เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน วิทยาลัยศาสนศึกษา
เว็บไซต์ http://www.crs.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ศาสนศึกษา)

วิชาเอก

  • วิชาเอกพุทธศาสตร์ศึกษา
  • วิชาเอกศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • จุดเด่นของหลักสูตร


    - หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านศาสนศึกษาที่เน้น องค์ความรู้ เนื้อหาสาระ ทฤษฎี ปรัชญา คำสอนของศาสนาต่างๆ ทั้งในรูปแบบการปฎิบัติที่มีศรัทธาเป็น พื้นฐานและในรูปแบบทาง "วิทยาศาสตร์" ที่เป็นปรนัยวิสัย
    - หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน โดยคณะจารย์ไทย และผู้เชียวชาญชาวต่างประเทศ
    - เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกศึกษาและวิจัยในสาขาวิชาเอก 4 สาขาวิชาเอก คือ พุทธศาสตร์ศึกษา (Buddhist Studies), ศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Religion in Southeast Asia) ศาสนาและวิทยาศาสตร์ (Religion and Science) และศาสนาและจิตวิทยา (Religion and Psychology)
    - วิทยาลัยศาสนศึกษาเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าด้านพุทธศาสนา (หนังสือและงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา) และงานวิจัยของหลักสูตรเป็นประเด็นทางด้านศาสนาศึกษาและเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่มีการวิจัยมาก่อน
    - คณาจารย์ของหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์และผู้เชียวชาญชาวต่าง ประเทศทีมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก มีความรู้ ความสามารถ มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการเกี่ยวกับศาสนศึกษา และมีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับในรดับชาติและนานาชาติ
    - นักศึกษาของหลักสูตรเป็นฆราวาสและพระภิกษุชาวไทยและชาวต่างชาติ ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาส แลกเปลี่ยน ความรู้ ทัศนคติ ความแตกต่างและความเหมือนของขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม
    - มีการจัดสรรทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่เป็นพระภิกษุและสามเณร ตลอดจนอาหารพร้อมที่พักอาศัย ทั้งพระสงฑ์ชาวไทยและต่างชาติ ตลอดระยะเวลาการศึกษาเล่าเรียนในหลักสูตร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
    - หลักสูตรเปิดโอกาสให้นักษาได้รับความรู้และประสบการณ์จริง ด้านศาสนศึกษาจากการศึกษาดูงาน นอกสถานที่
    - สถานที่ตั้ง อาคารเรียน บริเวณ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม สงบเงียบ สวนต้นไม้ร่มรื่น ภูมิทัศน์สวยงาม เหมาะสมกับเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนและผ่อนคลายของนักศึกษา

    คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    แบบ ๑ (การวิจัยอย่างเดียว)
    (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโทสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แต้มคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
    จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
    (๒) มีผลงานวิจัยอย่างน้อย ๑ เรื่อง ในสาขาศาสนศึกษาหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องในวารสารที่ได้รับการ
    ประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
    (๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
    ศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    
    แบบ ๒ (ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่กำหนดและการวิจัย)
    (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจาก
    สถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรองหรือ
    (๒) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง  จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน
    คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
    (๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
    เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    แบบ ๑
    วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
    แบบ ๒
    แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
    หมวดวิชาแกน 3            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ (ตามวิชาเอก) 6            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 54            หน่วยกิต
    แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
    หมวดวิชาแกน 12            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ (ตามวิชาเอก) 6            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 78            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - นักวิชาการ ด้านศาสนา คุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรม
    - พระอาจารย์ พระธรรมฑูต
    - ผู้เชี่ยวชาญในสถาบันอุดมศึกษาในรายวิชาของหลักสูตรด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม
    - วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ด้านศาสนา คุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรม
    - นักวิจัย

    รายวิชาในหลักสูตร

    แบบ 1

    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
    ศศศศ๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

    แบบ 2

    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
       สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
    ศศศศ๕๕๒ : แนวความคิดหลักในศาสนศึกษา 3
    ศศศศ๕๕๓ : พื้นฐานแห่งศาสนศึกษา ประวัติศาสตร์และทฤษฏี 3
    ศศศศ๕๕๔ : วิธีวิจัยในศาสนศึกษา 3
    ศศศศ๖๔๕ : แนวทางร่วมสมัยเพื่อการศึกษาศาสนา 3
       สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
    ศศศศ๖๔๕ : แนวทางร่วมสมัยเพื่อการศึกษาศาสนา 3
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกพุทธศาสตร์ศึกษา
    ศศศศ๖๔๖ : พุทธศาสนาอินเดีย 3
    ศศศศ๖๔๗ : มานุษยวิทยาของพุทธศาสนาเถรวาท 3
       วิชาเอกศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ศศศศ๖๕๗ : การคงอยู่ของพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    ศศศศ๖๕๘ : การคงอยู่ของศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
       วิชาเอกพุทธศาสตร์ศึกษา
    ศศศศ๖๔๘ : พุทธปรัชญา 3
    ศศศศ๖๔๙ : ทฤษฎีและการปฏิบัติสมาธิแบบศาสนาพุทธ 3
    ศศศศ๖๕๐ : จริยศาสตร์พุทธศาสนา 3
    ศศศศ๖๕๑ : การสอนพุทธศาสนานิกายเถรวาท 3
    ศศศศ๖๕๒ : ศาสนาพุทธ อำนาจ และการเมือง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    ศศศศ๖๕๓ : สองทัศนะแห่งจิต พุทธศาสนาและวิทยาการปัญญา 3
    ศศศศ๖๕๔ : พุทธศาสนาญี่ปุ่น 3
    ศศศศ๖๕๕ : การศึกษาอิสระในพุทธศาสตร์ศึกษา 3
    ศศศศ๖๕๖ : ภาษาบาลีเพื่อการปฏิบัติการ 3
       วิชาเอกศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ศศศศ๖๕๙ : ศาสนา การเมือง และอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    ศศศศ๖๖๐ : ความเชื่อจิตวิญญาณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    ศศศศ๖๖๑ : การพัฒนาร่วมสมัยในความสัมพันธ์พุทธศาสนา-อิสลาม 3
    ศศศศ๖๖๒ : ความเคลื่อนไหวศาสนาใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    ศศศศ๖๖๓ : ศาสนาแบบชนเผ่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    ศศศศ๖๖๔ : ประวัติศาสตร์ศาสนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    ศศศศ๖๖๕ : การศึกษาอิสระในศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
    ศศศศ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
    ศศศศ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48