ผู้สนใจเข้าศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชการ (หลักสูตรนานาชาติ)
ระดับ | ปริญญาเอก |
คณะ/สถาบัน | คณะเภสัชศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(เภสัชการ)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท (๑) สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชการ สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม จากสถาบันการศึกษา ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง และมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ อย่างน้อย ๑ เรื่อง ในรอบระยะเวลา ๕ ปี (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท (๑) สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโท เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชการ สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ สาขาวิชาวิทยาการพอลิเมอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี (๑) สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเภสัชการ สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม | |||
หมวดวิชาบังคับ | 6 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ สาขาวิชาวิทยาการพอลิเมอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | |||
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ||
หมวดวิชาบังคับ | 6 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี | |||
หมวดวิชาบังคับ | 23 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 77 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิจัย และนักวิชาการ ด้านเภสัชการ ในสถาบันวิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงบริษัทเอกชนที่รับทำงานวิจัยให้บริษัทยา (CRO: Contact Research Organization) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- อาจารย์ด้านเภสัชการในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ผู้บริหารงานและนักวิจัยด้านการวิจัยและพัฒนา การผลิต และการประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 1
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ภกภส๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 48 |
แบบ 2
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ สาขาวิชาวิทยาการพอลิเมอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | |||
ภกภก๖๐๑ : ชีวเภสัชศาสตร์ขั้นสูง | 3 | ||
ภกภก๖๖๐ : เภสัชการขั้นสูง ๑ | 3 | ||
ภกภส๖๐๑ : สัมมนาทางเภสัชการ ๑ | 1 | ||
ภกภส๖๐๒ : สัมมนาทางเภสัชการ ๒ | 1 | ||
ภกภอ๖๔๑ : เทคนิคเครื่องมือวิจัยทางเภสัชการ | 1 | ||
ภกภอ๖๔๒ : เภสัชอุตสาหกรรมขั้นสูง ๑ | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ | 3 | ||
ภกคร๖๘๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยในเภสัชศาสตร์ ๑ | 2 | ||
ภกภก๖๐๑ : ชีวเภสัชศาสตร์ขั้นสูง | 3 | ||
ภกภก๖๑๖ : ระบบนำส่งยา | 3 | ||
ภกภก๖๖๐ : เภสัชการขั้นสูง ๑ | 3 | ||
ภกภส๖๐๑ : สัมมนาทางเภสัชการ ๑ | 1 | ||
ภกภส๖๐๒ : สัมมนาทางเภสัชการ ๒ | 1 | ||
ภกภอ๖๓๒ : ทฤษฎีของยาในรูปแบบของแข็ง | 3 | ||
ภกภอ๖๔๑ : เทคนิคเครื่องมือวิจัยทางเภสัชการ | 1 | ||
ภกภอ๖๔๒ : เภสัชอุตสาหกรรมขั้นสูง ๑ | 3 | ||
สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเภสัชการ สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม | |||
ภกภก๖๑๖ : ระบบนำส่งยา | 3 | ||
ภกภอ๖๓๒ : ทฤษฎีของยาในรูปแบบของแข็ง | 3 | ||
สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ สาขาวิชาวิทยาการพอลิเมอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | |||
ภกภก๖๑๖ : ระบบนำส่งยา | 3 | ||
ภกภอ๖๓๒ : ทฤษฎีของยาในรูปแบบของแข็ง | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
ภกภก๖๑๗ : ระบบการนำส่งยาทางผิวหนัง | 2 | ||
ภกภก๖๖๔ : เภสัชการระดับโมเลกุล | 3 | ||
ภกภก๖๖๕ : นาโนเทคโนโลยีในการนำส่งยา | 2 | ||
ภกภก๖๖๖ : การบริบาลทางเภสัชกรรม ๑ | 3 | ||
ภกภก๖๘๒ : ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางเภสัชจลนศาสตร์ | 3 | ||
ภกภอ๖๓๔ : การผลิตยาออกฤทธิ์นาน | 3 | ||
ภกภอ๖๓๕ : การบรรจุเภสัชภัณฑ์ | 2 | ||
ภกภอ๖๔๘ : วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ทางเภสัชการ | 3 | ||
ภกภอ๖๔๙ : ระบบนำส่งยาทางจมูกและปอด | 2 | ||
ภกภอ๖๕๐ : ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์รูปแบบของแข็ง | 2 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
ภกภส๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 48 | ||
สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเภสัชการ สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม | |||
ภกภส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 36 | ||
สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ สาขาวิชาวิทยาการพอลิเมอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | |||
ภกภส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 36 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร (ประธานหลักสูตร)
- รองศาสตราจารย์ มนตรี จาตุรันต์ภิญโญ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัญชลี จินตพัฒนากิจ
- ศาสตราจารย์ วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ
- รองศาสตราจารย์ กอบธัม สถิรกุล
- รองศาสตราจารย์ ดวงดาว ฉันทศาสตร์
- ศาสตราจารย์ ณัฐนันท์ สินชัยพานิช
- รองศาสตราจารย์ พจวรรณ ลาวัณย์ประเสริฐ
- รองศาสตราจารย์ จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์
- รองศาสตราจารย์ ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล
- รองศาสตราจารย์ วารี ลิมป์วิกรานต์
- รองศาสตราจารย์ กชพรรณ ชูลักษณ์
- รองศาสตราจารย์ ณัฐวุฒิ เจริญไทย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อมราพร วงศ์รักษ์พานิช
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญธิดา มระกูล
- รองศาสตราจารย์ จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย