เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
เว็บไซต์ http://www.mb.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๒.๑  ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโทแล้วเข้าศึกษาต่อปริญญาเอก
                (๑) สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือ
                      สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
                (๒) มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
                      ในวารสารที่มีค่าดัชนีวัดคุณภาพ (impact factor)  ไม่น้อยกว่า ๑ เรื่อง 
                (๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ
                      คัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
แบบ ๒.๒ ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีแล้วเข้าศึกษาต่อปริญญาเอก
                (๑)  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทย
                      ศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยา
                      ศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน
                      คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง หรือกำลังศึกษาอยู่ในโครงการผลิตอาจารย์แพทย์
                      หรือโครงการผลิตอาจารย์ทันตแพทย์ โดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า๓.๕๐ 
                (๒)  ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ
                       คัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 14            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 10            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านชีววิทยาศาสตร์ในสถาบันการศึกษา
- นักวิจัยทางด้านชีววิทยาศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ ต่างประเทศ และบริษัทเอกชน
- นักวิชาการที่ให้คำปรึกษาด้านชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
ชมชช๕๐๑ : ชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ 3
ชมชช๕๐๒ : ชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบประยุกต์ 3
ชมชช๕๐๓ : การวิจัยทางชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ 2
ชมชช๕๑๑ : สัมมนาชีววิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุล 1
ชมชช๕๑๒ : สัมมนาชีววิทยาเชิงระบบ 1
บฑคร๕๒๑ : จริยธรรมการวิจัย 1
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
ชมชช๕๐๑ : ชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ 3
ชมชช๕๐๒ : ชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบประยุกต์ 3
ชมชช๕๑๑ : สัมมนาชีววิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุล 1
ชมชช๕๑๒ : สัมมนาชีววิทยาเชิงระบบ 1
บฑคร๕๒๑ : จริยธรรมการวิจัย 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
ชมชช๖๐๑ : ชีววิทยาเซลล์ต้นกำเนิดและการฟื้นฟูสภาวะเสื่อม 3
ชมชช๖๐๒ : ชีววิทยาระดับเซลล์และระดับโมเลกุลของธาลัสซีเมีย 2
ชมชช๖๐๓ : การวินิจฉัยและการบำบัดระดับโมเลกุล 2
ชมชช๖๐๔ : ปฎิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์และไวรัสและการสร้างภูมิคุ้มกัน 3
ชมพพ๕๐๑ : พันธุวิศวกรรมศาสตร์ 3
ชมพพ๕๐๒ : พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล 3
ชมพพ๖๐๒ : การประยุกต์คอมพิวเตอร์ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ 3
วทสร๖๓๑ : สรีรวิทยาเชิงระบบ 4
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
ชมชช๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
ชมชช๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร