เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
เว็บไซต์ https://www.music.mahidol.ac.th/th/

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ดนตรี)

วิชาเอก

  • วิชาเอกดนตรีวิทยา
  • วิชาเอกดนตรีศึกษา
  • วิชาเอกธุรกิจดนตรี
  • วิชาเอกดนตรีบำบัด
  • คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    ๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีดุริยางคศาสตรบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ศิลปศาสตรบัณฑิต และครุศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า 
    ในสาขาวิชาดนตรี หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่
    สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕
    ๒. กรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาอื่นที่ไม่ใช่สาขาวิชาดนตรี ต้องมีประสบการณ์หรือทำหน้าที่เกี่ยวข้องด้านดนตรี 
    เป็นเวลาอย่างน้อย ๓ ปี และผ่านความเห็นชอบจากประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    ๓. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
    ๔. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา 
    ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    แผน ข วิชาเอกธุรกิจดนตรี
    หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    หมวดวิชาแกน 8            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 14            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 10            หน่วยกิต
    สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 38            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - ผู้เชี่ยวชาญและผู้สอนทางดนตรีในสถาบันการศึกษาในระดับการศึกษาพื้นฐาน ถึงระดับปริญญาตรีทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
    - นักวิจัยดนตรีในสถาบันต่าง ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรมศิลปากร
    - นักวิชาการดนตรีบำบัด นักวิชาการดนตรี และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง
    - ผู้ประกอบกิจการด้านดนตรีที่ปรึกษาธุรกิจดนตรี อุตสาหกรรมดนตรี

    รายวิชาในหลักสูตร

    แผน ข

    หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
       วิชาปรับพื้นฐานสำหรับวิชาเอกธุรกิจดนตรี
    ดศธด๕๐๑ : กรอบความคิดทางธุรกิจดนตรี 2
    ดศธด๕๐๒ : สุนทรียศาสตร์ในการฟังดนตรี 2
    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
    ดศดน๕๐๑ : ระเบียบวิธีวิจัยดนตรี 2
    ดศดน๕๐๒ : สัมมนาวิจัยดนตรี ๑ 2
    ดศดน๕๐๓ : สัมมนาวิจัยดนตรี ๒ 2
    ดศดน๕๐๔ : สัมมนาดนตรี 2
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกธุรกิจดนตรี
    ดศธด๕๐๓ : การบริหารการเงินและการหาแหล่งทุนทางธุรกิจดนตรี 2
    ดศธด๕๐๔ : การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในธุรกิจดนตรี 2
    ดศธด๕๐๕ : การสร้างมูลค่าในธุรกิจดนตรี 2
    ดศธด๕๐๗ : นโยบายธุรกิจและการจัดการเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจดนตรี 2
    ดศธด๕๐๘ : นวัตกรรมและเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดนตรี 2
    ดศธด๕๑๗ : ภาวะผู้นำและจริยธรรมในธุรกิจดนตรี 2
    ดศธด๕๑๘ : กลยุทธ์การตลาดดนตรี 2
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
    ดศดน๕๐๗ : การศึกษาด้วยตนเอง ๑ 2
    ดศดน๕๐๘ : การศึกษาด้วยตนเอง ๒ 2
    ดศดน๕๙๔ : หัวข้อศึกษาเฉพาะด้านดนตรี ๑ 2
    ดศดน๕๙๕ : หัวข้อศึกษาเฉพาะด้านดนตรี ๒ 2
    ดศดบ๕๑๐ : ดนตรีบำบัดในการฟื้นฟูสุขภาพ 2
    ดศดบ๕๑๑ : ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยเด็ก 2
    ดศดบ๕๑๓ : ดนตรีบำบัดในกลุ่มจิตเวช 2
    ดศดบ๕๑๔ : ดนตรีบำบัดเพื่อพัฒนาระบบประสาท 2
    ดศดบ๕๑๕ : ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายและผู้ที่สูญเสีย 2
    ดศดบ๕๑๖ : การวิจัยทางคลินิกในสาขาดนตรีบำบัด 2
    ดศดบ๕๑๗ : การปรึกษาสำหรับนักดนตรีบำบัด 2
    ดศดว๕๑๐ : สำนักดนตรีไทย 2
    ดศดว๕๑๑ : ดนตรีในยุคโบราณ 2
    ดศดว๕๑๒ : ดนตรีในช่วงคอมมอนแพร็คทิส 2
    ดศดว๕๑๓ : ดนตรีในยุคศตวรรษที่ ๒๐ และ ๒๑ 2
    ดศดว๕๑๔ : บทวิจารณ์และประวัติศาสตร์ดนตรี 2
    ดศดว๕๑๖ : ดนตรีไทยร่วมสมัย 2
    ดศดว๕๑๗ : สัมมนาดนตรีพื้นบ้านไทย 2
    ดศดว๕๑๘ : ประวัติอุปรากรตะวันตก 2
    ดศดว๕๑๙ : สัมมนาดนตรีนานาชาติ 2
    ดศดว๕๒๐ : สัมมนาดนตรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2
    ดศดว๕๒๓ : ดนตรีไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2
    ดศดษ๕๐๘ : ดนตรีระดับมัธยมศึกษา 2
    ดศดษ๕๐๙ : สัมมนาการสอนดนตรีรวมวงตะวันตก 2
    ดศดษ๕๑๐ : สัมมนาการสอนดนตรีไทย 2
    ดศดษ๕๑๑ : ดนตรีศึกษาสำหรับเด็กพิศษ 2
    ดศดษ๕๑๒ : การปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาดนตรีในสถานศึกษา 2
    ดศดษ๕๑๓ : สัมมนาการสอนดนตรีตามแนวซูซูกิ 2
    ดศดษ๕๑๔ : สัมมนาการสอนดนตรีตามแนวโคดาย 2
    ดศดษ๕๑๖ : สัมมนาการสอนดนตรีตามแนวดาลโครซ 2
    ดศดษ๕๑๗ : นวัตกรรมการสอนดนตรีสำหรับเด็กเล็ก 2
    ดศดษ๕๑๘ : การบริหารและการนิเทศทางดนตรีศึกษา 2
    ดศดษ๕๑๙ : ดนตรีในระดับประถมศึกษา 2
    ดศดษ๕๒๐ : การพัฒนาดนตรีสู่ชุมชน 2
    ดศดษ๕๒๑ : ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้และการจัดชั้นเรียนดนตรี 2
    ดศธด๕๑๐ : การผลิตสื่อทางดนตรี 2
    ดศธด๕๑๑ : กลยุทธ์การจัดการศิลปิน 2
    ดศธด๕๑๒ : กลยุทธ์ธุรกิจดนตรีระดับสากล 2
    ดศธด๕๑๓ : การเจรจาต่อรองและการสื่อสารในธุรกิจดนตรี 2
    ดศธด๕๑๔ : การขายสินค้าดนตรี 2
    ดศธด๕๑๕ : การจัดการแสดงดนตรี 2
    ดศธด๕๑๖ : ระบบสารสนเทศขั้นสูงเพื่อการจัดการธุรกิจดนตรี 2
    ดศธด๕๑๙ : การเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดนตรี 2
    ดศศท๕๐๑ : ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาการดนตรี 2
    ดษดษ๕๑๕ : สัมมนาการสอนดนตรีตามแนวออร์ฟ 2
    สารนิพนธ์ หน่วยกิต
    ดศดน๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

    อาจารย์ประจำหลักสูตร