เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   23   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เว็บไซต์ http://www.ict.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(ความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี  สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ 
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  
ในกรณีสำเร็จการศึกษาในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต 
และมีประสบการณ์การทำงานในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
๒. ได้แต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐
๓. สามารถพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษ ได้ดี และต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร 
และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักพัฒนาระบบความมั่นคง
- ผู้ดูแลระบบความมั่นคงข้อมูล
- ผู้ดูแลระบบความมั่นคงของซอฟต์แวร์
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
- ผู้ดูแลระบบความมั่นคงเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
- นักวิจัยด้านความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ
- ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ
- ผู้ตรวจสอบระบบความมั่นคง

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
ทสคม๕๑๑ : ความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์และเครือข่าย 3
ทสคม๕๑๒ : การจัดการความมั่นคงสารสนเทศ 3
ทสคม๕๑๓ : จริยธรรมและกฎหมายไซเบอร์ 2
ทสคม๕๑๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนาวิจัยความมั่นคงทางไซเบอร์ และการประกันสารสนเทศ 1
ทสคม๕๓๑ : การทำให้ระบบแข็งแกร่งและการทดสอบเจาะระบบ 3
ทสคม๕๔๑ : เทคโนโลยีและเทคนิคทางนิติดิจิตัล 3
ทสคม๕๗๑ : การประกันสารสนเทศและการจัดการความเสี่ยง 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   กลุ่มวิชาความมั่นคงไซเบอร์
ทสคม๕๑๔ : การวิเคราะห์และการตรวจจับกลฉ้อฉล 3
ทสคม๕๓๔ : วิศวกรรมผันกลับและการวิเคราะห์จุดอ่อน 3
ทสคม๕๔๓ : นิติเครือข่าย 3
ทสคม๕๔๔ : ความมั่นคงของระบบเคลื่อนที่ 3
ทสคม๕๔๕ : ความมั่นคงของระบบคลาวด์ 3
ทสคม๕๖๒ : การตรวจจับและป้องกันการบุกรุก 3
ทสคม๕๙๑ : หัวข้อพิเศษทางความมั่นคงและนิติไซเบอร์ 3
   กลุ่มวิชาการประกันสารสนเทศ
ทสคม๕๕๑ : การประยุกต์การเข้ารหัส 3
ทสคม๕๕๒ : การจัดการเทคโนโลยีการยืนยันตัวตน 3
ทสคม๕๕๓ : การออกแบบซอฟต์แวร์อย่างมั่นคง 3
ทสคม๕๗๓ : การจัดการความมั่นคงการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ 3
ทสคม๕๘๑ : การจัดการโต้ตอบเหตุการณ์ 3
ทสคม๕๙๒ : หัวข้อพิเศษทางการประกันสารสนเทศ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ทสคม๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
ทสคม๕๑๑ : ความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์และเครือข่าย 3
ทสคม๕๑๒ : การจัดการความมั่นคงสารสนเทศ 3
ทสคม๕๑๓ : จริยธรรมและกฎหมายไซเบอร์ 2
ทสคม๕๑๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนาวิจัยความมั่นคงทางไซเบอร์ และการประกันสารสนเทศ 1
ทสคม๕๓๑ : การทำให้ระบบแข็งแกร่งและการทดสอบเจาะระบบ 3
ทสคม๕๔๑ : เทคโนโลยีและเทคนิคทางนิติดิจิตัล 3
ทสคม๕๗๑ : การประกันสารสนเทศและการจัดการความเสี่ยง 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   กลุ่มวิชาความมั่นคงไซเบอร์
ทสคม๕๑๔ : การวิเคราะห์และการตรวจจับกลฉ้อฉล 3
ทสคม๕๓๔ : วิศวกรรมผันกลับและการวิเคราะห์จุดอ่อน 3
ทสคม๕๔๓ : นิติเครือข่าย 3
ทสคม๕๔๔ : ความมั่นคงของระบบเคลื่อนที่ 3
ทสคม๕๔๕ : ความมั่นคงของระบบคลาวด์ 3
ทสคม๕๖๒ : การตรวจจับและป้องกันการบุกรุก 3
ทสคม๕๙๑ : หัวข้อพิเศษทางความมั่นคงและนิติไซเบอร์ 3
   กลุ่มวิชาการประกันสารสนเทศ
ทสคม๕๕๑ : การประยุกต์การเข้ารหัส 3
ทสคม๕๕๒ : การจัดการเทคโนโลยีการยืนยันตัวตน 3
ทสคม๕๕๓ : การออกแบบซอฟต์แวร์อย่างมั่นคง 3
ทสคม๕๗๓ : การจัดการความมั่นคงการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ 3
ทสคม๕๘๑ : การจัดการโต้ตอบเหตุการณ์ 3
ทสคม๕๙๒ : หัวข้อพิเศษทางการประกันสารสนเทศ 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
ทสคม๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

อาจารย์ประจำหลักสูตร