ผู้สนใจเข้าศึกษา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ (ภาคพิเศษ)
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะพยาบาลศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/index.html |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การผดุงครรภ์)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก๒ (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่าจาก สถาบันการอุดมการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรองและสภาการพยาบาลรับรอง และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาต่างชาติต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศ กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือ รับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลในประเทศของผู้สมัคร (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ (๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๔) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางการพยาบาล หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า ๑ ปี (นับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา) (๕) ผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (๖) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน ข้อ (๒) ถึงข้อ (๕) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาแกน | 9 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาบังคับ | 12 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญทางการผดุงครรภ์
- นักวิชาการทางการผดุงครรภ์
- นักวิจัยทางการผดุงครรภ์
- ผู้ประกอบการคลินิกการผดุงครรภ์
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาแกน | หน่วยกิต | ||
พยคร๖๑๔ : สถิติประยุกต์และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ | 3 | ||
พยคร๖๒๐ : การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ | 2 | ||
พยคร๖๒๒ : การประยุกต์ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล | 2 | ||
พยคร๖๒๗ : นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ | 2 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
พยสน๖๐๙ : การผดุงครรภ์ขั้นสูง ๑ | 2 | ||
พยสน๖๑๐ : ปฏิบัติการผดุงครรภ์ขั้นสูง ๑ | 3 | ||
พยสน๖๑๑ : ปฏิบัติการผดุงครรภ์ขั้นสูง ๒ | 3 | ||
พยสน๖๑๔ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาทางการผดุงครรภ์ | 2 | ||
พยสน๖๑๕ : นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ทางการผดุงครรภ์ | 1 | ||
พยสน๖๑๖ : สัมมนาประเด็นท้าทายทางการผดุงครรภ์ | 1 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
พยคร๖๐๐ : การให้การปรึกษาด้านสุขภาพ | 2 | ||
พยคร๖๔๓ : เทคโนโลยีดิจิทัลทางการพยาบาล | 1 | ||
พยคร๖๔๔ : การสอนทางคลินิกทางการพยาบาล | 2 | ||
พยสน๖๑๗ : สุขภาพสตรี | 2 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
พยคร๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ ศศิธารา น่วมภา (ประธานหลักสูตร)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรรณา พาหุวัฒนกร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา ทรัพย์สมบูรณ์
- อาจารย์ ทิวาภรณ์ เฉลิมพิชัย
- อาจารย์ มนัสวีร์ ศรีมรกต
- รองศาสตราจารย์ เอมพร รตินธร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฤดี ปุงบางกะดี่
- รองศาสตราจารย์ นันทนา ธนาโนวรรณ
- รองศาสตราจารย์ ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง
- อาจารย์ รุ่งนภา รู้ชอบ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรนภา ตั้งสุขสันต์
- รองศาสตราจารย์ สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง
- รองศาสตราจารย์ สมสิริ รุ่งอมรรัตน์