เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.eg.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิศวกรรมชีวการแพทย์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์หรือ
เภสัชศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับด้านการแพทย์ โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๒. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ ทันตแพทย
ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับด้านการแพทย์ โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ย
สะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๓. สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
และมีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก สามารถดำเนินการได้ โดยต้อง
ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕ ในระดับปริญญาโท และศึกษามาแล้วไม่ต่ำกว่า ๑ ปี
ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโท คณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ปริญญาเอก และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒
(๑) สำหรับนักศึกษาแรกเข้าซึ่งมีคุณวุฒิสูงสุดระดับปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ วิศวกรรมชีวการแพทย์ และมีประสบการณ์ในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
หมวดวิชาพื้นฐาน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 11            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 71            หน่วยกิต
(๒) สำหรับนักศึกษาแรกเข้าซึ่งมีคุณวุฒิสูงสุดระดับปริญญาตรี หรือระดับปริญญาโทในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ และไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
หมวดวิชาพื้นฐาน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 11            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 83            หน่วยกิต
(๓) สำหรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หมวดวิชาพื้นฐาน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 11            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวม ไม่น้อยกว่า 74            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิจัยที่มีทักษะและศักยภาพสูงด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์
- ผู้กำหนดหรือขับเคลื่อนนโยบาย กฎระเบียบด้านสาธารณสุขของรัฐ
- เจ้าของธุรกิจด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์
- พนักงานบริษัทเครื่องมือแพทย์
- วิศวกรชีวการแพทย์ระดับผู้เชี่ยวชาญ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วศชพ๕๑๕ : สรีรวิทยาขั้นสูง 3
วศชพ๕๑๖ : คณิตศาสตร์วิศวกรรมขั้นสูง 3
วศชพ๖๐๖ : วิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๙๐ : สัมมนาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ๑ 1
วศชพ๖๙๑ : สัมมนาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ๒ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วศชพ๕๒๒ : การประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์ 3
วศชพ๕๒๓ : การประมวลผลภาพทางชีวการแพทย์ขั้นสูง 3
วศชพ๕๕๑ : วิธีคำนวณสำหรับวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วศชพ๕๖๐ : หุ่นยนต์ทางการแพทย์ 3
วศชพ๖๐๔ : อุปกรณ์รับรู้ทางชีววิทยา 3
วศชพ๖๐๕ : การสร้างภาพทางการแพทย์ 3
วศชพ๖๑๐ : เครือข่ายระบบประสาท 3
วศชพ๖๑๑ : การสร้างภาพทางการแพทย์ขั้นสูง 3
วศชพ๖๑๕ : การระบุและการจำลองแบบระบบสรีรวิทยา 3
วศชพ๖๑๖ : วิธีการหาค่าเหมาะที่สุด 3
วศชพ๖๑๗ : การออกแบบวงจรรวมสำหรับระบบสื่อสารไร้สายทางการแพทย์ 3
วศชพ๖๒๐ : การวิเคราะห์เวฟเลตและเวลากับความถี่ 3
วศชพ๖๒๑ : การวิเคราะห์สเปรคตรัมอันดับสูงขึ้น 3
วศชพ๖๒๒ : คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ทางการแพทย์ 3
วศชพ๖๒๓ : การรู้จำรูปแบบ 3
วศชพ๖๒๔ : การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับสมอง 3
วศชพ๖๒๕ : อิเล็กทรอนิกส์ชีวภาพ 3
วศชพ๖๓๐ : วิศวกรรมเนื้อเยื่อและเซลล์ 3
วศชพ๖๓๑ : การนำส่งยาขั้นสูง 3
วศชพ๖๓๒ : ปรากฏการณ์ขนส่งทางสรีรวิทยา 3
วศชพ๖๓๓ : พอลิเมอร์ทางชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๓๔ : ชีววัสดุและความเข้ากันได้ทางชีววิทยา 3
วศชพ๖๓๕ : เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๓๙ : การเตรียมชิ้นงานชีวภาพ 3
วศชพ๖๔๑ : กลศาสตร์ของไหลเชิงสรีรวิทยา 3
วศชพ๖๔๒ : ชีวกลศาสตร์ขั้นสูง 3
วศชพ๖๔๓ : ระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด 3
วศชพ๖๔๔ : การเชื่อมกับระบบประสาท 3
วศชพ๖๔๕ : กายอุปกรณ์ทางชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๔๖ : การออกแบบและการผลิตอุปกรณ์ชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๔๗ : วิศวกรรมหัวใจร่วมหลอดเลือดและอวัยวะประดิษฐ์ 3
วศชพ๖๔๘ : ระบบวิศวกรรมการหายใจ 3
วศชพ๖๔๙ : การทดสอบและการรับรองวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ขั้นสูง 3
วศชพ๖๕๑ : ชีวสารสนเทศ 3
วศชพ๖๕๒ : สารสนเทศทางภาพถ่ายชีวภาพ 3
วศชพ๖๕๓ : ระบบอัจฉริยะ 3
วศชพ๖๕๔ : พลวัตแบบไม่เป็นเชิงเส้นในสรีรวิทยา 3
วศชพ๖๕๕ : การเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 3
วศชพ๖๕๖ : การจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ในการดูแลสุขภาพ 3
วศชพ๖๖๐ : ศัลยศาสตร์บูรณาการคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 3
วศชพ๖๖๑ : การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วย 3
วศชพ๖๖๒ : การออกแบบและการควบคุมของการเชื่อมต่อแฮพติก 3
วศชพ๖๖๔ : เทคโนโลยีชีวภาพระดับนาโน 3
วศชพ๖๖๕ : เวชศาสตร์นาโน 3
วศชพ๖๘๐ : หุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง 3
วศชพ๖๘๑ : ระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาคทางชีวภาพและอุปกรณ์จุลภาคทางการแพทย์ 3
วศชพ๖๘๒ : การออกแบบและบริหารจัดการโครงการในงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๘๓ : หัวข้อพิเศษวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๘๔ : หัวข้อพิเศษวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๘๕ : หัวข้อพิเศษวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๘๖ : หัวข้อพิเศษวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๘๗ : หัวข้อพิเศษวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๘๘ : หัวข้อพิเศษวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วศชพ๖๘๙ : หัวข้อพิเศษวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ และมีประสบการณ์ในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
วศชพ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
   สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือระดับปริญญาโทในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ และไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วศชพ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
หมวดวิชาพื้นฐาน หน่วยกิต
วศชพ๕๒๔ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 3
วศชพ๕๒๕ : ภาษาอังกฤษเพื่อการวิจัย 3
   ให้เลือกเรียน ๓ หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้
วศชพ๖๐๑ : การประมวลผลสัญญาณและเครื่องมือทางการแพทย์ 3
วศชพ๖๐๗ : วัสดุและกลศาสตร์ทางการแพทย์ 3

อาจารย์ประจำหลักสูตร