เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   27   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
เว็บไซต์ http://www.lc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ภาษาศาสตร์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรในระดับปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมรับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) มีประสบการณ์วิจัยด้านภาษาและภาษาศาสตร์ โดยมีผลงานเผยแพร่ในรูปแบบตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ  หรือนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติที่มีการจัดพิมพ์รายงานสืบเนื่องจากที่ประชุมทางวิชาการที่มีผู้ประเมิน (peer review proceedings) และไม่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาอย่างน้อย ๑ ผลงาน ทั้งนี้ขอให้ระบุความรับผิดชอบหลัก (น้ำหนักการมีส่วนร่วม) ด้วย
(๔) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๕) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๖) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ และ ข้อ ๔ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง 
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย 
(๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ และ ๓ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษา ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง 
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย 
(๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ และ ๓ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถานศึกษา หรือนักวิจัยด้านภาษาและภาษาศาสตร์
- นักวิชาการด้านภาษาบนฐานวัฒนธรรม
- นักวิชาการหรือนักพัฒนาในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน
- นักการศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรม
- ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีภาษาในองค์กรภาครัฐและเอกชน
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาภาษาศาสตร์ เช่น ล่าม นักแปล ครูสอนพิเศษ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วภภษ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วภภษ๕๐๒ : สัทศาสตร์และสัทวิทยา 3
วภภษ๕๐๓ : วิทยาหน่วยคำและวากยสัมพันธ์ 3
วภภษ๕๐๔ : อรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ 3
วภภษ๕๓๓ : อัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมในเอเชีย 3
วภภษ๖๐๑ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางภาษาศาสตร์ขั้นสูง 2
วภภษ๖๐๓ : สัมมนาภาษาศาสตร์และการประยุกต์ 1
วภภษ๗๐๐ : สารัตถะทางภาษาศาสตร์ขั้นสูง 3
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วภภษ๖๐๑ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางภาษาศาสตร์ขั้นสูง 2
วภภษ๖๐๓ : สัมมนาภาษาศาสตร์และการประยุกต์ 1
วภภษ๗๐๐ : สารัตถะทางภาษาศาสตร์ขั้นสูง 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วภภษ๗๑๐ : ระเบียบวิธีวิจัยทางภาษาศาสตร์ภาคสนาม 3
วภภษ๗๑๑ : ทฤษฎีและการวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์ 3
วภภษ๗๑๒ : ทฤษฎีและการวิเคราะห์ทางสัทวิทยา 3
วภภษ๗๑๓ : ทฤษฎีแบบลักษณ์ภาษา 3
วภภษ๗๑๔ : การวิเคราะห์อรรถศาสตร์ขั้นสูง 3
วภภษ๗๑๕ : สัมพันธสารวิเคราะห์ขั้นสูง 3
วภภษ๗๑๖ : ทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์ 3
วภภษ๗๑๗ : ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและเชิงประวัติขั้นสูง 3
วภภษ๗๑๘ : ความบกพร่องทางการพูดและภาษา 3
วภภษ๗๑๙ : ทฤษฎีภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสารสุขภาพ 3
วภภษ๗๒๑ : อัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมเปรียบเทียบในเอเชีย 3
วภภษ๗๒๒ : สัมมนาภาษาศาสตร์ตระกูลข้า-ไท 3
วภภษ๗๒๓ : สัมมนาภาษาศาสตร์ตระกูลอินโดยูโรเปียน 3
วภภษ๗๒๔ : สัมมนาภาษาศาสตร์ภาษาอัลไต 3
วภภษ๗๒๕ : สัมมนาภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาไทย 3
วภภษ๗๒๖ : อักษรไทขั้นสูง 3
วภภษ๗๒๗ : ภาษาศาสตร์ภาษามือและสากลลักษณ์ภาษา 3
วภภษ๗๓๑ : สัมมนาภาษาและวัฒนธรรมในสังคมพหุลักษณ์ 3
วภภษ๗๓๒ : ภาษาศาสตร์สังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3
วภภษ๗๓๓ : การสัมผัสภาษาและวัฒนธรรม 3
วภภษ๗๓๔ : แนวโน้มปัจจุบันทางการพัฒนาและการฟื้นฟูภาษา 3
วภภษ๗๓๕ : ภาวะพหุภาษา นโยบายภาษา และการวางแผนภาษา 3
วภภษ๗๓๖ : ภาษาศาสตร์สังคมกับการเรียนการสอนภาษา 3
วภภษ๗๓๗ : ภาษาศาสตร์การศึกษาเพื่อพัฒนาการรู้หนังสือในบริบทของ อาเซียนและเอเชีย 3
วภภษ๗๔๑ : การประมวลผลภาษาธรรมชาติและภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 3
วภภษ๗๔๒ : การจัดทำพจนานุกรมดิจิทัล 3
วภภษ๗๔๓ : เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและภูมิภาษาศาสตร์ 3
วภภษ๗๔๔ : การออกแบบและการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการเก็บบันทึกภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น 3
วภภษ๗๔๕ : ทฤษฎีภาษาศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ 3
วภภษ๗๔๖ : ทฤษฎีภาษาศาสตร์คลังข้อมูลและการประยุกต์ 3
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วภภษ๗๑๐ : ระเบียบวิธีวิจัยทางภาษาศาสตร์ภาคสนาม 3
วภภษ๗๑๑ : ทฤษฎีและการวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์ 3
วภภษ๗๑๒ : ทฤษฎีและการวิเคราะห์ทางสัทวิทยา 3
วภภษ๗๑๓ : ทฤษฎีแบบลักษณ์ภาษา 3
วภภษ๗๑๔ : การวิเคราะห์อรรถศาสตร์ขั้นสูง 3
วภภษ๗๑๕ : สัมพันธสารวิเคราะห์ขั้นสูง 3
วภภษ๗๑๖ : ทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์ 3
วภภษ๗๑๗ : ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและเชิงประวัติขั้นสูง 3
วภภษ๗๑๘ : ความบกพร่องทางการพูดและภาษา 3
วภภษ๗๑๙ : ทฤษฎีภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสารสุขภาพ 3
วภภษ๗๒๑ : อัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมเปรียบเทียบในเอเชีย 3
วภภษ๗๒๒ : สัมมนาภาษาศาสตร์ตระกูลข้า-ไท 3
วภภษ๗๒๓ : สัมมนาภาษาศาสตร์ตระกูลอินโดยูโรเปียน 3
วภภษ๗๒๔ : สัมมนาภาษาศาสตร์ภาษาอัลไต 3
วภภษ๗๒๕ : สัมมนาภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาไทย 3
วภภษ๗๒๖ : อักษรไทขั้นสูง 3
วภภษ๗๒๗ : ภาษาศาสตร์ภาษามือและสากลลักษณ์ภาษา 3
วภภษ๗๓๑ : สัมมนาภาษาและวัฒนธรรมในสังคมพหุลักษณ์ 3
วภภษ๗๓๒ : ภาษาศาสตร์สังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3
วภภษ๗๓๓ : การสัมผัสภาษาและวัฒนธรรม 3
วภภษ๗๓๔ : แนวโน้มปัจจุบันทางการพัฒนาและการฟื้นฟูภาษา 3
วภภษ๗๓๕ : ภาวะพหุภาษา นโยบายภาษา และการวางแผนภาษา 3
วภภษ๗๓๖ : ภาษาศาสตร์สังคมกับการเรียนการสอนภาษา 3
วภภษ๗๓๗ : ภาษาศาสตร์การศึกษาเพื่อพัฒนาการรู้หนังสือในบริบทของ อาเซียนและเอเชีย 3
วภภษ๗๔๑ : การประมวลผลภาษาธรรมชาติและภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 3
วภภษ๗๔๒ : การจัดทำพจนานุกรมดิจิทัล 3
วภภษ๗๔๓ : เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและภูมิภาษาศาสตร์ 3
วภภษ๗๔๔ : การออกแบบและการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการเก็บบันทึกภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น 3
วภภษ๗๔๕ : ทฤษฎีภาษาศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ 3
วภภษ๗๔๖ : ทฤษฎีภาษาศาสตร์คลังข้อมูลและการประยุกต์ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วภภษ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วภภษ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36