เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.hssip.sh.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(สังคมศาสตร์สุขภาพ)

จุดเด่นของหลักสูตร

๑. เป็น interdisciplinary social science เน้น ๔ ทั้ง ๔ sub-disciplines คือ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์/นโยบายศึกษา ๒. เน้นเนื้อหารเพื่อตอบโจทย์ปัญหาทางด้านสุขภาพ ที่เป็นแนวโน้มในอนาคตที่ภูมิภาคนี้ต้องเผชิญ เช่น ปัญหาโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ การย้ายถิ่นและโลกาวัตน์ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก และปัญหาภัยพิบัติ ๓. เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้เรียน ที่มาจากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอนุภูมิภาคกลุ่มน้ำโขง

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาสังคมศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่
พยาบาลศาสตรบัณฑิต  แพทยศาสตรบัณฑิต  ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต  และสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ หรือ ๗๕%
๓. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔. ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการวิจัย การสอน หรือการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เรื่อง
การพัฒนาทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภูมิภาคอย่างจริงจัง จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
๕. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร
เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ ในสถาบันอุดมศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา
- นักวิจัย นักวิเคราะห์และประเมินนโยบายสุขภาพ
- นักวิชาการ นักวิจัย สถาบันและองค์กร ด้านการพัฒนาสังคมและสุขภาพภาครัฐหรือเอกชน

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สมสภ๕๔๘ : ทฤษฎีสังคมศาสตร์สุขภาพ 3
สมสภ๕๔๙ : การประยุกต์ความรู้สังคมศาสตร์สุขภาพ 3
สมสภ๕๕๓ : การวิจัยทางสังคมศาสตร์สุขภาพ 3
สมสภ๖๙๕ : สัมมนาทางสังคมศาสตร์สุขภาพ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมสภ๕๕๔ : สังคมศาสตร์ว่าด้วยการอนามัยเจริญพันธุ์ และนโยบายประชากร 3
สมสภ๕๕๕ : โลกาภิวัตน์และสุขภาพ 3
สมสภ๕๕๖ : การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ 3
สมสภ๕๕๗ : เพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ 3
สมสภ๕๕๘ : หลักการของตัวกำหนดสุขภาพเชิงสังคม สิทธิและความเป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมสภ๕๕๙ : การเคลื่อนย้ายของประชากรและสุขภาพระหว่างประเทศ 3
สมสภ๕๙๔ : สังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมสภ๕๙๕ : มานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมสภ๕๙๖ : จิตวิทยาสุขภาพ 3
สมสภ๕๙๘ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพ 3
สมสภ๖๐๓ : โลกาภิวัตน์กับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ 3
สมสภ๖๐๔ : การวิจัยประเมินผลทางสุขภาพ 3
สมสภ๖๐๕ : การวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพ 3
สมสภ๖๑๓ : ความไม่เป็นธรรมทางสังคมกับสุขภาพของผู้หญิง 3
สมสภ๖๕๒ : ภัยพิบัติ ความเสี่ยง และการสื่อสารด้านสุขภาพ 3
สมสภ๖๕๓ : การพัฒนาระบบสุขภาพ 3
สมสภ๖๕๔ : วิธีการวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูง 3
สมสภ๖๙๓ : สังคมศาสตร์โรคเขตร้อน 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สมสภ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12