เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เว็บไซต์ http://www.ict.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิทยาการคอมพิวเตอร์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๑.๑ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก โดยทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว	
๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 
จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 
๒. มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕ หรือเทียบเท่า
๓. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท แผนการศึกษาที่มีการทำวิทยานิพนธ์ และมีผลงานทางวิชาการซึ่งมิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา 
ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว ได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร 
คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย 

แบบ ๒.๑  สำหรับผู้ที่สำเร็จหลักสูตรปริญญาโทแล้วเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก โดยทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชา	
๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 
จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 
๒. โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐ หรือเทียบเท่า
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว ได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร 
คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

- ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาและองค์กรต่างๆ
- นักวิชาการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
- นักวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
- ผู้จัดการโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรต่างๆ
- นักวิจัยด้านวิทยาการข้อมูล

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ทสคพ๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
ทสคพ๕๓๑ : คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3
ทสคพ๕๓๒ : พื้นฐานของวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ 3
ทสคพ๖๗๑ : การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ๑ 1
ทสคพ๖๗๒ : การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ๒ 1
ทสคพ๖๗๓ : การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ๓ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   (๓) กลุ่มปัญญาประดิษฐ์
ทสคพ๖๖๐ : วิธีการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 3
ทสคพ๖๖๑ : ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง 3
ทสคพ๖๖๒ : การรู้จำรูปแบบขั้นสูง 3
ทสคพ๖๖๓ : การประมวลผลภาพและสัญญาณ 3
ทสคพ๖๖๕ : การประมวลผลภาษาธรรมชาติ 3
ทสคพ๖๖๗ : คอมพิวเตอร์วิทัศน์ขั้นสูง 3
   (๑) กลุ่มฐานข้อมูล
ทสคพ๖๒๘ : เหมืองข้อมูลและการค้นพบความรู้ 3
ทสคพ๖๒๙ : วิศวกรรมความรู้ 3
ทสคพ๖๘๒ : ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง 3
   (๒) กลุ่มเครือข่ายสื่อสารและความมั่นคง
ทสคพ๕๕๑ : การคำนวณเชิงบริการและคลาวด์ 3
ทสคพ๕๕๔ : การจัดการความมั่นคงของสารสนเทศ 3
ทสคพ๖๓๔ : การจำลองแบบแถวคอยในเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ 3
ทสคพ๖๓๘ : ความมั่นคงของระบบเครือข่ายและระบบแบบกระจาย 3
ทสคพ๖๕๓ : สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 3
ทสคพ๖๘๗ : ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 3
   (๔) กลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ทสคพ๖๔๒ : การจัดการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 3
ทสคพ๖๔๔ : การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ 3
ทสคพ๖๔๖ : วิศวกรรมความต้องการ 3
ทสคพ๖๕๑ : การออกแบบและการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยแบบจำลอง 3
ทสคพ๖๕๗ : การตรวจสอบความสมเหตุสมผลและการทวนสอบ 3
   กลุ่มวิชาเลือกอื่นๆ
ทสคพ๕๗๑ : วิธีเชิงตัวเลขสำหรับการทำให้เหมาะสมที่สุดเชิงคณิตศาสตร์ 3
ทสคพ๖๙๕ : การศึกษาอิสระ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ทสคพ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร