ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.eg.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(วิศวกรรมเคมี)
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี มุ่งบูรณาการงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาร่วมกับ
วิศวกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมกระบวน
การชีวภาพ และวิศวกรรมอาหาร โดยการวิจัยของอาจารย์ประจำที่ผ่านมาได้ร่วมดำเนินการวิจัยระดับ
บัณฑิตศึกษากับภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งหน่วย
งานวิจัยอื่นๆ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ฯลฯ นอกจากนี้การจัดให้มีแผนการเรียน แบบแผน ข
ซึ่งกำหนให้ทำสารนิพนธ์นั้น เปิดโอกาสให้ผู้ที่กำลังทำงานและสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท สามารถ
นำประเด็นปัญหาในอุตสาหกรรมมาเป็นกรณีศึกษาได้
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
แผน ก แบบ ก ๑ ๑. สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาให้การรับรอง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จากระบบเกรด ๔.๐๐ ๓. มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ อย่างน้อย ๑ ผลงาน ๔. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์การรับเข้าของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ๕. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย แผน ก แบบ ก ๒ ๑. สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) หรือ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง หรือวิทยาศาสตรบัณฑิตในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาให้การรับรอง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ จากระบบเกรด ๔.๐๐ ๓. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์การรับเข้าของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๑ | |||
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต | |
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน * | ไม่นับหน่วยกิต | ||
หมวดวิชาบังคับ | 15 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 9 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต | |
* กรณีนักศึกษาไม่ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) ให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชา วศคม ๕๐๙ กระบวนการนำพา, วศคม ๕๑๐ จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์, วศคม ๕๑๑ หลักการและการคำนวณทางวิศวกรรมเคมี หรือ วศคม ๕๑๒ อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี ในหมวดวิชาปรับพื้นฐาน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานหลักสูตร โดยหน่วยกิตของรายวิชาในหมวดนี้ จะไม่ถูกนับรวมกับจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาในหลักสูตรและให้มีการประเมินผลด้วยสัญลักษณ์ AU (Audit) |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรเคมี วิศวกรกระบวนการ วิศวกรพลังงาน หรือวิศวกรในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถออกแบบ และควบคุมระบบในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกรที่ปรึกษาทางด้านวิศวกรรมเคมี
- นักวิจัย นักวิชาการ ทางด้านวิศวกรรมเคมี
- ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเคมี
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก1
ไม่ระบุหมวดวิชา | หน่วยกิต | ||
วศคม๖๒๓ : สัมมนาทางวิศวกรรมเคมี | 1 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
วศคม๗๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 36 |
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
วศคม๕๐๙ : กระบวนการนำพา | 3 | ||
วศคม๕๑๐ : จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ | 3 | ||
วศคม๕๑๑ : หลักการและการคำนวณทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๕๑๒ : อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
วศคม๖๐๙ : ปรากฏการณ์การนำพาขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๖๑๐ : อุณหพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๖๒๑ : จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ทางเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๖๒๒ : คณิตศาสตร์วิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๖๒๓ : สัมมนาทางวิศวกรรมเคมี | 1 | ||
วศคม๖๙๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางวิศวกรรมเคมี | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาวิศวกรรมเคมีขั้นสูงและแบบจำลองกระบวนการ | |||
วศคม๖๕๒ : กระบวนการแยกทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๕๓ : กระบวนการเร่งปฏิกิริยาเชิงอุตสาหกรรม | 3 | ||
วศคม๖๕๕ : แบบจำลองและการจำลองทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๕๖ : วิศวกรรมการผลิตปิโตรเลียม | 3 | ||
วศคม๖๕๗ : กระบวนการและการปรับสภาพน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ | 3 | ||
วศคม๖๖๔ : การจำลองเชิงโมเลกุลในทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๗๒ : เทคโนโลยีการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน | 3 | ||
วศคม๖๗๓ : การบำบัดก๊าซอุตสาหกรรมในทางการปฏิบัติวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๗๕ : พลศาสตร์และการควบคุมกระบวนการขั้นสูง | 3 | ||
กลุ่มวิชาวัสดุศาสตร์ขั้นสูง | |||
วศคม๖๕๙ : เทคโนโลยีอนุภาคขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๖๖๐ : เทคโนโลยีอุปกรณ์รับรู้ | 3 | ||
วศคม๖๖๑ : วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ชีวภาพ | 3 | ||
วศคม๖๖๒ : วิทยาศาสตร์ในระดับนาโน และวัสดุนาโนคอมโพสิต | 3 | ||
วศคม๖๖๓ : การดูดซับก๊าซด้วยวัสดุของแข็งที่มีรูพรุน | 3 | ||
กลุ่มวิชาพลังงานและเคมีชีวภาพ | |||
วศคม๖๔๗ : เทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพและการใช้งานในปัจจุบัน | 3 | ||
วศคม๖๔๘ : เคมีชีวมวลขั้นสูงและการใช้งานในปัจจุบัน | 3 | ||
วศคม๖๖๕ : การหาค่าเหมาะที่สุดสำหรับกระบวนการชีวภาพ | 3 | ||
วศคม๖๖๖ : วิศวกรรมชีวเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๖๖๗ : พลังงานหมุนเวียนและเชื้อเพลิงชีวภาพ | 3 | ||
วศคม๖๖๘ : เทคโนโลยีกระบวนการเชื้อเพลิงและการออกแบบ | 3 | ||
วศคม๖๖๙ : เทคโนโลยีนิเวศสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
วศคม๖๗๐ : กระบวนการบำบัดน้ำเสียและการออกแบบ | 3 | ||
วศคม๖๗๙ : เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ | 3 | ||
วศคม๖๘๐ : ทฤษฎีการหาค่าเหมาะสมที่สุดทางกระบวนการเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๑ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๒ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๓ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๔ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๕ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๖ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๗ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๘ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๙ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
วศคม๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ ณัฐธีร์ อัครวัฒน์โฆษิต (ประธานหลักสูตร)
- ศาสตราจารย์ มะลิ หุ่นสม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วนิดา คูอมรพัฒนะ
- อาจารย์ ปรารถนา นิมมานเทอดวงศ์
- อาจารย์ สุธิดา บุญสิทธิ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรชัย บำรุงศรี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภัทรพร โปสกนิษฐกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภูมิวัต ผดุงบุตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาคร ราชหาด
- อาจารย์ สุนทร ตันติถาวรวัฒน์
- รองศาสตราจารย์ จุฬารัตน์ ศักดารณรงค์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิระ ศรีนิเวศน์
- รองศาสตราจารย์ อรรถพล ศรีฟ้า
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทิพย์รวี ทองธรรมชาติ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรนารถ จงเลิศจรรยา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรวุฒิ ชัยวัฒน์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรางคณา พรพุทธาพิทักษ์