ผู้สนใจเข้าศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)
ระดับ | ปริญญาเอก |
คณะ/สถาบัน | คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.eg.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิศวกรรมเคมีบูรณาการ)
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีทักษะและความรู้ความสามารถทั้งทางด้านวิศวกรรมเคมี
และการบูรณาการกับสาขาอื่นๆเช่น วิศวกรรมพลังงาน วิศวกรรมอาหารและยา วิศวกรรมกระบวนการ
ชีวภาพ เป็นต้น โดยนำองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน มาใช้ร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในการสร้าง
สรรค์ และพัฒนางานวิจัย ซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรอื่นที่มุ่งเน้นทางด้านปิโตรเลียม และปิโตรเคมีเป็นหลัก
นอกเหนือไปจากการบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นๆแล้ว หลักสูตรนี้ยังมุ่งเน้นความร่วมมือทางด้านการ
วิจัยกับภาคเอกชน เพื่องานวิจัยที่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในภาคอุตสาหกรรม
อีกทั้งหลักสูตรนี้ยังเป็นหลักสูตรนานาชาติ ซึ่ง สามารถตอบสนองต่อนโยบายของประเทศไทยที่ต้อง
การพัฒนาความรู้ความสามารถในการวิจัยขั้นสูงในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อรองรับต่อการเปิดการค้าเสรี
อาเซียนในปี ๒๕๕๘ อีกด้วย
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๑.๑ (โทต่อเอก ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์) (๑) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี หรือวิศวกรรมสาขาอื่น หรือวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตในสาขาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (๒)ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ (๓) มีผลงานที่ได้รับการเผยแพร่แล้วในระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย ๑ เรื่อง หรือ มีประสบการณ์ทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๑ ปี (๔) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๕) ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจ ของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๒.๑ (โทต่อเอก ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) (๑) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี หรือวิศวกรรมสาขาอื่น หรือวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตในสาขาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ (๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๔) ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจ ของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๒.๒ (ตรีต่อเอก ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) (๑) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี หรือวิศวกรรมสาขาอื่น หรือวิทยาศาสตรบัณฑิตในสาขาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ (๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๔) ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจ ของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ||
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ||
หมวดวิชาบังคับ | 6 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี | |||
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ||
หมวดวิชาบังคับ | 12 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 12 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 72 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรเคมีและวิศวกรกระบวนการ หรือวิศวกรในสาขาที่เกี่ยวข้อง
- วิศวกรสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
- วิศวกรที่ปรึกษาโรงงาน
- นักวิจัยและนักวิชาการ
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 1
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
วศคม๕๐๑ : กระบวนการนำพา | 3 | ||
วศคม๕๐๒ : จลนศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ | 3 | ||
วศคม๕๐๓ : หลักการและการคำนวณทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๕๐๔ : เคมีอาหารและชีวเคมี | 3 | ||
วศคม๕๐๕ : จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม | 3 | ||
วศคม๕๐๘ : อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
วศคม๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 48 |
แบบ 2
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
วศคม๕๐๑ : กระบวนการนำพา | 3 | ||
วศคม๕๐๒ : จลนศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ | 3 | ||
วศคม๕๐๓ : หลักการและการคำนวณทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๕๐๔ : เคมีอาหารและชีวเคมี | 3 | ||
วศคม๕๐๕ : จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม | 3 | ||
วศคม๕๐๘ : อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
วศคม๗๐๑ : กระบวนการนำพาขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๖๐ : เทคโนโลยีสมัยใหม่ในวิศวกรรมเคมีบูรณาการขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๖๑ : สัมมนาทางวิศวกรรมเคมีบูรณาการขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๖๒ : อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมขั้นสูง | 3 | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
วศคม๗๖๐ : เทคโนโลยีสมัยใหม่ในวิศวกรรมเคมีบูรณาการขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๖๑ : สัมมนาทางวิศวกรรมเคมีบูรณาการขั้นสูง | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
วศคม๕๑๕ : การจำลองและควบคุมกระบวนการทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๕๑๖ : ระบบพลังงานและความยั่งยืน | 3 | ||
วศคม๕๑๗ : ความเป็นเลิศเชิงปฏิบัติการทางอุตสาหกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๕๑๘ : เทคโนโลยีการบำบัดขั้นสูงสำหรับน้ำ น้ำเสีย และนำกลับมาใช้ใหม่ | 3 | ||
วศคม๕๒๐ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์และสูตรเครื่องสำอาง | 3 | ||
วศคม๕๒๒ : การพัฒนายาขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๕๒๓ : การประยุกต์การกัดกร่อนในอุตสาหกรรมเคมี อาหารและยา | 3 | ||
วศคม๖๐๕ : กระบวนการแยกทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๑๓ : เทคโนโลยีอุปกรณ์รับรู้ | 3 | ||
วศคม๖๑๕ : จลนศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๖๒๐ : แบบจำลองและการจำลองทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๔๑ : การคำนวณเชิงตัวเลขทางวิศวกรรมกระบวนการอาหาร | 3 | ||
วศคม๖๔๒ : เทคโนโลยีกระบวนการอาหารและเภสัชภัณฑ์ | 3 | ||
วศคม๖๔๓ : คุณสมบัติอาหารและการประเมินคุณภาพ | 3 | ||
วศคม๖๔๕ : วิศวกรรมกระบวนการที่ไม่ใช้ความร้อน | 3 | ||
วศคม๖๔๙ : การหาค่าเหมาะที่สุดเชิงกระบวนการชีวภาพ | 3 | ||
วศคม๖๗๑ : การจัดการโครงการสำหรับวิศวกร | 3 | ||
วศคม๖๗๔ : การออกแบบอุปกรณ์ เครื่องมือ และกระบวนการผลิตทางเภสัชกรรม | 3 | ||
วศคม๖๘๐ : ทฤษฎีการหาค่าเหมาะสมที่สุดทางกระบวนการเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๑ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๒ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๓ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๔ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๕ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๖ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๗ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๘ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๖๘๙ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมี | 3 | ||
วศคม๗๑๑ : การออกแบบระบบการกลั่น | 3 | ||
วศคม๗๑๒ : การควบคุมกระบวนการอุตสาหกรรมขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๑๓ : แบบจำลองพลวัตรของไหลเชิงคำนวณ | 3 | ||
วศคม๗๒๑ : วัสดุพอลิเมอร์ชีวภาพและวัสดุนาโนขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๒๒ : อุปกรณ์รับรู้ทางเคมีและชีวภาพประยุกต์ | 3 | ||
วศคม๗๒๓ : การสกัดโลหะมีค่าและการแปรใช้ใหม่ | 3 | ||
วศคม๗๓๑ : เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน | 3 | ||
วศคม๗๓๒ : เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมบูรณาการ | 3 | ||
วศคม๗๔๑ : วิศวกรรมอาหารและเคมีชีวภาพขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๔๒ : เทคโนโลยีกระบวนการชีวมวลและระบบการกลั่นชีวภาพ | 3 | ||
วศคม๗๔๓ : การวางผังและการออกแบบโรงงานผลิตอาหารขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๕๑ : เทคโนโลยีเภสัชกรรมขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๕๒ : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหารและเภสัชกรรมขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๕๓ : การจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๘๐ : ทฤษฎีการหาค่าเหมาะที่สุดขั้นสูงทางกระบวนการเคมี | 3 | ||
วศคม๗๘๑ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๘๒ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๘๓ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๘๔ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๘๕ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๘๖ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๘๗ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๘๘ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วศคม๗๘๙ : หัวข้อปัจจุบันทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูง | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
วศคม๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 48 | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
วศคม๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 36 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ศาสตราจารย์ มะลิ หุ่นสม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วนิดา คูอมรพัฒนะ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรชัย บำรุงศรี
- รองศาสตราจารย์ ณัฐธีร์ อัครวัฒน์โฆษิต
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภัทรพร โปสกนิษฐกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภูมิวัต ผดุงบุตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาคร ราชหาด
- รองศาสตราจารย์ จุฬารัตน์ ศักดารณรงค์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิระ ศรีนิเวศน์
- รองศาสตราจารย์ อรรถพล ศรีฟ้า
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทิพย์รวี ทองธรรมชาติ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรนารถ จงเลิศจรรยา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรวุฒิ ชัยวัฒน์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรางคณา พรพุทธาพิทักษ์