ผู้สนใจเข้าศึกษา
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยาและวิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุล (หลักสูตรนานาชาติ)
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะเภสัชศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต(เภสัชวิทยาและวิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุล)
วิชาเอก
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตร บัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งการฟัง พูด เขียน สามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือเกณฑ์ข้อ ๒.๒.๒ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาแกน | 7 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาบังคับ | 12 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 37 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการ และนักวิจัยในหน่วยงานของรัฐ และเอกชน
- เภสัชกรในโรงพยาบาล ร้านขายยาและบริษัทยา
- เภสัชกรในโรงงานอุตสาหกรรมยา อาหารสุขภาพ เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาแกน | หน่วยกิต | ||
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ | 3 | ||
ภกคร๖๘๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยในเภสัชศาสตร์ ๑ | 2 | ||
ภกภว๖๘๕ : สัมมนาทางเภสัชวิทยาและวิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุล ๑ | 1 | ||
ภกภว๖๘๖ : สัมมนาเภสัชวิทยาและวิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุล ๒ | 1 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
ภกคร๖๙๖ : เภสัชวิทยาโมเลกุลและวิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุล | 3 | ||
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล | 3 | ||
วิชาเอกวิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุล | |||
ภกชค๖๖๒ : เมแทบอลิซึมของยาและการกำจัดสารพิษในร่างกาย | 3 | ||
ภกชค๖๖๕ : วิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุลทางเภสัชกรรม | 3 | ||
วิชาเอกเภสัชวิทยา | |||
ภกภว๖๖๓ : หลักการรักษาด้วยยา | 3 | ||
ภกภว๖๘๗ : เภสัชวิทยาขั้นสูง | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
ภกคร๗๐๐ : ยาชีววัตถุและยาชีววัตถุคล้ายคลึง | 12 | ||
ภกชค๖๖๗ : หัวข้อปัจจุบันทางชีวเคมี | 2 | ||
ภกชค๖๖๘ : เทคนิคการใช้เครื่องมือสำหรับการวิจัย | 3 | ||
ภกชค๖๖๙ : ชีวเคมีทางชีวเภสัชศาสตร์ | 3 | ||
ภกชค๖๗๐ : เมตาบอลิสมของมนุษย์ | 3 | ||
ภกชค๖๗๑ : เทคนิคทางชีวเคมีเพื่อการวิจัยและพัฒนายา | 4 | ||
ภกชค๖๗๒ : ปฏิบัติการเทคนิคทางชีวเคมี | 2 | ||
ภกชค๖๗๓ : หลักการวิเคราะห์สารชีวโมเลกุล | 3 | ||
ภกภว๖๖๔ : สาระสำคัญทางพิษวิทยา | 3 | ||
ภกภว๖๖๖ : เทคนิคการคัดกรองยา ๑ | 3 | ||
ภกภว๖๗๘ : ฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของยา | 3 | ||
ภกภส๖๗๖ : เภสัชวิทยาของรีเซปเตอร์ | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
ภกคร๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร (ประธานหลักสูตร)
- รองศาสตราจารย์ วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ
- รองศาสตราจารย์ วันวิสาข์ อุดมสินประเสริฐ
- รองศาสตราจารย์ จุฑามณี สุทธิสีสังข์
- รองศาสตราจารย์ จิระพรรณ จิตติคุณ
- รองศาสตราจารย์ วริสรา ปาริชาติกานนท์
- ศาสตราจารย์ ศุภโชค มั่งมูล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษฎา ศักดิ์ชัยศรี
- อาจารย์ อนันต์ชัย อัศวเมฆิน