ผู้สนใจเข้าศึกษา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย |
เว็บไซต์ |
http://www.lc.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม)
วิชาเอก
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
แผน ก แบบ ก๑ (ทำวิทยานิพนธ์) ๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ ๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ๕) มีประสบการณ์การวิจัยด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม หรือในด้านที่เกี่ยวข้องและมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการอย่างน้อย ๑ เรื่อง ในฐานข้อมูลระดับชาติหรือระดับนานาชาติ โดยเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (First author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) ๖) ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒) - ข้อ ๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล แผน ก แบบ ก๒ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) ๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทุกหลักสูตรหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒) - ข้อ ๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล แผน ข (ศึกษารายวิชาและทำสารนิพนธ์) ๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทุกหลักสูตรหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ๕) มีประสบการณ์การทำงาน ไม่น้อยกว่า ๑ ปี ๖) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒) - ข้อ ๕) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๑ | |||
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต | |
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 15 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 9 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต | |
แผน ข | |||
หมวดวิชาบังคับ | 15 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 15 | หน่วยกิต | |
สารนิพนธ์ | 6 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต | |
รายวิชาในหมวดวิชาบังคับดังต่อไปนี้ ผู้เรียนจะต้องเรียนทั้งหมด ๑๕ หน่วยกิต โดยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรก (๑.๑) เป็นรายวิชาบังคับสำหรับผู้เรียนทุกกลุ่ม ผู้เรียนต้องเรียนให้ครบทุกรายวิชา ประกอบด้วย ๔ รายวิชา ได้แก่ วภสว ๕๐๕ วภสว ๕๐๖ วภสว ๕๐๗ และ วภสว ๕๕๒ รวม ๑๒ หน่วยกิต และกลุ่มที่ ๒ (๑.๒) เป็นรายวิชาบังคับแบ่งตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่กำหนดให้ผู้เรียนต้องเรียน ๓ หน่วยกิต ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตนเลือก แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษา กำหนดให้เรียนวิชา วภสว ๕๔๐ กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการแปล กำหนดให้เรียนวิชา วภสว ๕๒๐ และกลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร กำหนดให้เรียนวิชา วภสว ๕๗๑ | |||
รายวิชาในหมวดวิชาเลือกจะแบ่งตามความเชี่ยวชาญเป็น ๓ กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน ได้แก่ การสอนภาษา การแปล และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร โดยกำหนดให้ผู้เรียนต้องเลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มความเชี่ยวชาญที่สนใจ ไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต สำหรับ แผน ข ที่ต้องเรียนเพิ่มอีก ๖ หน่วยกิต ให้ครบ ๑๕ หน่วยกิต ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มความที่เชี่ยวชาญที่ตนเลือกเพิ่มเติมก็ได้ หรือจะเลือกเรียนในกลุ่มรายวิชาอื่นๆ ก็ได้ ไม่จำกัดเฉพาะในกลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้านที่ตนเลือกเท่านั้น |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
- นักวิจัยและนักวิชาการด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
- ที่ปรึกษาด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก1
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
วภสว๗๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 36 |
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
วภสว๕๐๕ : ทฤษฎีการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | 3 | ||
วภสว๕๐๖ : การวิเคราะห์ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | 3 | ||
วภสว๕๐๗ : การออกแบบและปฏิบัติการวิจัย | 3 | ||
วภสว๕๕๒ : สัมมนาประเด็นปัจจุบันด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษา | |||
วภสว๕๔๐ : การสอนภาษาต่างประเทศ | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการแปล | |||
วภสว๕๒๐ : ทฤษฎีและหลักสำหรับนักแปลอาชีพ | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร | |||
วภสว๕๗๑ : การจัดการการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
วิชาเอกภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | |||
วภสว๖๒๑ : การแปลข่าว | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษา | |||
วภสว๕๑๑ : การออกแบบรายวิชาและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนการสอนภาษา | 3 | ||
วภสว๕๑๒ : การสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ | 3 | ||
วภสว๕๔๓ : ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ | 3 | ||
วภสว๕๔๔ : การประเมินผลทางภาษา | 3 | ||
วภสว๕๔๕ : นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนภาษา | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการแปล | |||
วภสว๕๒๔ : ภาษาไทยสำหรับนักแปล | 3 | ||
วภสว๕๒๕ : การวิเคราะห์ตัวบทเพื่อการแปล | 3 | ||
วภสว๖๒๐ : การแปลเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ | 3 | ||
วภสว๖๒๖ : การแปลภาพยนตร์ | 3 | ||
วภสว๖๓๐ : สัมมนาการแปลศึกษา | 3 | ||
วภสว๖๓๑ : การแปลวรรณกรรม | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร | |||
วภสว๕๓๑ : การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเชิงกลยุทธ์ | 3 | ||
วภสว๕๓๖ : สัญวิทยาทางการวิเคราะห์การสื่อสารและวัฒนธรรม | 3 | ||
วภสว๕๕๑ : การศึกษาอิสระ | 3 | ||
วภสว๕๗๐ : ภาวะผู้นำและสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | 3 | ||
วภสว๕๗๕ : การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม | 3 | ||
วภสว๕๗๖ : การบริหารองค์กรในสังคมพหุวัฒนธรรม | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
วภสว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
วภสว๕๐๕ : ทฤษฎีการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | 3 | ||
วภสว๕๐๖ : การวิเคราะห์ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | 3 | ||
วภสว๕๐๗ : การออกแบบและปฏิบัติการวิจัย | 3 | ||
วภสว๕๕๒ : สัมมนาประเด็นปัจจุบันด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษา | |||
วภสว๕๔๐ : การสอนภาษาต่างประเทศ | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการแปล | |||
วภสว๕๒๐ : ทฤษฎีและหลักสำหรับนักแปลอาชีพ | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร | |||
วภสว๕๗๑ : การจัดการการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
วิชาเอกภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | |||
วภสว๖๒๑ : การแปลข่าว | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษา | |||
วภสว๕๑๑ : การออกแบบรายวิชาและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนการสอนภาษา | 3 | ||
วภสว๕๑๒ : การสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ | 3 | ||
วภสว๕๔๓ : ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ | 3 | ||
วภสว๕๔๔ : การประเมินผลทางภาษา | 3 | ||
วภสว๕๔๕ : นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนภาษา | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการแปล | |||
วภสว๕๒๔ : ภาษาไทยสำหรับนักแปล | 3 | ||
วภสว๕๒๕ : การวิเคราะห์ตัวบทเพื่อการแปล | 3 | ||
วภสว๖๒๐ : การแปลเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ | 3 | ||
วภสว๖๒๖ : การแปลภาพยนตร์ | 3 | ||
วภสว๖๓๐ : สัมมนาการแปลศึกษา | 3 | ||
วภสว๖๓๑ : การแปลวรรณกรรม | 3 | ||
กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร | |||
วภสว๕๓๑ : การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเชิงกลยุทธ์ | 3 | ||
วภสว๕๓๖ : สัญวิทยาทางการวิเคราะห์การสื่อสารและวัฒนธรรม | 3 | ||
วภสว๕๕๑ : การศึกษาอิสระ | 3 | ||
วภสว๕๗๐ : ภาวะผู้นำและสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | 3 | ||
วภสว๕๗๕ : การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม | 3 | ||
วภสว๕๗๖ : การบริหารองค์กรในสังคมพหุวัฒนธรรม | 3 | ||
สารนิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
วภสว๖๙๗ : สารนิพนธ์ | 6 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- อาจารย์ จูยิน แซ่จาง (ประธานหลักสูตร)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณรงเดช พันธะพุมมี
- รองศาสตราจารย์ วัชรพล วิบูลยศริน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อธิป ธรรมวิจิตร
- รองศาสตราจารย์ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนิดา ศิวปฐมชัย
- รองศาสตราจารย์ สิงหนาท น้อมเนียน
- รองศาสตราจารย์ นันทิยา ดวงภุมเมศ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรพงษ์ บุญรักษา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร