เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการสมาร์ต 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.eg.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(วิศวกรรมอุตสาหการสมาร์ต)

จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรที่บูรณาการศาสตร์ทางวิศวกรรมอุตสาหการในการจัดการเทคโนโลยีและบริหารการผลิตและ อุตสาหกรรม พร้อมกับการเป็นผู้นำการประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางวิศวกรรมอุตสาหการในการจัดการ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม โดยมีโครงการศูนย์บริการอุตสาหกรรมและโครงการเครือข่าย นักวิจัยไทยด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก๒
(๑) สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง หรือ
(๒) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่น จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง 
(๓) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๔) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๕) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๖) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๓ ถึงข้อ ๕ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข
(๑) สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง หรือ
(๒) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่น จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง 
(๓) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๔) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๕) มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมอุตสาหการสมาร์ตไม่น้อยกว่า ๒ ปี
(๖) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๗) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๓ ถึงข้อ ๖ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- วิศวกรอุตสาหการหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- นักวิจัยด้านวิศวกรรมอุตสาหการการผลิตและโลจิสติกส์
- ผู้ให้คำปรึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์และบริหารจัดการ
- ผู้ปฎิบัติงานในองค์กร ภาครัฐ และภาคเอกชน
- ผู้ประกอบอาชีพตามสถานประกอบการด้านกลยุทธ์โลจิสติกส์ รวมถึงการจัดการคลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินค้า การวางแผนการผลิต การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
- ผู้ประกอบการที่เน้นพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมและการจัดการ

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วศอก๕๗๐ : ความน่าจะเป็นและสถิติ 3
วศอก๕๗๑ : การวิจัยปฏิบัติการ 3
วศอก๕๗๒ : การวางแผนและควบคุมการผลิต 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วศอก๕๐๒ : ความคิดและแบบจำลองระบบ 3
วศอก๕๐๘ : การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม 3
วศอก๕๐๙ : การเป็นผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน 3
วศอก๕๕๑ : สัมมนาทางวิศวกรรมอุตสาหการสมาร์ต 1
วศอก๕๕๒ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
วศอก๕๕๔ : การจัดการวิศวกรรมและการผลิตสมาร์ต 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   กลุ่มวิชาระบบการผลิตสมาร์ต
วศอก๕๒๒ : การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ 3
วศอก๕๒๓ : กระบวนการตัดปาดทางกลขั้นสูง 3
วศอก๕๒๔ : กระบวนการผลิตอัตโนมัติและการผลิตแบบบูรณาการด้วยคอมพิวเตอร์ 3
วศอก๕๒๖ : ทำด้วยตัวเองสำหรับเครื่องมือระบบอัตโนมัติสมาร์ต 3
วศอก๕๒๗ : กระบวนการทางดิจิทัลของการผลิตสมาร์ต 3
วศอก๕๒๘ : การเรียนรู้เครื่องจักรและปัญญาประดิษฐ์ในโรงงานอุตสาหกรรมสมาร์ต 3
วศอก๕๔๖ : กระบวนการเชื่อมและการควบคุมสมบัติรอยต่อขั้นสูง 3
วศอก๕๖๖ : โลหะวิทยาอุตสาหกรรมและวัสดุศาสตร์ขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ 3
วศอก๕๖๗ : ระบบการผลิตแบบไซเบอร์-กายภาพ 3
วศอก๕๙๑ : การผลิตเพื่อความได้เปรียบเชิงแข่งขัน 3
วศอก๖๓๓ : หัวข้อพิเศษทางระบบการผลิตสมาร์ต 3
   กลุ่มวิชาการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต
วศอก๕๐๕ : สถิติวิศวกรรมและการวิจัยปฏิบัติการประยุกต์ 3
วศอก๕๓๐ : การวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดการวิศวกรรม 3
วศอก๕๓๒ : การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสมาร์ต 3
วศอก๕๓๔ : วิธีการสถิติสำหรับวิศกรรมความน่าเชื่อถือได้ 3
วศอก๕๓๖ : ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจแบบชาญฉลาด 3
วศอก๕๓๘ : การออกแบบและจัดสมดุลสายการประกอบเชิงปรับตัวสมาร์ต 3
วศอก๕๔๗ : การเงินและการบัญชีเชิงการจัดการ 3
วศอก๕๙๔ : ระบบการผลิตและบริการแบบลีน 3
วศอก๕๙๕ : การจัดการสินค้าคงคลังสมาร์ต 3
วศอก๕๙๖ : การจัดการคลังสินค้าสมาร์ต 3
วศอก๕๙๗ : การจัดการโครงการสำหรับอุตสาหกรรม ๔.๐ 3
วศอก๕๙๘ : การจัดการโลจิสติกส์โซ่อุปทานและโรงพยาบาล 3
วศอก๕๙๙ : การเดินรถไฟและระบบอาณัติสัญญาณ 3
วศอก๖๒๒ : การจัดการคุณภาพ 3
วศอก๖๔๓ : หัวข้อพิเศษทางการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วศอก๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วศอก๕๗๐ : ความน่าจะเป็นและสถิติ 3
วศอก๕๗๑ : การวิจัยปฏิบัติการ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วศอก๕๐๒ : ความคิดและแบบจำลองระบบ 3
วศอก๕๐๘ : การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม 3
วศอก๕๐๙ : การเป็นผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน 3
วศอก๕๕๑ : สัมมนาทางวิศวกรรมอุตสาหการสมาร์ต 1
วศอก๕๕๒ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
วศอก๕๕๔ : การจัดการวิศวกรรมและการผลิตสมาร์ต 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   กลุ่มวิชาระบบการผลิตสมาร์ต
วศอก๕๒๒ : การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ 3
วศอก๕๒๓ : กระบวนการตัดปาดทางกลขั้นสูง 3
วศอก๕๒๔ : กระบวนการผลิตอัตโนมัติและการผลิตแบบบูรณาการด้วยคอมพิวเตอร์ 3
วศอก๕๒๖ : ทำด้วยตัวเองสำหรับเครื่องมือระบบอัตโนมัติสมาร์ต 3
วศอก๕๒๗ : กระบวนการทางดิจิทัลของการผลิตสมาร์ต 3
วศอก๕๒๘ : การเรียนรู้เครื่องจักรและปัญญาประดิษฐ์ในโรงงานอุตสาหกรรมสมาร์ต 3
วศอก๕๔๖ : กระบวนการเชื่อมและการควบคุมสมบัติรอยต่อขั้นสูง 3
วศอก๕๖๖ : โลหะวิทยาอุตสาหกรรมและวัสดุศาสตร์ขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ 3
วศอก๕๖๗ : ระบบการผลิตแบบไซเบอร์-กายภาพ 3
วศอก๕๙๑ : การผลิตเพื่อความได้เปรียบเชิงแข่งขัน 3
วศอก๖๓๓ : หัวข้อพิเศษทางระบบการผลิตสมาร์ต 3
   กลุ่มวิชาการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต
วศอก๕๐๕ : สถิติวิศวกรรมและการวิจัยปฏิบัติการประยุกต์ 3
วศอก๕๑๓ : การวัดผลการดำเนินงานโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3
วศอก๕๓๐ : การวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดการวิศวกรรม 3
วศอก๕๓๒ : การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสมาร์ต 3
วศอก๕๓๔ : วิธีการสถิติสำหรับวิศกรรมความน่าเชื่อถือได้ 3
วศอก๕๓๖ : ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจแบบชาญฉลาด 3
วศอก๕๓๘ : การออกแบบและจัดสมดุลสายการประกอบเชิงปรับตัวสมาร์ต 3
วศอก๕๔๗ : การเงินและการบัญชีเชิงการจัดการ 3
วศอก๕๙๔ : ระบบการผลิตและบริการแบบลีน 3
วศอก๕๙๕ : การจัดการสินค้าคงคลังสมาร์ต 3
วศอก๕๙๖ : การจัดการคลังสินค้าสมาร์ต 3
วศอก๕๙๗ : การจัดการโครงการสำหรับอุตสาหกรรม ๔.๐ 3
วศอก๕๙๘ : การจัดการโลจิสติกส์โซ่อุปทานและโรงพยาบาล 3
วศอก๕๙๙ : การเดินรถไฟและระบบอาณัติสัญญาณ 3
วศอก๖๒๒ : การจัดการคุณภาพ 3
วศอก๖๔๓ : หัวข้อพิเศษทางการจัดการวิศวกรรมสมาร์ต 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
วศอก๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. อาจารย์ เอกชัย วารินศิริรักษ์   (ประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ เดชรัตน์ สัมฤทธิ์
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตวงยศ สุภีกิตย์
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนกรณ์ แน่นหนา
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รณชัย ศิโรเวฐนุกูล
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิรดล ศิริธร
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิระ ศรีนิเวศน์
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นริศ หนูหอม
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มงคล เทียนวิบูลย์
  10. รองศาสตราจารย์ ดวงพรรณ กริชชาญชัย
  11. รองศาสตราจารย์ ธนัญญา วสุศรี
  12. รองศาสตราจารย์ วเรศรา วีระวัฒน์
  13. รองศาสตราจารย์ สุรโชค ธนพิทักษ์
  14. รองศาสตราจารย์ อัศม์เดช วานิชชินชัย
  15. รองศาสตราจารย์ ศุภชัย นาทะพันธ์
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ ศรีตระกูลชัย