ผู้สนใจเข้าศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระดับ | ปริญญาเอก |
คณะ/สถาบัน | คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://itm.eg.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรฯ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มความเชี่ยวชาญ ทักษะการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหาร สามารถกำหนดทิศทางและรูปแบบมาตรฐานการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความ
โปร่งใส นำพาประเทศให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาใน แผน ๑.๑ (โทต่อเอก) ๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในทุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ๒) มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือเทียบเท่า ๓) มีผลงานทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการจัดการ ด้านเศรษฐศาสตร์ สถิติ หรือผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย ๑ เรื่อง ๔) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๕) คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ๖) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ตามข้อ ๒) ข้อ ๕) และ ข้อ ๖) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ๒ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาใน แผน ๒.๑ (โทต่อเอก) ๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในทุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ๒) มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือเทียบเท่า ๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๔) คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ตามข้อ ๒) ข้อ ๔ และข้อ ๕) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ๓ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาใน แผน ๒.๒ (ตรีต่อเอก) ๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในทุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ๒) มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือเทียบเท่า ๓) มีผลงานทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สถิติ หรือผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย ๑ เรื่อง ๔) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๕) คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ๖) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ตามข้อ ๒) ข้อ ๕) และ ข้อ ๖) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แผน 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
หมวดวิชาบังคับ | 9 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แผน 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี | |||
หมวดวิชาบังคับ | 15 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 72 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
๑) ผู้บริหารองค์กรทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒) ผู้จัดการระบบสารสนเทศขององค์กร ๓) ที่ปรึกษาระบบสารสนเทศ ๔) ผู้กำกับดูแลธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร ๕) ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ๖) นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ๗) ประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ๘) ผู้ประกอบการหรือบริษัทสตาร์ตอัพด้านการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศ ๙) นักวิจัยและพัฒนาขั้นสูงทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศตามองค์กรหรือสถาบันของรัฐและเอกชน ๑๐) นักเขียนโปรแกรมหรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ๑๑) นักพัฒนาระบบเครือข่าย ระบบฐานข้อมูล ๑๒) ผู้จัดการด้านความยั่งยืน
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 1
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
วศกส๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 48 |
แบบ 2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
วศกส๖๑๓ : มาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศสำหรับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3 | ||
วศกส๖๑๔ : การจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3 | ||
วศกส๖๑๗ : เทคนิควิจัยชั้นสูงและสัมมนาทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3 | ||
วศกส๖๑๘ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างยั่งยืน | 3 | ||
วศกส๖๑๙ : สถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อความยั่งยืน | 3 | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
วศกส๖๑๗ : เทคนิควิจัยชั้นสูงและสัมมนาทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3 | ||
วศกส๖๑๘ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างยั่งยืน | 3 | ||
วศกส๖๑๙ : สถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อความยั่งยืน | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
วศกส๖๓๒ : เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล | 3 | ||
วศกส๖๓๕ : การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านกลยุทธ์สำหรับธุรกิจดิจิทัล | 3 | ||
วศกส๖๓๖ : กลยุทธ์ทางธุรกิจสำหรับการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ | 3 | ||
วศกส๖๓๘ : เรื่องคัดเฉพาะทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3 | ||
วศกส๖๓๙ : ปัญญาประดิษฐ์สำหรับยุคดิจิทัล | 3 | ||
วศกส๖๔๒ : นวัตกรรมแบบพลิกโฉม | 3 | ||
วศกส๖๔๔ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศควอนตัม | 3 | ||
วศกส๖๔๕ : วิทยาการข้อมูลสำหรับธุรกิจขั้นสูง | 3 | ||
วศกส๖๕๐ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการดูแลสุขภาพ | 3 | ||
วศกส๖๕๕ : เรื่องคัดเฉพาะทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพ | 3 | ||
วศกส๖๖๐ : อีเอสจี บีซีจี และภูมิรัฐศาสตร์ | 3 | ||
วศกส๖๖๑ : การจัดการพลังงานและก๊าซเรือนกระจกขององค์กรในยุคดิจิทัล | 3 | ||
วศกส๖๖๒ : เรื่องคัดเฉพาะทางการจัดการเพื่อความยั่งยืน | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
วศกส๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 48 | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
วศกส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 36 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ อดิศร ลีลาสันติธรรม (ประธานหลักสูตร)
- อาจารย์ ปรัชญ์ สง่างาม
- อาจารย์ สมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา
- รองศาสตราจารย์ วรรณสิริ พันธ์อุไร
- รองศาสตราจารย์ ชาคริต สุวรรณจำรัส
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ
- อาจารย์ โรจลักษณ์ จักรไพวงศ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปานนท์ ลาชโรจน์
- รองศาสตราจารย์ อรภัค เรี่ยมทอง
- รองศาสตราจารย์ สุภาภรณ์ เกียรติสิน
- รองศาสตราจารย์ ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี
- อาจารย์ ธีรยา มะยะกูล
- รองศาสตราจารย์ อัศม์เดช วานิชชินชัย
- รองศาสตราจารย์ ตระการ ประภัสพงษา
- ศาสตราจารย์ ไพศาล มุณีสว่าง
- ศาสตราจารย์ สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรภพ นัยเนตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยอด สุขะมงคล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ สมานชื่น
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นริศ หนูหอม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรทิพย์ แก่งอินทร์