เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   25   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์
เว็บไซต์ https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egen/

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) มุ่งเน้นการผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีทักษะ และความรู้ความสามารถแบบบูรณาการทางด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ ทั้งสองสาขาวิชานี้ได้ถูกนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ใน การทำงานและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยดุษฎีบัณฑิตจะมี ความเชี่ยวชาญและทักษะในด้านการวิเคราะห์ การออกแบบ การประเมิน และการประยุกต์เครื่องมือต่าง ๆ ในงานทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ นอกจากนี้ดุษฎีบัณฑิตยังมีความรู้และทักษะทาง การวิจัย เพื่อพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดองค์ความรู้เดิมเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ อีกทั้งต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในการนำความรู้ ความสามารถไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และประเทศ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๑.๑
(๑) สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตหรือวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ทุกสาขาวิชา 
จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) มีประสบการณ์และความพร้อมที่จะสามารถทำงานวิจัยในระดับปริญญาเอกได้ โดยแสดงหลักฐาน
โครงร่างงานวิจัยฉบับภาษาอังกฤษ และเคยมีผลงานที่ได้รับการเผยแพร่โดยการนำเสนอต่อที่ประชุม
วิชาการระดับนานาชาติที่มีรายงานการประชุม (Proceedings)  จำนวนอย่างน้อย ๑ เรื่อง
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๑.๒
(๑) สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต ทุกสาขาวิชา หรือกำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้าย จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) มีประสบการณ์และความพร้อมที่จะสามารถทำงานวิจัยในระดับปริญญาเอกได้โดยแสดงหลักฐาน
โครงร่างงานวิจัยฉบับภาษาอังกฤษ และเคยมีผลงานที่ได้รับการเผยแพร่โดยการนำเสนอต่อที่ประชุม
วิชาการระดับนานาชาติที่มีรายงานการประชุม (Proceedings)  จำนวนอย่างน้อย ๑ เรื่อง
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๒.๑
(๑) สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ทุกสาขาวิชา
จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๒.๒
(๑) สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต ทุกสาขาวิชา หรือกำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้าย จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
วิทยานิพนธ์ 72            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
แบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- วิศวกรสิ่งแวดล้อมหรือวิศวกรสุขาภิบาลในระดับผู้เชี่ยวชาญที่สามารถทำงานในหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- วิศวกรทรัพยากรน้ำหรือวิศวกรชลประทานในระดับผู้เชี่ยวชาญที่สามารถทำงานในหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
- นักวิจัยและนักวิชาการที่มีทักษะและศักยภาพสูงในการประยุกต์องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรน้ำในการพัฒนางานวิจัย
- ที่ปรึกษาเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย กฎระเบียบต่างๆ ของรัฐด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ
- เจ้าของธุรกิจหรือบริษัทด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
วศสท๘๙๙ : วิทยานิพนธ์ 72
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
วศสท๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
วศสท๖๑๑ : งานวิจัยขั้นสูงในด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๖๑๒ : การออกแบบการทดลองและแบบจำลอง 3
วศสท๖๒๑ : การประเมินปริมาณและคุณภาพน้ำ: การปฏิบัติจัดการที่เป็นเลิศ 3
วศสท๖๒๒ : การป้องกันและควบคุมมลพิษ 3
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
วศสท๖๑๑ : งานวิจัยขั้นสูงในด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๖๑๒ : การออกแบบการทดลองและแบบจำลอง 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วศสท๕๓๑ : กระบวนการทางเคมีกายภาพ 3
วศสท๕๓๒ : กระบวนการทางชีวภาพ 3
วศสท๕๓๓ : เทคโนโลยีสะอาด 3
วศสท๕๓๔ : เทคโนโลยีเมมเบรน 3
วศสท๕๓๕ : การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ 3
วศสท๕๓๖ : หลักพิษวิทยา 3
วศสท๕๓๗ : วิศวกรรมมลพิษในดิน 3
วศสท๕๓๘ : การสร้างแบบจำลองมลภาวะทางอากาศและการประยุกต์ 3
วศสท๕๓๙ : การประเมินวัฏจักรชีวิต 3
วศสท๕๔๐ : วิศวกรรมการควบคุมสารมลพิษขนาดเล็ก 3
วศสท๕๔๑ : จุลชีววิทยาน้ำเสียประยุกต์ 3
วศสท๕๔๒ : การเคลื่อนย้ายของตะกอนและสารมลพิษ 3
วศสท๕๔๓ : การจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง 3
วศสท๕๔๔ : การวางแผนและการจัดการระบบอ่างเก็บน้ำ 3
วศสท๕๔๕ : อุทกสารสนเทศทางวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๖ : ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๗ : ระบบภูมิสารสนเทศสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๘ : การสัมผัสระยะไกลสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๙ : การศึกษาพิเศษ 3
วศสท๕๕๐ : วิศวกรรมประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ 3
วศสท๕๕๑ : การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3
วศสท๕๕๒ : แบบจำลองการพยากรณ์ทางสโทแคสติกของข้อมูลทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๕๓ : การวางแผนและการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติสำหรับวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๕๔ : ภูมิสารสนเทศสำหรับการจัดการลุ่มน้ำ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
วศสท๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
วศสท๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร