ผู้สนใจเข้าศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยประชากรและสังคม
ระดับ | ปริญญาเอก |
คณะ/สถาบัน | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม |
เว็บไซต์ |
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/Index.aspx |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิจัยประชากรและสังคม)
จุดเด่นของหลักสูตร
- เน้นกระบวนการการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ
- เน้นให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ประชากรศาสตร์และสังคมศาสตร์เชิงบูรณาการ และมีศักยภาพในการสร้างความรู้ใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงประชากร สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทั้งในบริบทประเทศ ภูมิภาคและระดับโลกได้อย่างลุ่มลึก
- ใช้ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยเฉพาะประเด็นของอาจารย์ผู้สอนมาเป็นฐานสำคัญสำหรับสร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
- เปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้จากการทำวิจัยจริงด้านประชากรและสังคม โดยเข้าร่วมเป็นนักวิจัยในโครงการของอาจารย์
- สนับสนุนให้ผู้เรียนเลือกประเด็นทำวิทยานิพนธ์จากโครงการวิจัยของสถาบันฯที่ดำเนินการอยู่ โดยมีอาจารย์เป็นโค๊ช
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททุกสาขา จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ ๓. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๔. ผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ๕. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ - ๓ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ||
หมวดวิชาบังคับ | 6 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการการวิจัยด้านประชากรและสังคม
- นักวิเคราะห์ข้อมูลด้านปริมาณและคุณภาพ ในสถาบันหรือหน่วยงานของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ
- ที่ปรึกษาองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศ โครงการวิจัย หน่วยงานการวิจัยด้านประชากรและสังคม
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 2
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
วจปส๖๔๐ : สารัตถประชากรศาสตร์และเทคนิคการวิเคราะห์ | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
วจปส๗๐๓ : สัมมนาทางปรัชญาและทฤษฎีสังคม | 3 | ||
วจปส๗๐๔ : สัมมนาทางการพัฒนางานวิจัยทางประชากรและสังคม | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
กลุ่มสถิติประยุกต์และเทคนิคการวิจัยด้านประขากรและสังคม | |||
วจปส๗๑๐ : การวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูงทางประชากรและสังคม | 3 | ||
วจปส๗๑๑ : การวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูงทางประชากรและสังคม | 3 | ||
วจปส๗๑๒ : การจัดการข้อมูลเพื่อการวิจัยทางประชากรและสังคม | 3 | ||
วจปส๗๑๓ : การวิจัยประชากรและสังคมเพื่อธุรกิจ | 3 | ||
วจปส๗๑๔ : การวิจัยรูปแบบผสมทางประชากรและสังคม | 3 | ||
วจปส๗๑๕ : การวิจัยออนไลน์ทางประชากรและสังคม | 3 | ||
วจปส๗๑๖ : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิจัยทางประชากรและสังคม | 3 | ||
วจปส๗๑๗ : การวิเคราะห์หลายตัวแปรทางการวิจัยทางประชากรและสังคม | 3 | ||
วจปส๗๑๘ : เทคนิคการสุ่มตัวอย่างทางการวิจัยทางประชากรและสังคม | 3 | ||
วจปส๗๑๙ : ข้อมูลขนาดใหญ่ และกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับสังคมศาสตร์ | 3 | ||
กลุ่มประชากรศาสตร์ | |||
วจปส๗๒๐ : แนวโน้มร่วมสมัยของการครองคู่และการเจริญพันธุ์ | 3 | ||
วจปส๗๒๑ : การเจ็บป่วย ภาระโรค และการตาย | 3 | ||
วจปส๗๒๒ : การย้ายถิ่นข้ามชาติและชายแดนศึกษา | 3 | ||
วจปส๗๒๔ : ประชากรสูงอายุและสังคมสูงอายุ | 3 | ||
วจปส๗๒๕ : การวิจัยร่วมสมัยทางภูมิศาสตร์ประชากร | 3 | ||
วจปส๗๒๗ : พลวัตประชากรและการคาดประมาณ | 3 | ||
วจปส๗๒๘ : การวิจัยครอบครัวในศตวรรษที่ ๒๑ | 3 | ||
กลุ่มสังคมศาสตร์ | |||
วจปส๗๓๑ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัยทางประชากรและสังคม | 3 | ||
วจปส๗๓๓ : ประชากรและสังคมในอาณาบริเวณศึกษา | 3 | ||
วจปส๗๓๔ : การประเมินผลนโยบายและโครงการประชากรและสังคม | 3 | ||
วจปส๗๓๕ : สุขภาวะและความเหลื่อมล้ำทางสังคม | 3 | ||
วจปส๗๓๗ : สุขภาพและการดูแลสุขภาพในอาเซียน | 3 | ||
วจปส๗๓๘ : เศรษฐศาสตร์ประชากรและกำลังแรงงาน | 3 | ||
วจปส๗๓๙ : ประชากรและสังคมในภูมิทัศน์สื่อหลอมรวม | 3 | ||
วจปส๗๔๐ : การวิเคราะห์นโยบายและการสื่อสาร | 3 | ||
วจปส๗๔๑ : การวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิง เด็ก เยาวชน และการค้ามนุษย์ | 3 | ||
วจปส๗๔๒ : ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพและสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ | 3 | ||
วจปส๗๔๓ : สุขภาพโลก แนวคิดและประเด็นร่วมสมัย | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
วจปส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 36 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ ธีรนงค์ สกุลศรี (ประธานหลักสูตร)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดิยาฮ์ อนันตาเลีย วิดยาสตาริ
- รองศาสตราจารย์ สุชาดา ทวีสิทธิ์
- รองศาสตราจารย์ สุดารัตน์ มุสิกะวงศ์
- รองศาสตราจารย์ จรัมพร โห้ลำยอง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กนกวรรณ ธราวรรณ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มาลี สันภูวรรณ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พจนา หันจางสิทธิ์
- รองศาสตราจารย์ กาญจนา ตั้งชลทิพย์
- ศาสตราจารย์ ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
- รองศาสตราจารย์ สุรีย์พร พันพึ่ง
- รองศาสตราจารย์ อารี จำปากลาย
- รองศาสตราจารย์ มนสิการ กาญจนะจิตรา
- รองศาสตราจารย์ เฉลิมพล แจ่มจันทร์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สักกรินทร์ นิยมศิลป์
- รองศาสตราจารย์ ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดุสิตา พึ่งสำราญ
- รองศาสตราจารย์ สิรินทร์ยา พูลเกิด
- อาจารย์ สรัญญา สุจริตพงศ์
- อาจารย์ นรา ขำคม
- อาจารย์ นงนุช จินดารัตนาภรณ์
- รองศาสตราจารย์ ศุทธิดา ชวนวัน
- รองศาสตราจารย์ ภูเบศร์ สมุทรจักร
- อาจารย์ ตรึก ง็อค ฮวน ดัง
- อาจารย์ นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
- รองศาสตราจารย์ มาร์ก เฟิลเคอร์
- รองศาสตราจารย์ ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
- รองศาสตราจารย์ จงจิตต์ ฤทธิรงค์