ผู้สนใจเข้าศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาช่องปากและวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์บูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)
ระดับ | ปริญญาเอก |
คณะ/สถาบัน | คณะทันตแพทยศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.dt.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ชีววิทยาช่องปากและวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์บูรณาการ)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน แบบ ๑.๑ (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง และได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ (๒) มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๑ เรื่อง ที่ไม่ได้เป็นผลงานวิจัยที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา (๓) ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษามาก่อนอย่างน้อย ๑ ปี (๔) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๕) ผู้มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ๒. ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน แบบ ๒ (๑) สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษา ของหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง และได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือ (๒) สำเร็จการศึกษาหรือหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษา ของหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตร์ หรือระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพหรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง และได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๔) ผู้มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ ๑ | |||
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
หมวดวิชาบังคับ | ไม่นับหน่วยกิต | ||
หมวดวิชาเลือก | ไม่นับหน่วยกิต | ||
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แบบ ๒ | |||
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
หมวดวิชาบังคับ | 7 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 5 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี | |||
หมวดวิชาบังคับ | 21 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 72 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถานศึกษา ที่มีการเรียนการสอนและการวิจัยทางชีววิทยาช่องปากและวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์
- นักวิจัยที่มีความรู้และความสามารถในสาขาวิชาชีววิทยาช่องปากและวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์
- ผู้เชี่ยวชาญทางสาขาวิชาชีววิทยาช่องปากและวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 1
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ทพชว๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 48 |
แบบ 2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
ทพชว๕๑๕ : ชีววิทยาช่องปาก | 2 | ||
ทพชว๕๑๖ : ชีววิทยาระดับเซลล์เพื่อวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์บูรณาการ | 2 | ||
ทพชว๕๑๗ : แนวคิดปัจจุบันทางโรคช่องปาก | 1 | ||
ทพชว๕๑๘ : แนวคิดปัจจุบันทางการวิจัยชีววิทยาช่องปาก | 1 | ||
ทพชว๕๑๙ : กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาทางชีววิทยาช่องปาก | 1 | ||
ทพชว๕๒๐ : ชีววิทยาเซลล์ต้นกำเนิดและวิศวกรรมเนื้อเยื่อทางวิทยาศาสตร์ช่องปากประยุกต์ | 2 | ||
ทพชว๕๒๑ : แนวคิดปัจจุบันทางชีววิทยาความเจ็บปวด | 1 | ||
ทพชว๖๑๙ : เนื้อเยื่อยึดต่อและเนื้อเยื่อที่มีแร่สะสม | 3 | ||
ทพชว๖๒๔ : เทคนิคปฏิบัติการงานวิจัยชีววิทยาช่องปาก | 2 | ||
ทพชว๖๒๕ : ชีววิทยาระดับโมเลกุลทางทันตแพทยศาสตร์ | 1 | ||
ทพผส๕๑๔ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย | 2 | ||
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ | 3 | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ทพชว๕๒๐ : ชีววิทยาเซลล์ต้นกำเนิดและวิศวกรรมเนื้อเยื่อทางวิทยาศาสตร์ช่องปากประยุกต์ | 2 | ||
ทพชว๕๒๑ : แนวคิดปัจจุบันทางชีววิทยาความเจ็บปวด | 1 | ||
ทพชว๖๑๙ : เนื้อเยื่อยึดต่อและเนื้อเยื่อที่มีแร่สะสม | 3 | ||
ทพชว๖๒๕ : ชีววิทยาระดับโมเลกุลทางทันตแพทยศาสตร์ | 1 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
ทพชว๖๑๐ : สัมมนาทางพยาธิวิทยาระดับโมเลกุล | 1 | ||
ทพชว๖๑๒ : กายวิภาคศาสตร์ของศีรษะและคอเพื่อการประยุกต์ทางชีวการแพทย์ | 1 | ||
ทพชว๖๑๓ : ระเบียบวิธีคณิตศาสตร์สมัยใหม่เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ | 2 | ||
ทพชว๖๑๖ : จุลชีววิทยาช่องปากระดับโมเลกุล | 2 | ||
ทพชว๖๑๗ : วิทยาภูมิคุ้มกันช่องปากขั้นสูง | 2 | ||
ทพชว๖๒๖ : เภสัชวิทยาระดับโมเลกุลและเภสัชวิทยาคลินิก ทางทันตแพทย์ | 2 | ||
ทพชว๖๒๗ : พิษวิทยายุคใหม่ทางปฏิบัติการทันตกรรม | 2 | ||
ทพชว๖๓๒ : การรักษาทางเภสัชวิทยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มและที่มีสภาวะทางระบบ | 1 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
ทพชว๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 48 | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ทพชว๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 36 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ คงธวัช ชัยรัชวิทย์ (ประธานหลักสูตร)
- อาจารย์ อนัญญา โอภาสวัตชัย
- รองศาสตราจารย์ พรเพ็ญ ตันติวิทยากุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มัตสยาพรรณ พุดลา
- รองศาสตราจารย์ หทัยทิพย์ ศรีธนอุดมชัย
- รองศาสตราจารย์ สิรดา ศรีหิรัญ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุณทริกา ชื่นจิตกุลถาวร
- รองศาสตราจารย์ ศรัญญา ตันเจริญ
- รองศาสตราจารย์ นิศารัตน์ เรืองสวัสดิ์
- ศาสตราจารย์ สร้อยศิริ ทวีบูรณ์
- ศาสตราจารย์ โสภี ภูมิสวัสดิ์
- รองศาสตราจารย์ สุวรรณ ชุณหเรืองเดช
- รองศาสตราจารย์ ศิริมา สงวนสิน
- รองศาสตราจารย์ กนิษฐา กิจสมานมิตร
- รองศาสตราจารย์ จินตนา ลภิรัตนกุล
- รองศาสตราจารย์ นครินทร์ กิตกำธร
- รองศาสตราจารย์ พวงวรรณ ลาภธนทรัพย์กุล
- รองศาสตราจารย์ ดุษมณี เสรีวัฒนาชัย
- รองศาสตราจารย์ ขจรเกียรติ เจนบดินทร์
- รองศาสตราจารย์ สิริบังอร พิบูลนิยม โขวิฑูรกิจ
- รองศาสตราจารย์ อารี วนสุนทรวงศ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรรณี เลิศสุขสวัสดิ์