เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน วิทยาลัยศาสนศึกษา
เว็บไซต์ http://www.crs.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนศึกษา)

วิชาเอก

  • วิชาเอกศาสนศึกษา
  • วิชาเอกพุทธศาสนาและสังคม
  • วิชาเอกพุทธศาสนาและอิสลาม
  • จุดเด่นของหลักสูตร


    - หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านศาสนศึกษาที่เน้น องค์ความรู้เนื้อหาสาระ ทฤษฎี ปรัชญา คำสอนของศาสนาต่างๆ ทั้งในรูปแบบการปฎิบัติที่มีศัทธาเป็น พื้นฐานและในรูปแบบทาง "วิทยาศาสตร์" ที่เป็นปรนัยวิสัย
    - หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติ และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน โดยคณาจารย์ไทย และเชียวชาญชาวต่างชาติ
    - เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกศึกษา และวิจัยในสาขาวิชาเอก ใน 2 วิชาเอก คือ Religious Studies และ Buddhism and Society
    - วิทยาลัยศาสนศึกษาเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าด้านพุทธศาสนา (หนังสือและงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา) และงานวิจัยของหลักสูตรเป็นประเด็นทางด้านศาสนาและเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่มีการวิจัยมาก่อน
    - คณาจารย์ของหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญชาวต่าง ประเทศที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก มีความรู้ ความสามารถ มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการเกี่ยวกับ ศาสนศึกษาและมีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
    - หลักสูตรที่ปรับปรุงฉบับนี้ได้ปรับระยะเวลาการเรียนการสอน จาก 2 ปี เป็น 1 ปี 6 เดือน ทำให้นักศึกษา สามารถสำเร็จการศึกษาภายในกำหนดเวลา
    - หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรใหม่ที่เปิดสอนในปี 2552 และมีผู้สำเร็จการศึกษาสาามารถต่อยอดการศึกษา ในระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศสหรัฐอเมริกา
    - นักศึกษาของหลักสูตรเป็นฑราวาส และพระภิกษุชาวไทยและชาวต่างชาติทำให้นักศึกษาได้มีโอกาส แลกเปลี่ยน ความรู้ ทัศนคติ ความต่างและความเหมือนของขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม
    - มีการจัดสรรทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่เป็นพระภิกษุและสามเณร ตลอดจนอาหารพร้อมที่พักอาศัย ทั้งพระสงฑ์ชาวไทยและต่างชาติ ตลอดระยะเวลาการศึกษาเล่าเรียนในหลักสูตร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
    - หลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์จริง ด้านศาสนศึกษาจากการศึกษา ดูงานนอกสถานที่
    - สถานที่ตั้ง อาคารเรียน บริเวณ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม สงบเงียบ สวนต้นไม้ร่มรื่น ภฺมิทัศน์สวยงาม เหมาะสมกับเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน และผ่อนคลายของนักศึกษา

    คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    ๑. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาสังคมศาสตร์  วิทยาศาสตร์  มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ 
    จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
    ๒.ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
    ๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
    เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    แผน ก แบบ ก๒
    หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 3            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - นักวิชาการ ด้านศาสนา คุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรม
    - พระอาจารย์ พระธรรมฑูต
    - วิทยากร ด้านศาสนา คุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรม

    รายวิชาในหลักสูตร

    แผน ก แบบ ก2

    หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
    ศศศศ๕๕๒ : แนวความคิดหลักในศาสนศึกษา 3
    ศศศศ๕๕๓ : พื้นฐานแห่งศาสนศึกษา ประวัติศาสตร์และทฤษฏี 3
    ศศศศ๕๕๔ : วิธีวิจัยในศาสนศึกษา 3
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกศาสนศึกษา
    ศศศศ๕๕๕ : ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของศาสนา 3
       วิชาเอกพุทธศาสนาและสังคม
    ศศศศ๕๖๔ : คำแนะนำในการศึกษาพระพุทธศาสนาเชิงวิชาการ ประวัติศาสตร์และหลักการ 3
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
       วิชาเอกศาสนศึกษา
    ศศศศ๕๕๖ : ศาสนา อำนาจ และการเมือง 3
    ศศศศ๕๕๗ : ศาสนจริยศาสตร์ของสงครามและสันติภาพ 3
    ศศศศ๕๕๘ : ศาสนาและการรักษาเยียวยา 3
    ศศศศ๕๕๙ : ศาสนาและวิทยาศาสตร์การรู้คิด 3
    ศศศศ๕๖๐ : ศาสนาและวิทยาศาสตร์ 3
    ศศศศ๕๖๑ : ศาสนาเทวนิยม ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู 3
    ศศศศ๕๖๒ : สตรีในศาสนประเพณี 3
    ศศศศ๕๖๓ : การศึกษาอิสระในศาสนศึกษา 3
       วิชาเอกพุทธศาสนาและสังคม
    ศศศศ๕๖๕ : ประเด็นในสังคมพุทธร่วมสมัย 3
    ศศศศ๕๖๖ : วัดพุทธและสังคมเถรวาท 3
    ศศศศ๕๖๗ : การนำเสนอทัศนศิลป์ของพุทธศาสนา 3
    ศศศศ๕๖๘ : พุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์ 3
    ศศศศ๕๖๙ : พุทธศาสนาในเอเชียตะวันออก 3
    ศศศศ๕๗๐ : พุทธศาสนาในประเทศตะวันตก 3
    ศศศศ๕๗๑ : พุทธศาสนาในประเทศไทย 3
    ศศศศ๕๗๒ : การศึกษาอิสระในพุทธศาสนาและสังคม 3
       วิชาเอกพุทธศาสนาและอิสลาม
    ศศศศ๕๗๔ : พุทธ-อิสลาม ความสัมพันธ์ในอดีตและปัจจุบัน 3
    ศศศศ๕๗๕ : ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ศึกษาเชิงเปรียบเทียบ 3
    ศศศศ๕๗๖ : การประชุมเชิงปฏิบัติการในประเด็นความสัมพันธ์พุทธ-มุสลิมร่วมสมัย 3
    ศศศศ๕๗๗ : การแบ่งแยกนิกายและความเคลื่อนไหวในการปฏิรูปศาสนาในศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม 3
    ศศศศ๕๗๘ : การศึกษาอิสระในพุทธศาสนาและมุสลิม 3
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
    ศศศศ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกพุทธศาสนาและอิสลาม
    ศศศศ๕๗๓ : ความเคลื่อนไหวของการเผชิญหน้าระหว่างศาสนา 3