
วภวธ๕๔๖ : พิพิธภัณฑ์ศึกษาแนววิพากษ์ 3
วภวธ๕๔๗ : การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเชิงพลวัต 3
วภวธ๕๕๘ : วัฒนธรรมภาพยนตร์ข้ามชาติในบริบทเอเชีย 3
วภวธ๕๕๙ : วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ในบริบทร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
วภวธ๕๖๙ : พหุวัฒนธรรมอินเดียและการเชื่อมโยงกับอาเซียนในยุคดิจิทัล 3
วภวธ๕๗๖ : นโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
วภวธ๕๗๗ : การพัฒนานวัตกรรมฐานชุมชน 3
วภวธ๕๗๘ : ประเด็นสังคมและวัฒนธรรมในบริบทอินเดียร่วมสมัย 3
วภวธ๕๘๐ : ความเป็นผู้ประกอบการวัฒนธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3
วภวธ๕๘๓ : การออกแบบความคิดและการออกแบบบริการในการประกอบการทางสังคม 3
วภวธ๕๘๔ : สื่อดิจิทัล วัฒนธรรมการมีส่วนร่วม และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3
วภวธ๖๐๒ : การศึกษาประเด็นเฉพาะ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วภวธ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วภวธ๕๑๐ : แนวคิดหลักทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวธ๕๑๓ : สัมมนาประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย 3
วภวธ๕๑๔ : ฝึกปฏิบัติ 3
วภวธ๕๑๕ : การออกแบบการวิจัยทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวธ๕๑๖ : ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางวัฒนธรรมศึกษา 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วภวธ๕๒๖ : สุขภาพในยุคดิจิทัล 3
วภวธ๕๒๗ : ธุรกิจสุขภาพภายใต้เสรีนิยมใหม่ 3
วภวธ๕๓๘ : วัฒนธรรมศึกษาของดนตรี 3
วภวธ๕๓๙ : พหุวัฒนธรรมทางดนตรีและการแสดง 3
วภวธ๕๔๖ : พิพิธภัณฑ์ศึกษาแนววิพากษ์ 3
วภวธ๕๔๗ : การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเชิงพลวัต 3
วภวธ๕๕๘ : วัฒนธรรมภาพยนตร์ข้ามชาติในบริบทเอเชีย 3
วภวธ๕๕๙ : วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ในบริบทร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
วภวธ๕๖๙ : พหุวัฒนธรรมอินเดียและการเชื่อมโยงกับอาเซียนในยุคดิจิทัล 3
วภวธ๕๗๖ : นโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
วภวธ๕๗๗ : การพัฒนานวัตกรรมฐานชุมชน 3
วภวธ๕๗๘ : ประเด็นสังคมและวัฒนธรรมในบริบทอินเดียร่วมสมัย 3
วภวธ๕๘๐ : ความเป็นผู้ประกอบการวัฒนธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3
วภวธ๕๘๓ : การออกแบบความคิดและการออกแบบบริการในการประกอบการทางสังคม 3
วภวธ๕๘๔ : สื่อดิจิทัล วัฒนธรรมการมีส่วนร่วม และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3
วภวธ๖๐๒ : การศึกษาประเด็นเฉพาะ 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
วภวธ๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6