เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจริยศาสตร์ศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์การ (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(จริยศาสตร์ศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์การ)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 58            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจริยศาสตร์ศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์การ
- ผู้นำองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน
- นักวิชาการ/นักวิจัย ด้านจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาองค์การ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สมมน๖๖๗ : ทฤษฎีจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาองค์การ 3
สมมน๖๖๘ : จริยศาสตร์กับการจัดการองค์การ 3
สมมน๖๖๙ : จริยธรรมและภาวะผู้นำในองค์การสมัยใหม่ 3
สมมน๖๗๐ : สัมมนาปัญหาจริยศาสตร์และการพัฒนาองค์การสมัยใหม่ 3
สมมน๖๗๑ : จริยศาสตร์และเศรษฐกิจการเมือง 3
สมมน๖๗๒ : ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาองค์การ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมมน๖๗๓ : จริยศาสตร์กับการพัฒนาสมรรถนะของมนุษย์ 2
สมมน๖๗๔ : จริยศาสตร์โลกเพื่อการพัฒนาองค์การ 2
สมมน๖๗๕ : สัมมนาจริยศาสตร์กับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 2
สมมน๖๗๖ : จริยธรรมองค์การในสังคมอาเซียน 2
สมมน๖๗๗ : จริยธรรมองค์การเพื่อสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม 2
สมมน๖๗๘ : การวิเคราะห์หลักจริยธรรมในประเทศอาเซียน 2
สมมน๖๗๙ : จริยศาสตร์ชีวภาพ 2
สมมน๖๘๐ : จริยธรรมกับเทคโนโลยี 2
สมมน๖๘๑ : จริยศาสตร์กับวาทศาสตร์ผู้นำในองค์การ 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สมมน๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36