เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   19   กันยายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.hssip.sh.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สังคมศาสตร์สุขภาพ)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรนี้แตกต่างจากหลักสูตรอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดล ตรงที่การใช้เครืองมือทางสังคมศาสตร์ คือ แนวคิดเชิงทฤษฎีและวิธีวิทยา ในการทำความเข้าใจ และเสนอทางออกในการเผชิญกับปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้ หลักสูตรนี้ ยังเป็นการออกแบบ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนสู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพในภูมิภาค ด้วยการทำงานร่วมกับเครือข่ายศิษย์เก่า องค์กรพัฒนาทั้งรัฐและเอกชน และ องค์กรแหล่งทุน ในประเทศ ต่างๆทั้งในและนอกภูมิภาค ในการสร้างพัฒนากำลังคนด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ ด้วยการสร้างโอกาส การเข้าถึงการเรียนระดับบัณฑิตศึกษาของ บุคคลากรที่มีศักยภาพแต่ขาดโอกาส ในภูมิภาค และหลักสูตรนี้มุ่งตอบโจทย์ผลกระทบทางสังคมและสุขภาพ ที่เป็นจากการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาค โดยกรอบการทำเรียนการสอน การวิจัย และที่คาดหวังให้เกิดกับผู้เรียน จะเป็นกรอบความคิดในระดับ ภูมิภาคและนานาชาติ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๑  ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
             แบบ ๑.๑ ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท แล้วเข้าศึกษาต่อปริญญาเอก
             (๑) สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรปริญญาโท
                  สาขาวิชาสังคมศาสตร์ และสาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ
             (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
             (๓) มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า ๓ ปี ในการวิจัยด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ 
                   และมีผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษในวารสารหรือในประมวลเอกสาร
                   การประชุมทางวิชาการที่น่าเชื่อถือได้อย่างน้อย ๒ เรื่อง
             (๔) มีโครงร่างการวิจัยที่ชัดเจนที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นว่าเหมาะสม
                   สำหรับการวิจัยด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ ในระดับปริญญาเอก
             (๕) ผู้มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ
                   คัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
แบบ ๒  ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์
             แบบ ๒.๑  ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท แล้วเข้าศึกษาต่อปริญญาเอก
             (๑)  สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรปริญญาโท
                   สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
             (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
             (๓) ผู้มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ
                   คัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
             แบบ ๒.๒  ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี แล้วเข้าศึกษาต่อปริญญาเอก
             (๑) สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรปริญญาตรี
                   ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
             (๒) มีผลการเรียนดีเด่น (เกียรตินิยมอันดับ ๑)
             (๓) ผู้มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
                   การคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท           
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
แบบ ๒
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 54            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการ ผู้ถ่ายทอดความรู้ ด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ
- นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ
- นักวิเคราะห์นโยบายด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ
- นักพัฒนาองค์กรภาครัฐและเอกชน

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
สภสภ๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
สมสภ๕๔๘ : ทฤษฎีสังคมศาสตร์สุขภาพ 3
สมสภ๕๕๓ : การวิจัยทางสังคมศาสตร์สุขภาพ 3
สมสภ๖๗๕ : หลักปรัชญากับทฤษฎีทางสังคม 3
สมสภ๖๗๖ : ทฤษฎีสังคมศาสตร์สุขภาพขั้นสูง 3
สมสภ๖๗๗ : การวิจัยสังคมศาสตร์สุขภาพขั้นสูง 3
สมสภ๖๗๘ : สัมมนาประเด็นทางสังคมศาสตร์สุขภาพ 3
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
สมสภ๖๗๕ : หลักปรัชญากับทฤษฎีทางสังคม 3
สมสภ๖๗๖ : ทฤษฎีสังคมศาสตร์สุขภาพขั้นสูง 3
สมสภ๖๗๗ : การวิจัยสังคมศาสตร์สุขภาพขั้นสูง 3
สมสภ๖๗๘ : สัมมนาประเด็นทางสังคมศาสตร์สุขภาพ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สภสภ๖๑๘ : ประเด็นสุขภาพทางการค้าข้ามพรมแดนและการค้ามนุษย์ 3
สมสภ๕๕๔ : สังคมศาสตร์ว่าด้วยการอนามัยเจริญพันธุ์ และนโยบายประชากร 3
สมสภ๕๕๕ : โลกาภิวัตน์และสุขภาพ 3
สมสภ๕๕๗ : เพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ 3
สมสภ๕๕๘ : หลักการของตัวกำหนดสุขภาพเชิงสังคม สิทธิและความเป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมสภ๕๕๙ : การเคลื่อนย้ายของประชากรและสุขภาพระหว่างประเทศ 3
สมสภ๖๐๓ : โลกาภิวัตน์กับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ 3
สมสภ๖๐๔ : การวิจัยประเมินผลทางสุขภาพ 3
สมสภ๖๐๖ : จากการวิจัยสู่การปฏิบัติทางการพัฒนาสุขภาพ 3
สมสภ๖๐๘ : การวิจัยนโยบายสุขภาพและการวิจัยระบบสุขภาพ 3
สมสภ๖๐๙ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในด้านสุขภาพ 3
สมสภ๖๑๗ : มหันตภัย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และนัยทางสุขภาพ 3
สมสภ๖๑๙ : ชนกลุ่มน้อย ประชากรชายขอบ ความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพและตัวกำหนดสุขภาพเชิงสังคม 3
สมสภ๖๒๓ : ผู้หญิง สุขภาพและวัฒนธรรม 3
สมสภ๖๒๔ : ทักษะและแนวทางการคิด 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
สมสภ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
สมสภ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร