เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพุธที่   24   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
เว็บไซต์ http://www.music.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ดนตรี)

วิชาเอก

  • วิชาเอกดนตรีวิทยา
  • วิชาเอกดนตรีศึกษา
  • วิชาเอกธุรกิจดนตรี
  • วิชาเอกดนตรีบำบัด
  • คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    แบบ ๑.๑ : ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว          
    (๑) สำเร็จการศึกษา หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
    (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
    (๓) ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่มีการทำผลงานวิทยานิพนธ์ในสาขาวิชาเอกดนตรีนั้นๆ
    (๔)ผู้สมัครต้องมีผลงานบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ในสาขาดนตรีหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยผลงานวิจัยและบทความวิชาการต้องไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษา และผลงานวิจัยต้องเป็นผู้ดำเนินการหลัก โดยมีผลงานการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ (TCI กลุ่มที่ ๑ หรือกลุ่มที่ ๒) หรือวารสารในระดับนานาชาติ อย่างน้อย ๑ เรื่อง
    (๕) ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานในสาขาด้านดนตรี ในสาขาที่จบหรือที่กำลังจะเข้าศึกษา หลังจบปริญญาโท ๒ ปี  
    (๖)มีคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล 
    (๗) ผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    (๘) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ (๒) ข้อ (๕) ข้อ (๖) และข้อ (๗) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    
    แบบ ๒.๑ : ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์
    (๑) สำเร็จการศึกษา หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวง
    การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง 
    (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
    (๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล 
    (๔) ผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    (๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ(๒) ถึงข้อ(๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
    หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
    แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
    หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    หมวดวิชาแกน 4            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 2            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

    ผู้ที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพได้ตามวิชาเอกของตน ได้แก่
    
    - นักวิจัยดนตรีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ในองค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน นักวิจารณ์ดนตรี นักเขียนคอลัมนิสต์ทางดนตรี นักวิเคราะห์ดนตรีและอาชีพที่เกี่ยวข้องกับนักวิชาการดนตรี ในสถาบันต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน
    - ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้ความรู้ นักวิชาการดนตรี ที่ปรึกษาหรือบุคคลากรทางการศึกษาด้านดนตรี ของสถาบันการศึกษาทุกระดับ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
    - ผู้ประกอบกิจการธุรกิจการศึกษาดนตรี ที่ปรึกษาด้านดนตรีของสถาบันการศึกษาทุกระดับ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
    - อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี

    รายวิชาในหลักสูตร

    แบบ 1

    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
       สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
    ดศดน๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

    แบบ 2

    หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
       สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
    ดศดว๖๔๘ : แนวคิดหลักทางประวัติศาสตร์ดนตรี 1
    ดศทพ๖๓๕ : แนวคิดหลักทางทฤษฎีดนตรี 1
    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
    ดศดน๗๒๖ : ระเบียบวิธีวิจัยดนตรีในระดับดุษฎีบัณฑิต 2
    ดศดว๖๕๓ : สัมมนาสภาวการณ์ทางดนตรีวิทยาและดนตรีศึกษา 2
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกดนตรีวิทยา
    ดศดว๖๕๒ : สารัตถะทางดนตรีวิทยา 2
    ดศดว๖๕๕ : สัมมนาดนตรีวิทยาในระดับดุษฎีบัณฑิต 2
    ดศดว๖๕๖ : สัมมนาวัฒนธรรมดนตรีนานาชาติ 2
       วิชาเอกดนตรีศึกษา
    ดศดษ๖๒๖ : หลักการบริหารการดนตรีในสถาบันการศึกษา 2
    ดศดษ๖๓๗ : ทัศนะและประเด็นร่วมสมัยทางดนตรีศึกษา 2
    ดศดษ๖๔๓ : สัมมนาการสอนดนตรีศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต 2
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
    ดศดน๗๐๑ : ระเบียบวิธีวิจัยดนตรีเชิงปริมาณ 2
    ดศดน๗๐๒ : ระเบียบวิธีวิจัยดนตรีเชิงคุณภาพและแบบผสม 2
    ดศดว๖๒๔ : การสอนดนตรีวิทยา 2
    ดศดว๖๓๐ : สัมมนาทางดนตรีกับสังคม 2
    ดศดว๖๔๕ : หลักการเขียนงานวิจัยทางดนตรี 2
    ดศดว๖๕๐ : เทคโนโลยีเพื่องานวิจัยดนตรีขั้นสูง 2
    ดศดว๖๕๑ : การจัดการวัฒนธรรมการดนตรี 2
    ดศดว๖๕๔ : สัมมนางานวิจัยทางดนตรี 2
    ดศดษ๖๑๑ : ดนตรีศึกษาสำหรับความต้องการพิเศษ 2
    ดศดษ๖๒๔ : สัมมนาทางดนตรีศึกษาเปรียบเทียบ 2
    ดศดษ๖๓๐ : สัมมนาครูดนตรีศึกษา 2
    ดศดษ๖๓๑ : สัมมนาทางดนตรีศึกษาอาเซียน 2
    ดศดษ๖๓๙ : ดนตรีศึกษาทางพหุวัฒนธรรม 2
    ดศดษ๖๔๐ : ดนตรีศึกษาสำหรับผู้สูงวัย 2
    ดศดษ๖๔๒ : การปฏิบัติงานทางดนตรีศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต 2
    ดศดษ๖๔๔ : การสอนรวมวงดนตรีตะวันตก 2
    ดศทพ๖๒๕ : สัมมนาประวัติทฤษฎีดนตรี 2
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
    ดศดน๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36