เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะเภสัชศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.py.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(เภสัชกรรมคลินิก)

จุดเด่นของหลักสูตร


- หลักสูตรฯ เน้นการศึกษาและการวิจัยในลักษณะของ Translational research ที่เชื่อมรอยต่อระหว่าง ภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติทางเภสัชกรรมคลินิก นำปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบยามาศึกษาวิจัยและดำเนินการ เพื่อนำไปใช้จริงต่อไป ซึ่งเปิดโอกาสให้กับทั้งผู้ที่จบเภสัชศาสตร์ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
- หลักสูตรฯ จัดการเรียนการสอนที่คณะเภสัชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำในเวชปฎิบัติตลอดจนระบบยา ทำให้สามารถนำปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบยามาศึกษาวิจัยและดำเนินการเพื่อนำไปใช้จริงต่อไป ทั้งนี้คณาจารย์ของหลักสูตรฯ มีงานวิจัยร่วมกับอาจารย์แพทย์ในโรงพยาบาลทั้งสองอย่างต่อเนื่อง
- มีแหล่งข้อมูลให้สืบค้นที่ทันสมัยและจำนวนมาก ทั้งที่เป็นฐานข้อมูลและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็น ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ในคณะเภสัชศาสตร์ยังมีหน่วยงานที่ให้ข้อมูลที่สำคัญอีก 2 หน่วย คือ คลังข้อมูล ยา และสำนักงานข้อมูลสมุนไพร
- มีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการและมีประสบการณ์ทางเภสัชกรรมคลินิก เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ช่วยก่อตั้งงานเภสัชกรรมคลินิกให้เกิดขึ้นในโรงพยาบาล หลายแห่งตามความประสงค์ชของฝ่ายเภสัชกรรม และมีความร่วมมือในการวิจัยกับแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

1. Degree holding and cumulative GPA
    1.1 Graduated with a Bachelor Degree in Pharmacy or Doctor of Pharmacy (Pharm.D.)  from programs accredited 
          by the Office of Higher Education Commission (OHEC) with GPA of at least 3.50 
    1.2 Graduated with a Master Degree in Clinical Pharmacy or equivalent programs accredited by OHEC with GPA of at least 3.50 
2. Have an English proficiency test score as the requirement of Faculty of Graduate Studies
3. Other exceptions will be considered by the Program Director and the Dean of Faculty of Graduate Studies, 
    Mahidol University.

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 16            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 76            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. Clinical research pharmacists
2. Pharmacists who are specialized in research for clinical pharmacy services
3. Academic researcher

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ภกคร๖๘๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยในเภสัชศาสตร์ ๑ 2
ภกภค๖๔๒ : การคิดค้นและออกแบบงานวิจัยทางเภสัชกรรมคลินิก 2
ภกภค๖๔๓ : การบำบัดเชิงทดลองและระดับโมเลกุล 3
ภกภค๖๔๘ : สัมมนาทางเภสัชกรรมคลินิก ๑ 1
ภกภค๖๔๙ : สัมมนาทางเภสัชกรรมคลินิก ๒ 1
ภกภค๖๕๐ : สัมมนาทางเภสัชกรรมคลินิก ๓ 1
ภกภค๖๖๖ : การบริบาลทางเภสัชกรรม ๑ 3
ภกภค๖๖๘ : งานเภสัชกรรมคลินิกและการฝึกปฏิบัติ ๑ 3
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ภกภค๖๔๒ : การคิดค้นและออกแบบงานวิจัยทางเภสัชกรรมคลินิก 2
ภกภค๖๔๓ : การบำบัดเชิงทดลองและระดับโมเลกุล 3
ภกภค๖๕๐ : สัมมนาทางเภสัชกรรมคลินิก ๓ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
ภกภค๖๒๗ : การตรวจติดตามระดับยาเพื่อการบำบัด 3
ภกภค๖๔๖ : สถิติประยุกต์ทางเภสัชศาสตร์ 2
ภกภค๖๔๗ : โอสถกรรมศาสตร์ขั้นสูง 3
ภกภค๖๕๑ : เภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพันธุศาสตร์ประชากร 2
ภกภค๖๖๗ : การบริบาลทางเภสัชกรรม ๒ 3
ภกภค๖๖๙ : งานเภสัชกรรมคลินิกและการฝึกปฏิบัติ ๒ 3
ภกภค๖๘๙ : โอสถกรรมศาสตร์ทางผู้สูงอายุ 2
ภกภค๗๐๓ : โอสถกรรมานุบาล 3
ภกภค๗๐๔ : การใช้ยาอย่างสมเหตุผล 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ภกภค๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ภกภค๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36