เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   20   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะพยาบาลศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/index.html

ชื่อปริญญา

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก๑ 
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสภาการพยาบาลรับรอง และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาต่างชาติต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศ กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือ รับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลในประเทศของผู้สมัคร
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย 
(๔) มีประสบการณ์การปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
(๕) ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ใหญ่และ/หรือ	การพยาบาลผู้สูงอายุ (หลักสูตร ๔ เดือนขึ้นไป) โดยเป็นหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางที่สภาการพยาบาลหรือราชวิทยาลัยแพทย์รับรอง
(๖)  ผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๗) มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยโดยได้รับการรับรองจากหัวหน้าโครงการวิจัยหรือมีผลงานวิจัยทางด้านสุขภาพที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างน้อย ๑ เรื่อง
(๘) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน ข้อ (๒) ถึงข้อ (๗) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก๒ 
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือ เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสภาการพยาบาลรับรอง และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาต่างชาติต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศ กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือ รับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลในประเทศของผู้สมัคร
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๔) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางการพยาบาล หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า ๑ ปี  (นับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา)
(๕) ผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๖) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน ข้อ (๒) ถึงข้อ (๕) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๑
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
หมายเหตุ นักศึกษาแผน ก แบบก ๑ ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์การวิจัยไม่ต่ำกว่า ๙๐ ชั่วโมง
แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- พยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- นักวิชาการทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- นักวิจัยทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
พยคร๗๙๘ : วิทยานิพนธ์ 36

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
พยคร๖๑๔ : สถิติประยุกต์และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ 3
พยคร๖๒๐ : การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 2
พยคร๖๒๒ : การประยุกต์ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล 2
พยคร๖๒๗ : นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
พยญส๖๑๐ : ปฏิบัติการประเมินสุขภาพผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 2
พยญส๖๑๒ : การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน 2
พยญส๖๑๓ : ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน 4
พยญส๖๑๔ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2
พยญส๖๑๕ : นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1
พยญส๖๑๖ : สัมมนาการพยาบาลแบบประคับประคองในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
พยคร๖๐๐ : การให้การปรึกษาด้านสุขภาพ 2
พยคร๖๓๗ : สหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้สูงอายุและการดูแลระยะยาว 2
พยคร๖๔๓ : เทคโนโลยีดิจิทัลทางการพยาบาล 1
พยคร๖๔๔ : การสอนทางคลินิกทางการพยาบาล 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
พยคร๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. รองศาสตราจารย์ สุพร ดนัยดุษฎีกุล   (ประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์
  3. รองศาสตราจารย์ ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ
  4. รองศาสตราจารย์ ปรางทิพย์ ฉายพุทธ
  5. รองศาสตราจารย์ วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์
  6. รองศาสตราจารย์ วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช
  7. รองศาสตราจารย์ วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์
  8. รองศาสตราจารย์ อรวมน ศรียุกตศุทธ
  9. รองศาสตราจารย์ อัจฉริยา พ่วงแก้ว
  10. รองศาสตราจารย์ อุษาวดี อัศดรวิเศษ
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นภาพร วาณิชย์กุล
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรัณยา โฆสิตะมงคล
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรินรัตน์ ศรีประสงค์
  14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกศศิริ วงษ์คงคำ
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐิติพงษ์ ตันคำปวน
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตติมา ศิริโหราชัย
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วารุณี พลิกบัว