เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
เว็บไซต์ http://www.lc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ภาษาศาสตร์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาษาศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศ
และต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรระดับเกียรตินิยม
(๒) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาภาษาศาสตร์ หรือปริญญาโท สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศ
และต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐   
(๓) มีประสบการณ์วิจัยด้านภาษาศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๑ ปี มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ หรือนานาชาติ 
อย่างน้อย ๑ ผลงาน หรือ นำเสนอผลงานวิชาการเวทีระดับชาติ หรือนานาชาติ ที่มีการจัดพิมพ์เอกสารประกอบการประชุมที่มีผู้ประเมิน 
(peer review proceedings) อย่างน้อย ๑ ผลงาน 
(๔) ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้
ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาภาษาศาสตร์
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้ที่สำเร็จหลักสูตรปริญญาโท สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาศาสตร์
- นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์
- นักวิชาการหรือนักพัฒนาในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน
- ประกอบอาชีพอิสระที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาที่ศึกษา

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วภภษ๕๐๒ : สัทศาสตร์และสัทวิทยา 3
วภภษ๕๐๕ : วากยสัมพันธ์ 3
วภภษ๕๒๕ : ภาษาศาสตร์สังคม 3
วภภษ๕๓๒ : ภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
วภภษ๖๐๗ : สัมมนาวิทยาระเบียบวิธีวิจัย 3
วภภษ๖๐๘ : วิธีวิจัยภาคสนามทางภาษาศาสตร์ 3
   ผู้สำเร็จหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา
วภภษ๖๐๗ : สัมมนาวิทยาระเบียบวิธีวิจัย 3
วภภษ๖๐๘ : วิธีวิจัยภาคสนามทางภาษาศาสตร์ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วภภษ๖๑๐ : สัมมนาทางสัทวิทยาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
วภภษ๖๑๑ : สัมมนาทางอรรถศาสตร์ 3
วภภษ๖๑๓ : สัมมนาทางภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
วภภษ๖๑๕ : สัมมนาแบบลักษณ์ภาษา 3
วภภษ๖๑๖ : สัมมนาทางภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและเชิงประวัติ 3
วภภษ๖๑๗ : สัมมนาทางภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ 3
วภภษ๖๑๗ : สัมมนาทางภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ 3
วภภษ๖๑๘ : สัมมนาทางสัมพันธสารวิเคราะห์ 3
วภภษ๖๒๐ : สัมมนาความหลากหลายทางภาษาและชีววัฒนธรรม 3
วภภษ๖๒๓ : สัมมนาทางภาษาศาสตร์สังคม 3
วภภษ๖๒๖ : การวิจัยตามกำหนด 3
วภภษ๖๓๔ : สัมมนาทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ 3
วภภษ๖๔๓ : สัมมนาภาษาศาสตร์การศึกษา 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วภภษ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
วภภษ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาอื่นๆ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาอื่นๆ
วภภษ๕๐๒ : สัทศาสตร์และสัทวิทยา 3
วภภษ๕๐๕ : วากยสัมพันธ์ 3
วภภษ๕๒๕ : ภาษาศาสตร์สังคม 3
วภภษ๕๓๒ : ภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3