เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
เว็บไซต์ https://lc.mahidol.ac.th/th/Program/PHdLinguistics.htm

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๑.๑ (ทำวิทยานิพนธ์)
๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโททุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย 
๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
๕) มีประสบการณ์การทำวิจัยด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า ๒ ปี และมีผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างน้อย ๑ เรื่อง ในวารสารทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ  ตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (First author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) 
๖)  ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๒) - ข้อ ๔ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย 
		
แบบ ๒.๑ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโททุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย 
๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
๕)  ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๒) - ข้อ ๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ที่ปรึกษานโยบายด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
- นักวิชาการด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
- นักวิจัยด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วภสว๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วภสว๗๐๑ : กระบวนทัศน์และทฤษฎีด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 3
วภสว๗๐๒ : ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง 3
วภสว๗๐๓ : สัมมนาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วภสว๗๐๔ : ประเด็นร่วมสมัยด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 3
วภสว๗๐๕ : ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
วภสว๗๐๖ : การปฏิบัติการวิจัยในพื้นที่ 3
วภสว๗๐๗ : การศึกษาประเด็นเฉพาะ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วภสว๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36