เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.eg.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทางด้านความมั่นคงและนิติวิทยาดิจิทัล ซึ่งในปัจจุบันยังมี หลักสูตรที่คล้ายคลึงกันในประเทศไทยไม่มากนัก โดยมีห้องปฏิบัติการด้านนิติวิศวกรรมที่ก้าวหน้า เพื่อรองรับการเรียนการสอนและการทำวิจัยด้านนิติวิทยาดิจิทัล

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก๒
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
(๒) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕)  ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน ข้อ (๒) ถึงข้อ (๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย	

แผน ข
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นิติวิทยาดิจิทัล หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
(๒) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๔) มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือนิติวิทยาดิจิทัล ไม่น้อยกว่า ๑ ปี
(๕) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๖) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน ข้อ (๒) ถึงข้อ (๕) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ นิติวิทยาเชิงเลข
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
- ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ ระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
- วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ และวิศวกรคอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรมดิจิทัล

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วศคพ๖๐๔ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนา 2
วศคพ๖๑๑ : เทคนิคการเขียนโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ขั้นสูง 2
วศคพ๖๒๓ : การทำเหมืองข้อมูลและการเรียนรู้ของเครื่อง 3
วศคพ๖๓๓ : วิศวกรรมดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ 3
วศคพ๖๔๕ : กฎหมายและขั้นตอนนิติวิทยาดิจิทัลสําหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์ 2
วศคพ๖๗๖ : ความมั่นคงของเครือข่ายและการประเมินความเสี่ยง 3
วศคพ๖๙๖ : ปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   กลุ่มวิชาความมั่นคงและนิติวิทยาดิจิทัล
วศคพ๖๒๗ : การทดสอบเจาะโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ 3
วศคพ๖๕๓ : เทคนิคและเครื่องมือนิติวิทยาเครือข่าย 3
วศคพ๖๕๗ : วิศวกรรมย้อนรอยและการวิเคราะห์มัลแวร์ 3
วศคพ๖๗๒ : การสื่อสารไร้สาย 3
วศคพ๖๗๕ : การทดสอบและการป้องกันการเจาะระบบ 3
วศคพ๖๗๗ : นิติวิทยาดิจิทัลและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ 3
วศคพ๖๗๘ : การประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก 3
วศคพ๖๗๙ : การตรวจจับการบุกรุกและหยุดการโจมตีทางไซเบอร์ 3
วศคพ๖๘๔ : การประมวลผลภาพและการประยุกต์ 3
วศคพ๖๙๔ : หัวข้อพิเศษทางความมั่นคงและนิติวิทยาดิจิทัล 3
   กลุ่มวิชาระบบสารสนเทศและการประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม
วศคพ๖๒๖ : การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ 3
วศคพ๖๒๘ : การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบุกเบิกและสร้างภาพจากข้อมูล 3
วศคพ๖๒๙ : การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับระบบธุรกิจอัจฉริยะ 3
วศคพ๖๖๕ : การเรียนรู้เชิงลึก 3
วศคพ๖๖๖ : การประมวลผลภาษาธรรมชาติ 3
วศคพ๖๖๗ : การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล 3
วศคพ๖๗๘ : การประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก 3
วศคพ๖๘๒ : ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์และสื่อประสม 3
วศคพ๖๘๔ : การประมวลผลภาพและการประยุกต์ 3
วศคพ๖๙๕ : หัวข้อพิเศษทางระบบสารสนเทศและการประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วศคพ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วศคพ๖๐๔ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนา 2
วศคพ๖๑๑ : เทคนิคการเขียนโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ขั้นสูง 2
วศคพ๖๒๓ : การทำเหมืองข้อมูลและการเรียนรู้ของเครื่อง 3
วศคพ๖๓๓ : วิศวกรรมดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ 3
วศคพ๖๔๕ : กฎหมายและขั้นตอนนิติวิทยาดิจิทัลสําหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์ 2
วศคพ๖๗๖ : ความมั่นคงของเครือข่ายและการประเมินความเสี่ยง 3
วศคพ๖๙๖ : ปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   กลุ่มวิชาความมั่นคงและนิติวิทยาดิจิทัล
วศคพ๖๒๗ : การทดสอบเจาะโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ 3
วศคพ๖๕๓ : เทคนิคและเครื่องมือนิติวิทยาเครือข่าย 3
วศคพ๖๕๗ : วิศวกรรมย้อนรอยและการวิเคราะห์มัลแวร์ 3
วศคพ๖๗๒ : การสื่อสารไร้สาย 3
วศคพ๖๗๕ : การทดสอบและการป้องกันการเจาะระบบ 3
วศคพ๖๗๗ : นิติวิทยาดิจิทัลและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ 3
วศคพ๖๗๘ : การประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก 3
วศคพ๖๗๙ : การตรวจจับการบุกรุกและหยุดการโจมตีทางไซเบอร์ 3
วศคพ๖๘๔ : การประมวลผลภาพและการประยุกต์ 3
วศคพ๖๙๔ : หัวข้อพิเศษทางความมั่นคงและนิติวิทยาดิจิทัล 3
   กลุ่มวิชาระบบสารสนเทศและการประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม
วศคพ๖๒๖ : การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ 3
วศคพ๖๒๘ : การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบุกเบิกและสร้างภาพจากข้อมูล 3
วศคพ๖๒๙ : การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับระบบธุรกิจอัจฉริยะ 3
วศคพ๖๖๕ : การเรียนรู้เชิงลึก 3
วศคพ๖๖๖ : การประมวลผลภาษาธรรมชาติ 3
วศคพ๖๖๗ : การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล 3
วศคพ๖๗๘ : การประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก 3
วศคพ๖๘๒ : ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์และสื่อประสม 3
วศคพ๖๘๔ : การประมวลผลภาพและการประยุกต์ 3
วศคพ๖๙๕ : หัวข้อพิเศษทางระบบสารสนเทศและการประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
วศคพ๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6