เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   20   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินโครงการทางสังคม (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การประเมินโครงการทางสังคม)

จุดเด่นของหลักสูตร

- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินโครงการทางสังคม เป็นหลักสูตรใหม่ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาสังคม และความต้องการนักประเมินอาชีพแบบใหม่ของประเทศ - ศาสตร์ด้านการประเมิน (evaluation science) ได้รับการยอมรับมากขึ้น ในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญและจำเป็นสำหรับการพัฒนาสังคมในปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทย - คณาจารย์ของหลักสูตร มีการพัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านการประเมิน มาอย่างต่อเนื่อง

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก๒
๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่า หรือระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง 
๒) มีประสบการณ์ทำงานซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการทางสังคม ไม่น้อยกว่า ๓ ปี ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
๓) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
๔) มีผลสอบภาษาอังกฤษตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน ข้อ ๒ ถึง ข้อ ๔ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

แผน ข
๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่า หรือระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง 
๒) มีประสบการณ์ทำงานซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการทางสังคม ไม่น้อยกว่า ๓ ปี ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
๓) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
๔) มีผลสอบภาษาอังกฤษตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน ข้อ ๒ ถึง ข้อ ๔ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการประเมินโครงการทางสังคม นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพต่อไปนี้

- นักประเมินอิสระให้กับโครงการทางสังคมขององค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
- นักประเมิน นักวิจัย นักวิชาการ ในหน่วยงานภาครัฐที่ต้องจัดทำโครงการทางสังคม
- นักประเมินในองค์การพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร (NGOs) ทั้งที่เป็นองค์กรในประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
- นักประเมิน ในบริษัทธุรกิจเอกชนที่รับผิดชอบงานด้านการประเมินประสิทธิผลองค์กร และงานวิจัย

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สมปส๕๑๑ : แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา 3
สมปส๕๑๒ : หลักการของโครงการทางสังคม 3
สมปส๕๑๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเพื่อการประเมินโครงการทางสังคม 3
สมปส๕๑๔ : สัมมนาการประเมินโครงการทางสังคม 3
สมปส๕๑๕ : การฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักประเมิน 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมปส๕๓๑ : การประเมินแบบอิงมาตรฐาน 3
สมปส๕๓๒ : การประเมินแบบมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3
สมปส๕๓๓ : การประเมินแบบผสานวิธี 3
สมปส๕๓๔ : การประเมินผลกระทบ 3
สมปส๕๓๕ : การประเมินนโยบายสังคม 3
สมปส๕๓๖ : หัวข้อคัดสรรทางการประเมินโครงการทางสังคม 3
สมปส๕๓๗ : การประเมินเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจและพัฒนาศักยภาพผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการทางสังคม 3
สมปส๕๓๘ : เทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อการวิจัยและประเมินโครงการทางสังคม 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สมปส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สมปส๕๑๑ : แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา 3
สมปส๕๑๒ : หลักการของโครงการทางสังคม 3
สมปส๕๑๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเพื่อการประเมินโครงการทางสังคม 3
สมปส๕๑๔ : สัมมนาการประเมินโครงการทางสังคม 3
สมปส๕๑๕ : การฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักประเมิน 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมปส๕๓๑ : การประเมินแบบอิงมาตรฐาน 3
สมปส๕๓๒ : การประเมินแบบมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3
สมปส๕๓๓ : การประเมินแบบผสานวิธี 3
สมปส๕๓๔ : การประเมินผลกระทบ 3
สมปส๕๓๕ : การประเมินนโยบายสังคม 3
สมปส๕๓๖ : หัวข้อคัดสรรทางการประเมินโครงการทางสังคม 3
สมปส๕๓๗ : การประเมินเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจและพัฒนาศักยภาพผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการทางสังคม 3
สมปส๕๓๘ : เทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อการวิจัยและประเมินโครงการทางสังคม 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
สมปส๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6