เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.eg.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(วิศวกรรมเครื่องกล)

จุดเด่นของหลักสูตร

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนในกลุ่มวิชาที่ตนเองมีความสนใจ ได้แก่ เมคคาทรอนิกส์ พลังงาน และยานยนต์

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑.  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 
วิทยาศาสตรบัณฑิต หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ หรือมีประสบการณ์ในสายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเครื่องกลไม่ต่ำกว่า ๑ ปี
๓.  ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔.  ผู้มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา 
ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 13            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 37            หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก๒

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- วิศวกรเครื่องกล วิศวกรออกแบบ ควบคุมและพัฒนากระบวนการผลิต และวิศวกรควบคุมงาน ระบบในอาคาร
- นักวิจัยและนักวิชาการ ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล
- ผู้ชำนาญการในการออกแบบและสร้างระบบ

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วศคก๕๐๔ : วิศวกรรมเครื่องกลเบื้องต้น 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วศคก๕๐๕ : แบบจำลองระบบและการจำลอง 4
วศคก๕๐๖ : การออกแบบและโครงร่าง 4
วศคก๕๐๗ : นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และการเป็นผู้ประกอบการ 3
วศคก๕๐๘ : เทคนิคการสื่อสารทางวิศวกรรมเครื่องกล 1
วศคก๖๙๑ : สัมมนาวิศวกรรมเครื่องกล ๑ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วศคก๕๑๐ : คณิตศาสตร์วิศวกรรมขั้นสูง 3
วศคก๕๑๑ : การวัดและวิชาการเครื่องมือ 3
วศคก๕๑๒ : วิธีการคำนวณทางวิศวกรรมเครื่องกล 3
วศคก๕๑๓ : ไฟไนต์เอลิเมนต์ 3
วศคก๕๑๔ : วิธีการเชิงปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิศวกรรมเครื่องกล 3
วศคก๕๒๑ : พลศาสตร์ขั้นสูง 3
วศคก๕๒๒ : ทฤษฎีความยืดหยุ่น 3
วศคก๕๒๓ : กลศาสตร์การแตกหัก 3
วศคก๕๒๔ : เทคโนโลยีการผลิตพอลิเมอร์ 3
วศคก๕๒๕ : การออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ยาง 3
วศคก๕๓๑ : อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมขั้นสูง 3
วศคก๕๓๕ : ระบบความร้อน 3
วศคก๕๓๖ : การถ่ายเทความร้อนและมวลขั้นสูง 3
วศคก๕๓๗ : กลศาสตร์ของไหลขั้นสูง 3
วศคก๕๓๘ : ทฤษฎีการเผาไหม้ 3
วศคก๕๓๙ : พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณด้วยวิธีปริมาตรจำกัด 3
วศคก๕๔๑ : การปรับอากาศและการทำความเย็นขั้นสูง 3
วศคก๕๔๒ : การถ่ายเทความร้อนด้วยพลังงานไมโครเวฟ 3
วศคก๕๔๓ : ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขสำหรับการถ่ายเทความร้อน 3
วศคก๕๔๖ : การถ่ายเทความร้อนและการไหลสองสถานะ 3
วศคก๕๕๖ : เทคโนโลยียานยนต์ขั้นสูง 3
วศคก๕๕๗ : เทคโนโลยีการผลิตด้านยานยนต์ 3
วศคก๕๖๑ : การควบคุมเชิงเส้น 3
วศคก๕๖๒ : ระบบควบคุมเชิงเส้นอันดับสอง 3
วศคก๕๖๓ : ระบบควบคุมหลายตัวแปร 3
วศคก๕๖๕ : หุ่นยนต์ ๑ 3
วศคก๕๖๗ : เมคคาทรอนิกส์ 3
วศคก๕๖๘ : การควบคุมแบบป้อนล่วงหน้า 3
วศคก๕๘๑ : เทคโนโลยีพลังงานทดแทนขั้นสูง 3
วศคก๕๘๒ : เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ 3
วศคก๕๙๖ : หัวข้อคัดสรรทางสาขากลศาสตร์ของแข็ง 3
วศคก๕๙๗ : หัวข้อคัดสรรทางสาขากลศาสตร์ของไหลและการถ่ายเทความร้อน 3
วศคก๕๙๘ : หัวข้อคัดสรรทางสาขาวิศวกรรมยานยนต์ 3
วศคก๕๙๙ : หัวข้อคัดสรรทางสาขาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน 3
วศคก๖๐๐ : หัวข้อคัดสรรทางสาขาระบบควบคุมอัตโนมัติ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วศคก๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรศิษฐ์ ตรูทัศนวินท์   (ประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ ชาคริต สุวรรณจำรัส
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โชคชัย จูฑะโกสิทธิ์กานนท์
  4. รองศาสตราจารย์ ธนภัทร์ วานิชานนท์
  5. รองศาสตราจารย์ ปัญญา อรุณจรัสธรรม
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรทิพย์ แก่งอินทร์
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สราวุธ เวชกิจ
  8. รองศาสตราจารย์ เอกชัย ชัยชนะศิริ
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อิทธิโชติ จักรไพวงศ์
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัชรพงษ์ ชูแก้ว
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกรินทร์ แสงธรรมรัตน์
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อารมณ์ ้เบิกฟ้า
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจษฎาภรณ์ ปริยดำกล
  14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวัลณัฎฐ์ เจริญเขษมมีสุข
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มชิมนต์ธรณ์ พรหมทอง