เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์
เว็บไซต์ http://itm.eg.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)

จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรฯ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มความเชี่ยวชาญ ทักษะการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ ผู้บริหาร สามารถกำหนดทิศทางและรูปแบบมาตรฐานการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความ โปร่งใส นำพาประเทศให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาใน แบบ ๑.๑
๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในทุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 
๒) มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือเทียบเท่า 
๓) มีพื้นความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการจัดการ ด้านเศรษฐศาสตร์ สถิติหรือเคยลงทะเบียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ สถิติ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต หรือมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า ๓ ปี
๔) มีผลงานทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการจัดการ ด้านเศรษฐศาสตร์ สถิติ หรือผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง หรือตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ทั้งภายในประเทศหรือต่างประเทศ อย่างน้อย ๑ ชิ้น 
๕) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย 
๖) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ตามข้อ ๒) - ข้อ ๕ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาใน แบบ ๒.๑
๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในทุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 
๒) มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือเทียบเท่า
๓) มีพื้นความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการจัดการ ด้านเศรษฐศาสตร์ สถิติหรือเคยลงทะเบียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ สถิติ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต หรือมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า ๓ ปี
๔) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย 
๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ตามข้อ ๒) - ข้อ ๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาใน แบบ ๒.๒
๑)  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในทุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒)  มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือเทียบเท่า 
๓)  มีมีพื้นความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการจัดการ ด้านเศรษฐศาสตร์ สถิติหรือเคยลงทะเบียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ สถิติ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต หรือมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า ๓ ปี
๔) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย 
๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ตามข้อ ๒) - ข้อ ๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้บริหารองค์กรทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผู้จัดการระบบสารสนเทศขององค์กร
- ที่ปรึกษาระบบสารสนเทศ
- ผู้กำกับดูแลธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
- ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ
- ประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผู้ประกอบการหรือบริษัทสตาร์ตอัพด้านการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นักวิจัยและพัฒนาขั้นสูงทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศตามองค์กรหรือสถาบันของรัฐ และเอกชน
- นักเขียนโปรแกรมหรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
- นักพัฒนาระบบเครือข่าย ระบบฐานข้อมูล

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วศกส๖๐๐ : สถิติสำหรับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูง 3
วศกส๖๐๑ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วศกส๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วศกส๖๐๐ : สถิติสำหรับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูง 3
วศกส๖๐๑ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วศกส๖๑๒ : สัมมนาและวิธีวิจัยทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 3
วศกส๖๑๓ : มาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศสำหรับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 3
วศกส๖๑๔ : การจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ 3
วศกส๖๑๕ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูง 3
วศกส๖๑๖ : สถาปัตยกรรมองค์กรขั้นสูง 3
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วศกส๖๑๒ : สัมมนาและวิธีวิจัยทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 3
วศกส๖๑๕ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูง 3
วศกส๖๑๖ : สถาปัตยกรรมองค์กรขั้นสูง 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วศกส๖๓๐ : ธรรมาภิบาล ความเสี่ยงและการปฎิบัติตามเกณฑ์ 3
วศกส๖๓๑ : การควบคุมภายใน 3
วศกส๖๓๒ : เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล 3
วศกส๖๓๔ : กฎหมายธนาคารและการเงิน 3
วศกส๖๓๕ : การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านกลยุทธ์สำหรับธุรกิจดิจิทัล 3
วศกส๖๓๖ : กลยุทธ์ทางธุรกิจสำหรับการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ 3
วศกส๖๓๘ : เรื่องคัดเฉพาะทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 3
วศกส๖๓๙ : ปัญญาประดิษฐ์สำหรับยุคดิจิทัล 3
วศกส๖๔๐ : เทคโนโลยีการเงินขั้นสูง 3
วศกส๖๔๑ : การประมวลผลแบบควอนตัม 3
วศกส๖๔๒ : นวัตกรรมแบบพลิกโฉม 3
วศกส๖๔๓ : วิทยาการข้อมูลสำหรับธุรกิจและเศรษฐกิจ 3
วศกส๖๕๐ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการดูแลสุขภาพ 3
วศกส๖๕๑ : ความมั่นคงและความเป็นส่วนตัวทางเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการดูแลสุขภาพ 3
วศกส๖๕๒ : การจัดการทางสารสนเทศศาสตร์การแพทย์ 3
วศกส๖๕๓ : การจัดการความรู้ในระบบบริการสุขภาพ 3
วศกส๖๕๔ : เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการประกันสุขภาพ 3
วศกส๖๕๕ : เรื่องคัดเฉพาะทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วศกส๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วศกส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. รองศาสตราจารย์ อดิศร ลีลาสันติธรรม   (ประธานหลักสูตร)
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ สมานชื่น
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี
  4. รองศาสตราจารย์ สุภาภรณ์ เกียรติสิน
  5. อาจารย์ ธีรยา มะยะกูล
  6. อาจารย์ สมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา
  7. อาจารย์ ปรัชญ์ สง่างาม
  8. รองศาสตราจารย์ ชาคริต สุวรรณจำรัส
  9. รองศาสตราจารย์ ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี
  10. รองศาสตราจารย์ ตระการ ประภัสพงษา
  11. รองศาสตราจารย์ วรรณสิริ พันธ์อุไร
  12. รองศาสตราจารย์ อรภัค เรี่ยมทอง
  13. รองศาสตราจารย์ อัศม์เดช วานิชชินชัย
  14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปานนท์ ลาชโรจน์
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรทิพย์ แก่งอินทร์
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรภพ นัยเนตร
  18. อาจารย์ โรจลักษณ์ จักรไพวงศ์
  19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยอด สุขะมงคล