ผู้สนใจเข้าศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม (ภาคพิเศษ)
ระดับ | ปริญญาเอก |
คณะ/สถาบัน | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.sh.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(อาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม นิติศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยา รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ ๓. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ๔. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ๕. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนด ในข้อ (๒) - (๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ ๒ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 10 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 4 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 50 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้บริหารและผู้นำในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานราชทัณฑ์ ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา เป็นต้น
- นักวิจัยที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญชำนาญการในการวิจัยด้านอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม
- นักวิชาการ เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เช่น นักวิชาการศึกษาของหน่วยงานราชการด้านกระบวนการยุติธรรม
- พนักงานเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม เช่น ผู้ผลิตระบบป้องกันอาชญากรรมและรักษาความปลอดภัย
- นักวิชาการ / อาจารย์ในมหาวิทยาลัย / นักวิจัย ด้านสังคมศาสตร์ และนิติศาสตร์
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สมสค๕๑๖ : การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ทฤษฎีอาชญาวิทยา | 2 | ||
สมสค๕๔๘ : การสัมมนาเฉพาะเรื่องพิเศษทางอาชญาวิทยา กระบวนการยุติธรรมและสังคม | 2 | ||
สมสค๕๖๒ : การศึกษาเปรียบเทียบด้านอาชญากรรมและระบบบริหารงานยุติธรรมทางอาญา | 2 | ||
สมสค๕๗๗ : ปฏิบัติการวิจัยขั้นสูงทางอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม | 2 | ||
สมสค๕๙๕ : สถิติวิเคราะห์ทางอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคมขั้นสูง | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
สมสค๕๑๕ : กฎหมายและการควบคุมทางสังคมขั้นสูง | 2 | ||
สมสค๕๓๙ : อาชญากรรมข้ามชาติสมัยใหม่ และความร่วมมือระหว่างประเทศ | 2 | ||
สมสค๕๔๙ : เหยื่อวิทยา | 2 | ||
สมสค๕๕๕ : การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน และการแก้ไขบำบัดฟื้นฟู | 2 | ||
สมสค๕๙๑ : การศึกษาดูงานด้านอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม | 2 | ||
สมสค๕๙๗ : นโยบายภาครัฐต่อการลดปัญหาอาชญากรรม | 2 | ||
สมสค๕๙๘ : วิเคราะห์พฤติกรรมอาชญากรขั้นสูง | 2 | ||
สมสค๕๙๙ : การวิเคราะห์อาชญากรรมในสังคมยุคใหม่ | 2 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สมสค๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 36 |