เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   27   กรกฎาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.vs.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์)

วิชาเอก

  • วิชาเอกเวชศาสตร์สัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน
  • วิชาเอกเวชศาสตร์การผลิต
  • วิชาเอกพยาธิวิทยา
  • จุดเด่นของหลักสูตร

    รับเฉพาะนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับ ปริญญาเอก โดยมุ่งเน้นให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในวิชาชีพการสัตวแพทย์ และเมื่อสำเร็จ การศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว บัณฑิตจะพร้อมพัฒนาต่อยอดไปเป็นสัตวแพทย์ชำนาญการได้

    คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    ๑. สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย
    ในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
    ๒.ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
    ๓. มีประสบการณ์ทางวิชาชีพสัตวแพทย์ ไม่น้อยกว่า ๒ ปี  หรือได้รับการเพิ่มพูนทักษะทางคลินิกอย่าง
    เป็นระบบ (internship)
    ๔.ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง จากสภาวิชาชีพ
    ๕.ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
    เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    แบบ ๒
    หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    หมวดวิชาแกน 8            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 74            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - สัตวแพทย์ชำนาญการ
    - ผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์
    - ที่ปรึกษาองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์

    รายวิชาในหลักสูตร

    แบบ 2

    หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
    สพคร๘๐๑ : การเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 1
    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
    บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ 3
    สพคร๘๐๐ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
    สพคร๘๐๒ : จรรยาบรรณทางสัตวแพทย์และสวัสดิภาพสัตว์ 1
    สพวค๘๐๓ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ ๑ 1
    สพวค๘๐๔ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ ๒ 1
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกเวชศาสตร์สัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน
    สพวค๘๑๐ : เวชศาสตร์สัตว์เล็ก ๑ 3
    สพวค๘๑๑ : เวชศาสตร์สัตว์เล็ก ๒ 3
    สพวค๘๑๒ : หัตถการคลินิกทางเวชศาสตร์การสัตวแพทย์ขั้นสูง 3
    สพวค๘๑๓ : ทักษะปฏิบัติทางอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์สัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน 3
       วิชาเอกเวชศาสตร์การผลิต
    สพวค๘๕๐ : การจัดการสุขภาพและผลผลิตในฝูงโคนม 3
    สพวค๘๕๑ : วิทยาการสืบพันธุ์โคนมและความไม่สมบูรณ์พันธุ์ 2
    สพวค๘๕๒ : โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้องขั้นสูง 3
    สพวค๘๕๓ : ระบาดวิทยาทางด้านเวชศาสตร์คลินิกขั้นสูง 3
    สพวค๘๕๔ : กรณีศึกษาทางเวชศาสตร์การผลิต 1
       วิชาเอกพยาธิวิทยา
    สพปส๘๖๐ : แนวคิดปัจจุบันทางพยาธิวิทยา 2
    สพปส๘๖๑ : พยาธิวิทยาเฉพาะระบบขั้นสูง 2
    สพปส๘๖๒ : พยาธิวิทยาทางคลินิกขั้นสูง 2
    สพปส๘๖๓ : จุลกายวิภาคทางสัตวแพทย์และชีววิทยาของเซลล์ 3
    สพปส๘๖๔ : พยาธิวิทยาของโรคเนื้องอกในสัตว์ขั้นสูง 2
    สพปส๘๖๕ : สัมมนาทางพยาธิวิทยา 1
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
       วิชาเอกเวชศาสตร์สัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน
    สพวค๘๑๔ : ทักษะปฏิบัติในสัตว์เล็กทางเวชศาสตร์ฉุกเฉินและการดูแลสัตว์ป่วยวิกฤต 2
    สพวค๘๑๕ : ทักษะปฏิบัติทางวิสัญญีสัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๑๖ : ทักษะปฏิบัติทางศัลยศาสตร์เนื้อเยื่ออ่อนสัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๑๗ : ทักษะปฏิบัติทางออร์โทพีดิกส์สัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๑๘ : ทักษะปฏิบัติทางอายุรศาสตร์สัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๑๙ : ทักษะปฏิบัติทางประสาทวิทยาสัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๒๐ : ทักษะปฏิบัติทางหทัยวิทยาสัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๒๑ : ทักษะปฏิบัติทางจักษุวิทยาสัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๒๒ : ทักษะปฏิบัติทางตจวิทยาสัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๒๓ : ทักษะปฏิบัติทางวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๒๔ : ทักษะปฏิบัติทางทัศนวินิจฉัยสัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๒๕ : ทักษะปฏิบัติทางวิทยาเนื้องอกสัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๒๖ : ทักษะปฏิบัติทางทันตกรรมสัตว์เล็ก 2
    สพวค๘๔๐ : เวชศาสตร์การกีฬาม้า 3
    สพวค๘๔๑ : ออร์โธปิดิกส์ของม้า 3
    สพวค๘๔๒ : ศัลยศาสตร์อาการปวดเฉียบในม้า 3
    สพวค๘๔๓ : การวินิจฉัยโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง 2
    สพวค๘๔๔ : กรณีศึกษาทางเวชศาสตร์ม้า 1
    สพวค๘๔๕ : ภาวะเจ็บหลังของม้า 2
    สพวค๘๔๖ : เวชศาสตร์ฟื้นฟูม้า 2
       วิชาเอกเวชศาสตร์การผลิต
    สพวค๘๕๕ : การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงทางการสืบพันธุ์โคนม 2
    สพวค๘๕๖ : เทคโนโลยีชีวภาพตัวอ่อนในโคนม 2
    สพวค๘๕๗ : วิทยาภูมิคุ้มกันทางคลินิกในโคนม 1
    สพวค๘๕๘ : วิทยาต่อมไร้ท่อทางการสืบพันธุ์ในโคนม 1
    สพวค๘๕๙ : ภูมิคุ้มกันวิทยาทางการสืบพันธุ์และพยาธิวิทยาระบบสืบพันธุ์ในโคนม 1
       วิชาเอกพยาธิวิทยา
    สพปส๘๖๖ : พยาธิวิทยาของโรคสัตว์ปีก 1
    สพปส๘๖๗ : พยาธิวิทยาของสัตว์ทดลอง 1
    สพปส๘๖๘ : พยาธิวิทยาของสัตว์น้ำ 1
    สพปส๘๖๙ : แนวคิดทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 1
    สพปส๘๗๐ : ภูมิคุ้มกันวิทยาขั้นสูง 1
    สพปส๘๗๑ : พยาธิวิทยาระดับอิเล็กตรอน 1
    สพปส๘๗๒ : พยาธิวิทยาของสัตว์แปลก สัตว์ป่า และสัตว์สวนสัตว์ 1
    สพปส๘๗๓ : พยาธิวิทยาของปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภค 1
    สพปส๘๗๔ : พยาธิวิทยาของโรคสัตว์สู่คน 1
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
    สพคร๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

    อาจารย์ประจำหลักสูตร