เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
เว็บไซต์ http://www.mb.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ประสาทวิทยาศาสตร์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๑ ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท แล้วเข้าศึกษาต่อปริญญาเอก
(๑)  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒)  ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓)  มีผลงานวิจัยด้านประสาทวิทยาศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับ
นานาชาติและอยู่ในฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายอมรับ โดยเป็นชื่อแรก 
หรือเป็น corresponding author จำนวนอย่างน้อย ๑ ผลงาน
(๔)  ต้องมีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕)  ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร
เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒  ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แบบ ๒.๑  สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท แล้วเข้าศึกษาต่อปริญญาเอก
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประสาทวิทยาศาสตร์และสาขา
วิชาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) ต้องมีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๔) ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร
เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี แล้วเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประสาทวิทยาศาสตร์และสาขา
วิชาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมอยู่ในระดับเกียรตินิยม
(๓) ต้องมีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๔) ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร
เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
แบบ ๒
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาประสาทวิทยาศาสตร์
หมวดวิชาบังคับ 8            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอื่น ๆ
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 56            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 21            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 74            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชน และบริษัทเอกชน
- นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ในภาครัฐและเอกชน
- ที่ปรึกษาด้านประสาทวิทยาศาสตร์

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ชมปว๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
ชมปว๖๕๑ : ประสาทชีววิทยาของระบบต่อมไร้ท่อ 2
ชมปว๖๕๓ : ประสาทวิทยาศาสตร์ทางคลินิก 3
ชมปว๖๕๔ : หัวข้อที่เลือกสรรทางประสาทวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย 1
ชมปว๖๙๐ : สัมมนาทางประสาทวิทยาศาสตร์ขั้นสูง 1
ชมปว๖๙๔ : สัมมนาทางประสาทวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ 1
   - สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ
ชมปว๖๐๐ : ประสาทชีววิทยา 3
ชมปว๖๐๓ : เภสัชวิทยาของจิตประสาท 2
ชมปว๖๐๕ : ประสาทเคมี 2
ชมปว๖๕๑ : ประสาทชีววิทยาของระบบต่อมไร้ท่อ 2
ชมปว๖๕๓ : ประสาทวิทยาศาสตร์ทางคลินิก 3
ชมปว๖๕๔ : หัวข้อที่เลือกสรรทางประสาทวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย 1
ชมปว๖๙๐ : สัมมนาทางประสาทวิทยาศาสตร์ขั้นสูง 1
ชมปว๖๙๔ : สัมมนาทางประสาทวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ 1
   แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ชมปว๖๐๐ : ประสาทชีววิทยา 3
ชมปว๖๐๓ : เภสัชวิทยาของจิตประสาท 2
ชมปว๖๐๔ : เทคนิคและวิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ 3
ชมปว๖๐๕ : ประสาทเคมี 2
ชมปว๖๕๑ : ประสาทชีววิทยาของระบบต่อมไร้ท่อ 2
ชมปว๖๕๓ : ประสาทวิทยาศาสตร์ทางคลินิก 3
ชมปว๖๕๔ : หัวข้อที่เลือกสรรทางประสาทวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย 1
ชมปว๖๙๐ : สัมมนาทางประสาทวิทยาศาสตร์ขั้นสูง 1
ชมปว๖๙๔ : สัมมนาทางประสาทวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ 1
ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
ชมปว๖๕๐ : ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงพัฒนาการ 2
ชมปว๖๕๕ : พยาธิกำเนิดของโรคทางระบบประสาท 3
ชมปว๖๕๖ : ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมและการรู้คิด 3
ศรสร๖๐๓ : ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรม 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ชมปว๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
ชมปว๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48